ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร

Information Systems for Management Planning

พื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ รู้ความสัมพันธ์ของการแข่งขันกับเทคโนโลยีสารสนเทศและแนวทางการใช้เทคโนโลยี เพื่อความได้เปรียบทางด้านกลยุทธ์ เข้าใจหลักการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ทางธุรกิจ เข้าใจกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้วิธีการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติ ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร
 
  2.1  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
 2.2  เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.3  เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่ทันสมัย และ สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4  เพื่อปรับปรุงกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และส่วนร่วม และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศประกอบ
2.5  เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
   
   ศึกษาพื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ การแข่งขันกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความได้เปรียบทางด้านกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ทางธุรกิจ กระบวนการพัฒนากลยุทธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติ กรณีศึกษาและการฝึกการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
 
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ติดประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ตรงต่อเวลา มีมโนธรรมสามารถแยกแยะความถูกต้อง ความดี ความชั่ว โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
1.1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.2.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มีความรู้ในความหมายของการเพิ่มผลผลิต ในสาขาต่างๆ องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต วิธีการวัดการเพิ่มผลผลิต เทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เศรษฐกิจพอเพียงในการเพิ่มผลผลิตสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยต้องมีความรู้ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การจัดการ
2.1.2 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพทางด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาเข้ากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือศึกษากรณีศึกษา และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินผล จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินผลจากการสอบย่อย
2.3.3 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย หรือ ศึกษากรณีศึกษา และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หาแนวทางใหม่ๆในการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ให้กับตนเองได้ สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านการจัดการเข้ากับเศรษฐศาสตร์เพื่อวัดหาอัตราการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน โดยมีทักษะทางปัญญาตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.1.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกทักษะการวัดการเพิ่มผลผลิต
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาเทคนิคการวัดการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน
3.3.1 ประเมินจากเอกสารงานที่มอบหมาย
3.3.2 ประเมินจากกรณีศึกษา
ผู้เรียนมีความสามารถทำงานเป็นทีม มีความเป็นผู้นำ สามารถเป็นผู้ประสานงานได้ดี โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
4.1.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวัดและวิเคราะห์หาอัตราการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน โดย สามารถสื่อสารคำตอบที่ได้รับเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา ตลอดถึงสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในทางธุรกิจ
5.1.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
5.1.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2 ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากงานที่มอบหมาย และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 3 4 5 6
1 12011302 ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 2.1.2 2.1.3 3.1.1 3.1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 1.1.1 1.1.2 1.1.3 1.1.4 3.1.2 3.1.3 3.1.4 5.1.1 5.1.2 5.1.3 ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม แบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 4.1.1 4.1.2 4.1.3 สังเกตุการเข้าชั้นเรียน สังเกตุการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน สังเกตุการแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
  โอภาส  เอี่ยมสิริวงศ์.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2560.
          
 
ธนพงศ์พรรณ  ธัญญรัตตกุล.  Digital Transformation in Action เปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step by Step. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิช, 2561.
 
ตัวอย่างระบบสารสนเทศในองค์กร
                 http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128209/9/index9.htm
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลสัมฤทธ์การเรียนรู้ในรายวิชา
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  หรือ
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย  และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง