การโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่

Mobile Devices Programming

เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านรายวิชานี้แล้ว จะมีความสามารถดังต่อไปนี้ 
1.  สามารถอธิบายนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง  
2.  มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์  คุณลักษณะ  และข้อจำกัดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการและสภาพแวดล้อมในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง   
 3.  สามารถใช้เครื่องมือและภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง   
 4.  สามารถเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  การติดต่อกับผู้ใช้  การสื่อสารกับระบบภายนอก  จำลองเพื่อทดสอบและแก้ไขบนระบบคอมพิวเตอร์บนโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง 
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ การบริหารหน่วยความจำและส่วนบันทึกข้อมูล เครื่องมือและการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การสื่อสารกับระบบภายนอก การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการติดประกาศไว้ที่บอร์ดหน้าห้องพักอาจารย์ และสอนเสริม 
3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์อาคาร 3   โทร.  1151 
3.2  e-mail; morakot@rmutl.ac.th เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน 
1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  
2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  
3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  
4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  
7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  
1. บรรยายและมีการสอดแทรกเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และความซื่อสัตย์สุจริตของอาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศ   
2. เน้นให้นักศึกษามีวินัย ตรงต่อเวลา และมึความรับผิิดชอบต่อตนเองและสังคม  
3. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมกันทำงานกลุ่มและนำเสนองานเพื่อฝึกการมีส่วนร่วมและเคารพสิทธิในการทำงานร่วมกัน  
 1.  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา   
2.  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม   
3.  ประเมินผลการนำเสนอโครงงานที่มอบหมาย  
 
1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  
2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา  
3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด  
7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง  
  
  บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนองาน และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  และการศึกษาโดยใช้ปัญหา (Problem Based Learning)  และโครงงาน (Project Based Learning)   โดยเน้นการใช้ความรู้สู่การสร้างปัญญา ฝึกทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต กระบวนการในการสอนกระตุ้นให้ ศึกษาสร้างความคิด ในการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ     
  1. สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้น ความเข้าใจหลักการ การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการแก้ปัญหา    
2. ทดสอบย่อยหลังจากจบเนื้อหาในแต่ละบท   
3. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และบทสรุปประเด็นสำคัญที่เรียนรู้   
4. ร่วมกันทำงานกลุ่มโดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่  
1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ  
2สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  
3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  
4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม  
  
  1. การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม และนำเสนอหน้าชั้นเรียน    
2. แบบฝึกหัด ในแต่ละบทเรียน   
3. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนา     
  1. สอบกลางภาคและปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์ และการประยุกต์เรื่องการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่   
2. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และบทสรุปประเด็นสำคัญที่เรียนรู้   
3. ร่วมกันทำงานกลุ่มโดยเป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมและนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน  
1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  
2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน  
4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม  
6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  
  
  1. มอบหมายงานกลุ่ม โดยเป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยม   
2. มอบหมายงานรายบุคคล เป็นแบบฝึกหัดในแต่ละบทเรียน ส่งผ่าน D4LP+    
3. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนา     
  1. งานกลุ่มที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม   
2. การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนา   
3. วิเคราะห์วิจารย์ผลงานนักศึกษาร่วมชั้นเรียนผ่าน D4LP+ พร้อมประเมินผลงานของนักศึกษาร่วมชั้นเรียน  
1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  
3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม  
4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม  
  
  1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก Web Site  ผ่าน D4LP และฝึกปฏิบัติด้วยการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคล่ื่อนที่บนระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น IOS Android, Android เป็นต้น จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีการตรวจสอบข้อมูล เปรียบเทียบแหล่งที่มาของข้อมูล   
2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม     
  1. การจัดทำ และนำเสนอรายงานด้วยสื่อเทคโนโลยี   
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปรายทั้งในชั้นเรียนและกระดานสนทนาและ D4LP+  
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.4, 5.1, 5.3, 5.4 ทดสอบย่อยทั้งหมด 5 ครั้ง ทดสอบย่อยทั้งหมด 5 ครั้ง 15%
2 1.2-1.4,  2.1-2.3,  3.1-3.4,  5.1,  5.3,  5.4  สอบกลางภาค 8 25%
3 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.4, 5.1, 5.3, 5.4 สอบปลายภาค 17 30%
4 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.4, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3, 5.4 การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ การนำเสนองานกลุ่ม การทำงานโครงงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย 13, 14, 15 15%
5 1.2-1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.4, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3, 5.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
    พร้อมเลิศ   หล่อวิจิตร  คู่มือเขียนแอพ Android  ฉบับรวมโค้ด  2556  บริษัท  โปรวิชั่น  จำกัด 
 พร้อมเลิศ   หล่อวิจิตร  คู่มือเขียนแอพ Android  ฉบับสมบูรณ์  2556  บริษัท  โปรวิชั่น  จำกัด 
Zigurd Mednieks and etc Programming Android: Java Programming for the New Generation of Mobile Devices  2011 Wiley Publishing Inc 
           ไพบูลย์   สวัสดิ์ปัญญาโชติ  รู้ลึกเรียนลัด Action Script  3.0 for ADOBE FLASH CS 4  PROFESSIONAL CLASSROOM IN A BOOK  2552  บริษัท  ฟิวเจอร์  เกมเมอร์  จำกัด 
 จักรชัย   โสอินทร์,   พงษ์ศธร   จันทร์ยอย  และ  ณัฐณิชา  วีระมงคลเลิศ Android App Development  ฉบับสมบูรณ์  2555  บริษัท  ไอดีซี  พรีเมียร์  จำกัด 
Juhani Lehtimaki Smashing Android UI  2012 Wiley Publishing Inc 
 ไพบูลย์   สวัสดิ์ปัญญาโชติ  รวมโค้ด Android App : The Android Developers Cookbook .   2554  บริษัท  ทรูดิจิตอล  คอนเท้นท์ฯ 
-  ณัฏฐ์นรี   โสภากันต์.  เอกสารประกอบการสอนวิชา  การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่.  อุบลราชธานี :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,  2557. 
-  ณัฏฐ์นรี   โสภากันต์.  เอกสารประกอบการสอนวิชา  การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่.  อุบลราชธานี :  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,  2557. 
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
1  การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
2. การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน 
3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาแบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน 


ผลการสอบ 

การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทีมผู้สอน 

การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา 

ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 


เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ