โครงงานทางวิศวกรรมกระบวนการอาหาร

Food Process Engineering Project

(1) เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการกําหนดปัญหาและสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อนำเสนอ โครงร่างสําหรับทําโครงงานด้านวิศวกรรมกระบวนการอาหารได้ 
(2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวางแผนการทํางานให้สอดคล้องกับระยะเวลาและงบประมาณได้ 
(3) เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้จากโครงงาน เพื่อนําเสนอในรูปแบบ ของรายงาน และการประชุมทางวิชาการ
ปรับให้มีการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงงานฯ เป็นรายเดือน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาวางแผนในการทำงานให้กระชับ และถูกต้องตามแผนงานมากยิ่งขึ้น
การศึกษาค้นคว้าหรือทํางานวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมกระบวนการอาหารที่เป็นที่สนใจใน ปัจจุบันภายใต้การแนะนําของอาจารย์ที่ปรึกษา การออกแบบโครงงาน การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม  ขั้นตอนการดําเนินงาน  วิธีการเขียนโครงงาน  ตลอดจนการนําเสนอโครงงานเพื่อชี้แจงรายละเอียด  การเน้น ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการวางแผนออกแบบโครงงาน โดยมีเงื่อนไขคือผู้เรียนจะต้องมีสภาพเทียบเท่า นักศึกษาปีที่ 4
-   อาจารย์ประจํารายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางสื่อโซเชียล
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
(1)         มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2)         มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3)         มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4)         เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1      บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทํางานวิจัย การสืบค้นข้อมูล ตลอดจนการอ้างอิงข้อมูล
1.2.2      เน้นให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานตามกรอบที่ได้มีการกำหนดไว้ และเน้นการจัดส่งงานตามเวลา 
1.3.1      ประเมินจากความรับผิดชอบในการส่งงานตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลาตามระยะเวลาที่มอบหมาย และพฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.2      ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน และโอกาสต่างๆนอกห้องเรียน
1.3.3      ประเมินผลจากการนำเสนองานทั้งรายงานความก้าวหน้า และการสอบป้องกันปริญญานิพนธ์
1.3.4      ประเมินจากการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
นักศึกษาต้องมีทักษะในการกําหนดปัญหาและสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อนําเสนอโครงร่าง สําหรับทําโครงงานด้านวิศวกรรมอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์และวางแผนการทํางานให้ สอดคล้องกับระยะเวลาและงบประมาณ และสามารถสรุปและวิเคราะห์ผลที่ได้จากโครงงานเพื่อนําเสนอในรูปแบบของรายงาน และการประชุมทางวิชาการ

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย  ฝึกการนําเสนอผลงานและการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานทางด้านวิศวกรรมกระบวนการอาหารสำหรับการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
ประเมินจากการนําเสนอโครงร่างงานวิจัย รายงานความก้าวหน้า การสอบปริญญานิพนธ์ รวมถึง ประเมินจากการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
นักศึกษาสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นําความรู้ที่ ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในโครงงาน 
(1)    มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2)    มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1   จัดให้มีการรายงานความก้าวหน้าในการทําโครงงานฯ เดือนละครั้ง เพื่อให้นักศึกษา ได้มีการวางแผนการทํางาน และได้คิดอย่างเป็นระบบ
3.2.2   อภิปรายการนําเสนอรายงานความก้าวหน้าของนักศึกษา
3.3.1   ประเมินผลจากการนําเสนอ และความก้าวหน้าของโครงงานฯ ในแต่ละครั้ง
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1        ฝึกให้นักศึกษาทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มจากการทําโครงงาน การนําเสนอรายงาน ความก้าวหน้ารวมทั้งการจัดทํารูปเล่มปริญญานิพนธ์
4.3.1      ประเมินจากการนําเสนอและรายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม 
4.3.2      การตอบข้อซักถามร่วมกัน
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา และพัฒนาทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ และทํารายงานฯ รวมทั้ง รูปเล่มปริญญานิพนธ์โดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   การนําเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่หมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการตอบข้อซักถาม
นักศึกษามีการพัฒนาทักษะปฏิบัติในการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารได้ โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากทักษะการปฏิบัติ ดังนี้
              (1)  มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
              (2)  มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
              (3)  มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ 
6.2.1   นักศึกษาได้ลงมือฝึกทักษะปฏิบัติที่สอดคล้องกับเนื้อหาทฤษฎีในโครงงานของตนเอง
6.2.2   การฝึกปฏิบัติการทำงานระดับห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย      ให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
6.3.1   ประเมินประสิทธิภาพในทักษะปฏิบัติ ความถูกต้องและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
6.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการลงมือปฏิบัติในโครงงานวิจัย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 52019403 โครงงานทางวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ รูปเล่มปริญญานิพนธ์ เอกสารการนำเสนอ ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 27.5%
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงาน/การเข้าพบที่ปรึกษา ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 15%
3 ด้านทักษะทางปัญญา รูปเล่มปริญญานิพนธ์ การตอบคำถาม ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 12.5%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รูปเล่มปริญญานิพนธ์ /การทำงานกลุ่ม ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 17.5%
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อการนำเสนอ/รูปเล่มปริญญานิพนธ์ ก่อนกลางภาค หลังกลางภาค ปลายภาค 17.5%
6 ด้านทักษะพิสัย การปฏิบัติในระหว่างโครงงาน/การเข้าพบที่ปรึกษา ก่อนกลางภาค ปลายภาค 10%
1.1 คู่มือการจัดทําปริญญานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา           
1.2 The graduate school Chiang Mai university. (2009). Thesis writing manual. เข้าถึงได้จาก http://grad.cmu.ac.th/web2008/Thesis/Text.pdf (22 October 2012).
ไม่มี
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้จากเพจ FE Rmutl 59  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทําโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการทํางานของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้       
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน        
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก   การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก ผลการรายงานความก้าวหน้าโครงงานวิจัย มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดย ตรวจสอบแบบฟอร์มการให้คะแนนการนําเสนอและการให้คะแนนรายงาน การให้คะแนนพฤติกรรม ฯลฯ
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องหัวข้อปริญญานิพนธ์ รวมถึง กระบวนการสอนของรายวิชาดังกล่าว