เทคโนโลยีเครื่องดื่ม

Beverage Technology

เข้าใจความสำคัญของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เข้าใจองค์ประกอบในการทำเครื่องดื่ม นำเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ไปใช้ได้ มีทักษะในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เห็นความสำคัญในการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
1. เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2. เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับชนิดและองค์ประกอบของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ประเภทและวิธีการผลิตเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น  เครื่องดื่มอัดแก๊สและไม่อัดแก๊ส  น้ำผลไม้  เครื่องดื่มเข้มข้น  เครื่องดื่มผง  สุรา  ไวน์ เบียร์  มีการศึกษานอกสถานที่
2  ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและ - เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและสังคม
- มีข้อตกลงกับนักศึกษาเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเข้าชั้นเรียน  โดยนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเงื่อนไข  ผู้สอนบันทึกการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาทุกสัปดาห์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน เช่น ต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น และให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายและสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นต้น
- สอดแทรกปัญหาผลที่เกิดจากการขาดจิตสำนึกของผู้ผลิตอาหาร เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานและการบ้าน
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- ไม่มีการทุจริตในการทดสอบ
- มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตเครื่องดื่มในทางอุตสาหกรรม สามารถเชื่อมโยงความรู้กับองค์ความรู้ในรายวิชาอื่นๆ เช่น แปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร เคมีอาหาร และรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
- บรรยาย อภิปราย และยกตัวอย่างให้เห็นถึงความเชื่อมโยงหรือความเกี่ยวข้องกัน
- การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การสอยย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากรายงานภาคปฏิบัติที่นักศึกษาจัดทำ
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ความสามารถในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ เรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่สงสัยอันจะนำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหารได้ด้วยตนเอง
- สามารถศึกษาค้นคว้า เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ประมวลและทบทวนเอกสารทางวิชาการการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ
- สามารถใช้ทักษะและความรู้ในรายวิชาเทคโนโลยีเครื่องดื่ม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และควบคุมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มได้อย่างมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นหรือโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเป็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคล และกลุ่ม
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- การทดสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
- ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม
- การเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาคนอื่นและบุคคลภายนอก
- มอบหมายงานกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในขณะทำการการทดลองในห้องปฏิบัติการ
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   
- ทักษะการวางแผนการผลิตอาหารอย่างเป็นกระบวนการ เลือกใช้เทคนิคการถนอมอาหาร และแนวทางการแก้ปัญหาในกระบวนการแปรรูปได้ถูกต้อง
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
- มีการสอนและอธิบายเชิงทฤษฎีแล้วแสดงขั้นตอนการผลิตและการวิธีการคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎีเหล่านั้น
- มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นกรณีศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมอาหาร
- แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ
- สอนโดยใช้สื่อภาษาอังกฤษร่วมด้วย เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคยต่อการศึกษาด้วยตนเอง
- ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
˜6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
˜6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
˜6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
การสอนแบบปฏิบัติการในห้องทดลอง ปฏิบัติภาคสนาม/สถานประกอบการ/ศูนย์เรียนรู้
รายงานผลการปฏิบัติการ

2. ข้อสอบอัตนัย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ 6.ด้านทักษะ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าว หน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง 6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
1 24127305 เทคโนโลยีเครื่องดื่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3,2.1, 2.3, 3.1, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 20% 30%
2 1.1 - 1.4 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1-4.3, 5.1-5.3 ปฏิบัติการทดลอง, รายงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1-4.3, 5.1- 5.3 งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.1, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 3.1, การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ธีรวัลย์  ชาญฤทธิเสน.  2542.  เรียนรู้การทำไวน์ผลไม้ด้วยตนเอง.  ศิลปการพิมพ์  ลำปาง ไพบูลย์  ธรรมรัตน์วาสิก. 2539.  กรรมวิธีแปรรูปอาหาร.  ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร 
             มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สงขลา. ไพโรจน์ วิริยจารี.   เอกสารประกอบการสอนวิชาเครื่องดื่ม. คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่งนภา  พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535.  วิศวกรรมแปรรูปอาหาร : การถนอมอาหาร. ภาควิชา       อุตสาหกรรมเกษตร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ ฯ. วราวุฒิ  ครูส่ง.  2538.  จุลชีววิทยาในขบวนการแปรรูปอาหาร  โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ กรุงเทพฯ วิไล   รังสาดทอง. 2545.  เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาเทคโนโลยี    อุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. กรุงเทพฯ. 506 หน้า. ศิริลักษณ์  สินธวาลัย.  2522.  ทฤษฎีอาหาร เล่ม 2 : หลักการถนอมอาหารและการควบคุมคุณภาพอาหาร.  โรงพิมพ์ บำรุงนุกูลกิจ. กรุงเทพฯ. สามารถ พรหมศิริ.  ความรู้เกี่ยวกับการทำไวน์.  โครงการหนังสือเกษตรชุมชนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อรพิน  ภูมิสมร.  2526.  จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง.  ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.  อรพิน ภูมิภมร. 2526.  ระบบชีวภาพที่สำคัญต่อเทคโนโลยีชีวภาพ  เล่มที่ 2: จุลินทรีย์ในเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และอาหารหมักพื้นเมือง ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Gavin, A. and L.M. Wedding, 1995. Canned Foods: Principles of Thermal Process control, Acidification and container Closure Evaluation, 6th Ed. The Food Processor. Pederson, C.S. 1979. Microbiology of food fermentation, 2nd Ed. AVI Publishing Co., Westport, Connecticut.  Persson, P.O. and G. Londahl. 1993. Freezing Technology: In Frozen Food Technology. Mallet, C.P. (Editor) Blackie Academic & Professional, London. Petter, N.N. and J.H. Hotchkiss. 1995. Food Science,  5th Ed. Chapman & Hall., New York.
เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีเครื่องดื่ม
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ