การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง

Advance Computer Programming

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
เพื่อให้นักศึกษารู้จักการเขียนโปรแกรมในเชิงวัตถุด้วย หลักการของคลาส ออปเจ็ค
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หลักการของลำดับขั้นของคลาส การถ่ายทอดคุณสมบัติ และการมีหลายรูปของโปรแกรม
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมขั้นสูง เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนที่มีทักษะในการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการเขียนโปรแกรมแบบต่างๆ เพื่อทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการทดสอบตรวจสอบ แก้ไขโปรแกรม การเขียนโปรแกรมเรียกตัวเอง การค้นหาข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 กล่าวถึงมารยาท การมีวินัย และความตรงต่อเวลาในกาเรียนรู้ร่วมกัน
1.2.2 บอกถึงผลดีของการมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
1.3.1 ความประพฤติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.3.2 การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด การมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและอาจารย์
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.3 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.2.3 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
 
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.2.1 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3.2.2 การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
 
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
4.1.1 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบัต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2.1 อธิบายการจัดทำงานนำเสนอและรายงานการนำเสนอ
5.2.2 นำเสนอซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่ในการออกแบบงานนำเสนอ
5.2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 การนำเสนองานที่ออกแบบและการทำรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 BBAIS203 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.5, 3.1, 3.3, 3.4, 5.1 สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 3, 6, 8 9 12, 14, 17 5% 30% 5% 30%
2 1.2, 1.5, 3.1 การเข้าชั้นเรียน คุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-16 10%
3 2.1, 2.2, 2.5, 3.1, 3.3, 3.4, 5.1 สอบเก็บคะแนนภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ การพัฒนางานโดยกลุ่ม และแบบฝึกหัด 1-8, 10-16 20%
1. เอกสารสรุปส่วนสำคัญของโปรแกรมภาษาซี
2. เอกสารของภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. วิชา Computer and Programming
3. เอกสารรวบรวมทุกหน่วยเรียน โดยนำไว้ในระบบ E-Learning
-
3. หนังสือ เอกสาร และข้อมูลอ้างอิง ที่แนะนำ
1. ไกรศร ตั้งโอภากุล และคณะ. คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา C. บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด. กรุงเทพฯ. 2554.
2. ธีรวัฒน์ ประกอบผล. การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
3. ธีรวัฒน์ ประกอบผล. หลักการเขียนโปรแกรม. บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
4. วิทยา สุคตบวร. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย C. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
5. วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเทคนิคการเขียนโปรแกรมยุคใหม่. หจก.ไทยเจริญ
การพิมพ์. กรุงเทพฯ. 2546.
6. ชัยวุฒิ จันมา. การเขียนโปรแกรมภาษา C++. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
7. ผศ.สานนท์ เจริญฉาย. การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึม. บริษัทเคล็ดไทย จำกัด. กรุงเทพฯ. 2542.
8. ศิริภัทรา เหมือนมาลัย. โปรแกรมภาษาซี. บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
9. เวชยันต์ สังข์จุ้ย. คู่มือเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 2554.
10. http://www.thai-programmer.com
11. http://www.nectec.or.th
12. http://www.thaiall.com
13. http://www.members.tripod.com
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ