อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ

Tourism and Hospitality Industry

๑. เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในประโยชน์และความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม แรงจูงใจในการท่องเที่ยวตลอดจนองค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการวางแผนในการพัฒนาการท่องเที่ยว 
 ๒. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวและการโรงแรมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต กระแสการท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยม
๑. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
2. เพื่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวตลอดจนองค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการวางแผนในการพัฒนาการท่องเที่ยว 
 ๒. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยวและการโรงแรมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต กระแสการท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยม
ความหมาย ความสำคัญ วิวัฒนาการ ประโยชน์ และองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ทรัพยากรการท่องเที่ยว และมรดกโลกในประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย และแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว ผลกระทบของการท่องเที่ยว หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและบทบาทของภาครัฐและเอกชน แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในอนาคต
1. อาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษา ผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ และผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
๒. อาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
- บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล/โครงงาน/รายงาน)
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- การเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง
๑) มีความรู้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก  
๒) มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ตอบคำถาม/แบบทดสอบ
- มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล/โครงงาน/รายงาน)
- การสาธิต/ดูงาน
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- ผลงานรายบุคคล (เอกสาร/รายงาน/แฟ้มสะสมงาน)
- การสอบข้อเขียน
มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
บรรยาย
- มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ค้นคว้าข้อมูล/วิเคราะห์/สังเคราะห์/อภิปราย/รายงาน)
- นำเสนอข้อมูล
- ฝึกปฏิบัติ
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
- การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และแก้ไขปัญหา
กลุ่ม
- บรรยาย
- มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ค้นคว้าข้อมูล/วิเคราะห์/สังเคราะห์/อภิปราย/รายงาน)
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
- การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย
- มอบหมายงานบุคคล (ตอบคำถาม/แบบทดสอบ)
- นำเสนอข้อมูล
- ฝึกปฏิบัติ
- ฝึกการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
- การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
- ผลงานกลุ่ม (เอกสาร/รายงาน/กิจกรรม)
- การนำเสนอ (วาจาและสื่อ/โปสเตอร์)
- การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง (โดยผู้สอน/กลุ่ม)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะด้าน การปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BOATH103 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.2.1, 2.3.2.2, 2.5.1.1 สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8,17 60 %
2 2.4.1.1, 2.6.1.1, 2.3.2.2, 2.2.2.1 - การให้ความร่วมมือในการทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้อื่น - ความพยายามในการพัฒนาความรู้และทักษะ - การนำเสนองานที่ได้รบมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 2.4.1.1, 2.1.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยในการทำงาน การตรงต่อเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10%
กุลวรา  สุวรรณพิมล. 2556. หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.
จิตตินันท์  นันทไพบูลย์.  2555.  การโรงแรม.  สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิศา  ชัชกุล.  2550.  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ  โปรยรุ่งโรจน์. 2550. มัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564).   กรมการท่องเที่ยว, (online). http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8370. ( 19 เม.ย. 2560 )
http://thai.tourismthailand.org
http://www.tourism.go.th
http://www.mots.go.th
http://www.tatreviewmagazine.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน (ทำวาระประชุมแบบไม่เป็นทางการ ทั้งก่อนเรียน /หลังสอบมิดเทอมและไฟนอล)
1.2แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา (ใช้แบบฟอร์มของมหาวิทยาลัย)
1.3ข้อเสนอแนะผ่านแบบสอบถาม ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา (แบบสอบถามหลังเรียนทุกชั่วโมง)
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (เชิญอาจารย์ในสาขาวิชาประเมินการสอน ถ้าไม่สะดวกอัดวีดีโอ แล้วส่งให้หัวหน้าหลักสูตรและอาจารย์สายวิชาชีพประเมิน)
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
4.2 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามกรอบเวลาที่ทางหลักสูตรกำหนด
4.3 คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยการสุ่มสัมภาษณ์นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย
4.4 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินตนเองของนักศึกษาต่อระดับผลการเรียนรู้
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3   ลงพื้นที่ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวของกับรายวิชาเพื่อบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัย
5.4   ปรับปรุงเนื้อหารายวิชที่ได้จากการวิจัย