ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร

Information Systems for Management Planning

1. รู้พื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ 2. รู้ความสัมพันธ์ของการแข่งขันกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความได้เปรียบทางด้านกลยุทธ์ 3. เข้าใจหลักการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ทางธุรกิจ 4. เข้าใจกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. รู้วิธีการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติ 6. ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านในการนาความรู้ ความเข้าใจ ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปวางแผนการบริหาร ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาพื้นฐานของระบบสารสนเทศในธุรกิจ การแข่งขันกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความได้เปรียบทางด้านกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ทางธุรกิจ กระบวนการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติ กรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.1.2 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดีและความชั่ว
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัย
1.2.2 กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม
1.2.4 ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.5 กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
1.2.6 มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
1.3.1 ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3 จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ
1.3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
2.1
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
 
2.2.1 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
2.2.3 จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและสอบปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
 
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ 
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางแก้ไข
 
3.3.1 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาก 
4.1.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทังให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
 
4.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
4.2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
4.2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
 
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.3.3 มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
5.1.2 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.3 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้องทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.4 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพทีน่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5.1.5 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.2.1 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5.2.2 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
5.3.1 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2 ประเมินจากการทดสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 12011302 ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 5.1, 5.2, 5.4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 1.3, 1.4, 1.5, 1.6, 1.7, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 4.5, 4.6 , 5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้าและนำเสนอ ตลอดภาค การศึกษา 30%
3 1.1, 1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารณ๊ พิมพ์ช่างทอง. ระบบสารสนเทศภายในองค์กร. บริษัททริปเพิ้ล
เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 2552
นคเรศ ณ พัทลุง. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนักงสือมหา
วิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
รุจินันท์ พิริยะสงวนพงศ์. (2549). สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฏาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี
การจัดการความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
http://info.arit.dusit.ac.th/newiknowledge/
-แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
-การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
-การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
-ข้อเสนอแนะผ่านทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่นที่อาจารย์ผู้สอนจัดไว้
-ผลการสอบของนักศึกษา
-การทดสอบเก็บคะแนนเพื่อประเมินการเรียนรู้
-การสังเกตจากการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนใน 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
-สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
-การวิจัยในชั้นเรียน
ได้จากการสอบถามนักศึกษา และสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมทั้งการทดสอบย่อยและหลัง
การรายงานผลการศึกษาในรายวิชา การทวนสอบและการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมินและทวนสอบผลการเรียนรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
-สลับปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่น