การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล

Design of Machine Elements

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
    รายวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิตมีจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ดังนี้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ขั้นตอนและปรัชญาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์แรงและความเค้นในชิ้นส่วน ร่องลิ่มและคลัปปิ้ง เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบเพลา สกรูส่งกำลัง สายพาน โซ่ ล้อช่วยแรง สปริง แบริ่ง และเฟือง เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต
เพื่อให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรการผลิต โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านกลวิธีการสอน มีการวางระบบการประเมินผลการเรียนรู้ และการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ครบทั้ง 6 ด้านตามกรอบของ TQF คือด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะพิสัย จึงได้พัฒนากลวิธีการสอนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning) ตลอดจนการเพิ่มเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย ในหัวข้อการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล งานวิจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบเครื่องจักรกลทางด้านการเกษตร เช่น เครื่องกะเทาะเปลือกข้าว เครื่องย่อยกิ่งไม้  เป็นต้น เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการพิจารณาการจัดเตรียมการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต  ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อทำการศึกษาครบตามเนื้อหาสาระที่ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุง
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนและปรัชญาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล กาววิเคราะห์แรงและความเค้นในชิ้นส่วน ร่องลิ่มและแคล้มปิ้ง การออกแบบเพลา สกรูส่งกำลัง สายพาน โซ่ ล้อช่วยแรง สปริง แบริ่ง และเฟือง
 - อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยการติดป้ายประกาศ
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยการสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน
          
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมตลอดระเวลาที่ดำเนินการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา เช่น การทำรายงาน การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ลอกงานเพื่อน
4. ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน    และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ  การมีสัมมนาคารวะต่อผู้ใหญ่  การทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากการรับฟังคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
6. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ที่นักศึกษาต้องได้รับในรายวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต ครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายรายวิชา ประกอบไปด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิตวิเคราะห์ความเค้น การส่งถ่ายกำลัง การคำนวณออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล แสดงแบบรายละเอียด เลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต ตามมาตรฐานสากลด้วยการวิเคราะห์กลไกการเคลื่อนไหว ความเร็ว ความเร่ง สภาวะสมดุล เน้นการออกแบบกลไกของเครื่องจักรการผลิต อีกทั้งยังปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตนคติที่ดีแก่วิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต ตลอดจนนักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้วิชานี้กับวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น วิชาเขียนแบบวิศวกรรม การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต โลหะวิทยาในงานวิศวกรรม งานอบชุบโลหะ การออกแบบการผลิต เป็นต้น
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย  การอภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด
3. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ประเมินความรู้จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
5. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้เมื่อจบการศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบด้วยการทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) ในหัวข้อ "การออกแบบการทดลองและการสร้างและพัฒนาการออกแบบเครื่องจักรกลการผลิต"
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
4. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักศึกษา ได้รับการฝึกประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม สภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประกอบด้วยการมอบหมายงานในการทำงานเป็นทีม  การนำเสนอรายงาน การทีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning)
1. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การส่งงานตามเวลา
การช่วยเหลือในการทำงาน
5. ประเมินตนเอง และเพื่อน
6. ประเมินจากผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -
Based Learning)
7. ประเมินจากการจัดสัมมนา 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 16 ตามหัวข้องานวิจัยจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดยให้นักศึกษาร่วมกันดำเนินการจัดสัมมนาด้วยตนเอง
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยการกำหนดกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคเฉพาะทางช่างอุตสาหกรรม และการจัดสัมมนา
1. ประเมินจากแบบฝึกหัด
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินทักษะการใช้ภาษาจากเอกสาร การรายงานและงาน
มอบหมาย
4. ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการแสดงความ
คิดเห็น
5. ประเมินจากคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ประกอบในรายงาน
6. ประเมินจากงานวิจัยภาษาอังกฤษที่มอบหมายให้สืบค้น โดย
การอ่าน (Reading) แล้วให้เขียน (Writing) สรุปกลุ่มคำสำคัญทำเป็น Mind Map (เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง สามารถจัดกลุ่มความเชื่อมโยงของศัพท์เฉพาะทางได้)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการดูและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยในรายวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต กำหนดให้นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดทั้งหมด 15 ใบงาน ซึ่งครอบคลุมตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยเน้น Hands-On เป็นสำคัญ นอกเหนือจากผลการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ตามข้อที่ 1 - 5
-ประเมินจากการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
- ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 34013302 การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3(หลัก), 1.2 (รอง) 1.2 มีจรรยาบรรณทางวาการและวิชาชีพ (รอง) 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม(หลัก) ประเมินจาก - การตรงต่อเวลา - ความรับผิดชอบ - การมีวินัย - การเข้าร่วมกิจกรรม - พฤติกรรมที่แสดงออก ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1(หลัก), 2.2(รอง) 5.1(หลัก), 5.2(รอง) 2. ด้านความรู้ 2.1มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (หลัก) 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (รอง) 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือ สื่อสารที่เหมาะสม (หลัก) 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม (รอง) 1. ประเมินจาก - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการทดสอบหลังเรียน 3. ประเมินจากการสอบกลางภาค 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค 5. ประเมินจากการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 1. ทุกสัปดาห์ 2. ทุกสัปดาห์ 3. สัปดาห์ที่ 9 4. สัปดาห์ที่ 17 5. ทุกสัปดาห์ 1. 5% 2. 5% 3. 10% 4. 20% 5. 5%
3 4.1(รอง), 4.3(รอง) 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (รอง) 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 1. ประเมินจาก - การทำงานเป็นทีม - ตนเองและเพื่อน - ความรับผิดชอบงานกลุ่ม - การจัดสัมมนา 2. ประเมินจากผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 1. ทุกสัปดาห์ 2. สัปดาห์ที่ 6-7 และ สัปดาห์ที่ 12-13 1. 5% 2. 10%
4 6.2(หลัก) 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี (หลัก) ประเมินจากการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนด สัปดาห์ที 1-8 และ สัปดาห์ที 10-16 30%
สุรพงศ์ บางพาน การออกแบบการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล, เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัย   เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่, 2555.
กรรมมันต์   ชูประเสริฐ, อนันต์ อกนิษฐาชาติ และทวี   งามวิไล ทฤษฎีและโจทย์ การอออกแบบ                               
          เครื่องจักรกล   , แมคกรอ- ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ อิงค์ , 2539
กิตติ นิงสานนท์ และ บรรเลง ศรนิ. การคำนวณและการอออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล.
          กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , ม.ป.พ.
จำรูญ   ตันติพิศาลกุล. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1. พิมพ์ที่งานเอกสารและการพิมพ์
          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , 2540
บรรเลง  ศรนิล รศ. และประเสริฐ   ก๊วยสมบูรณ์ ผศ. ตารางงานโลหะ. กรุงเทพมหานคร
          : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , 2527
มานพ   ตันตระบัณฑิตย์ , สำลี   แสงห้าว และ สุทิน   จิตร์เจริญ. ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1.
          กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ( ไทย-ญี่ปุ่น ) , 2540
วริทธิ์   อึ๊งภากรณ์ และ ชาญ   ถนัดงาน. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เล่ม 1.
          กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น , 2528
วริทธิ์   อึ๊งภากรณ์ และ ชาญ   ถนัดงาน. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เล่ม 1 และ เล่ม 2.
          กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น , 2536
ศุภชัย   ตระกูลทรัพย์ทวี. การออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 1.
          กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น , 2547
อนันต์   วงศ์กระจ่าง. การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล. กรุงเทพมหานคร : โอเอสปริ้นติ้ง เฮ้าส์
          , 2543
เอกสารการสอนวิชา การออกแบบสิ้นส่วนเครื่องจักรกลการผลิต ( Design of Production
          Machine Element ) เรียบเรียงโดย อาจารย์สุวิช   มาเทศน์
Karl – Heinz Decker. Maschinelemente Gestalung and Berechnung. Munchen : Carl Hansa
          Verlag , 1984
Shigley , Joseph Edward. Machanical Engineering Design. Singapore Nationl Printers Ltd ,1988
 
https://books.google.co.th/books?isbn=8120319559
https://books.google.co.th/books?isbn=0470413034
www.scconsultants.com/.../PEPTFlowMachineDesignHandb.
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมเพื่อดำเนินการดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสะท้อนความคิดของนักศึกษา
                1.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามผลคะแนนในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดจะสามารถนำไปปรับปรุงตนเองและเตรียมพร้อมในการสอบต่อไป
                1.4 ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
                1.5 ให้นักศึกษาประเมินวิธีการสอน การจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบกับการเรียนรู้ของนักศึกษา
 
 ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
                 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
                 2.4 สาขาวิชาตั้งคณะกรรมการประเมินการสอนจากการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 การประชุมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดรายวิชา
                 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
                 3.4 ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมของวิชาดังนี้
            4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
                 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบวิธีสอน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
         5.1  ปรับปรุงประมวลรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
              5.2 ผู้สอนมีการทบทวนการเรียนการสอนทุกครั้งที่ทำการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งถัดไป และมีการประเมินผลการสอนโดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินทุกภาคการศึกษา       และนำผลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาในปีการศึกษาถัดไป
              5.3 ขั้นตอนการทบทวนและวางแผนปรับปรุงรายวิชา
                   1) พิจารณาผลประเมินการสอนโดยนักศึกษา
                   2) การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                   3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตร
                   4) เสนอหัวหน้าสาขาและกรรมการคณะเพื่อวางแผนในการปรับปรุงปีการศึกษาต่อไป