หลักการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

Principles of Vocational and Technical Education

 รู้ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของอาชีวะและเทคนิคศึกษารู้แนวคิดของนักปรัชญากลุ่มต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเข้าใจวิวัฒนาการและแนวโน้มของการอาชีวะและเทคนิคศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ เข้าใจนโยบายการจัดการศึกษา การอาชีวะและเทคนิคศึกษา เข้าใจการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษาเข้าใจหลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
เข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและอาชีพ  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาหลักการอาชีวะและเทคนิคศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจปรัชญาและหลักการอาชีวศึกษา มาใช้ในการเรียนการสอนและการฝึกอบรม เป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายขอบข่ายและความสำคัญของอาชีวะและเทคนิคศึกษา ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม  ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาวิวัฒนาการและแนวโน้มของการอาชีวะและเทคนิคศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศนโยบายการจัดการศึกษา แนวคิด และกลวิธีการจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติและของอาชีวะและเทคนิคศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดเพื่อพัฒนาสถานศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการเรียนการสอนในอาชีวศึกษา
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
          1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
          1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
          1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
          1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
            1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
          1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
          1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
          1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจหลักปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา การประยุกต์ในการพัฒนาระบบการศึกษา
              2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและแนวทางการประยุกต์ปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา การประยุกต์ในการพัฒนาระบบการศึกษา
              2.1.3 สามารถ บูรณาการความรู้ด้านปรัชญาและทฤษฎีทางด้านการศึกษา กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาในการพัฒนาระบบการศึกษา
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงานการนำเสนอรายงาน ฝึกปฏิบัติและมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจและทักษะปฏิบัติ
2.3.2   ประเมินจากการรายงาน การนำเสนอรายงาน และงานที่มอบหมาย
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
             3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1  การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
        3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาปรัชญาและหลักการอาชีวศึกษา
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน และงานที่รับมอบหมาย
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์กระบวนการสอน แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ รวมทั้งการอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
             5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในดาน เวลา เครื่องมือ อุปกรณและวิธีการไดอยางมี ประสิทธิภาพ
 (หลัก)
      6.2 สามารถถายทอดองคความรู ปฏิบัติ ตามรูปแบบการสอน ประยุกตวิธีการสอน ไดอยางเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของ กลุมผูเรียนไดอยางเหมาะสม
      6.3  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติการใช้ทักษะในการวางแผน  และการปรับปรุงแก้ไข
      6.4 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้ อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
6.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
6.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
6.3.1   ประเมินพฤติกรรมการสอนชั่วโมงปฏิบัติการโดยนักศึกษา
          6.3.2   สร้างแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
          6.3.3   พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 9 18 20% 20% 20%
2 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.1,5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.3, 4.1,4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ประสิทธิ์  ตงยิ่งศรี. (ม.ป.ป.)  การจัดทำแผนและโครงการ.  ม.ป.ท.
เยาวดี  รางชัยกุล  วิบูลย์ศรี. (2542).  การประเมินผลโครงการ  แนวคิดและแนวปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ  :  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนา  วงศ์เกียรติรัตน์  และสุริยา  วีรวงศ์. (2543).  คู่มือการประเมินผลโครงการ.  กรุงเทพฯ 
:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษดา เพ็งอุบล. (2542). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.
กัญจนพร บุญมั่น. (2548). ความต้องการใช้ e-Learning ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กนก รัตนสมบัติ และคณะ. (2541). บทเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตวิชาไมโคร- กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดวงมาลย์ สัมมาวิภาวีกุล. (2541). CAI ความสำเร็จของการเรียนรู้ด้วยตนเอง. เพื่อนสุขภาพ, 10, 43-47. ทักษิณา สวนานนท์. (2530). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าคุรุสภา.
ชนะ กสิภาร์. “หลักสูตรกับครูอาชีวะและเทคนิคศึกษาในอนาคต.” ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตร สาขาวิชาช่างกลเกษตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและ
อาชีวศึกษา, 2530. (เอกสารอัดสำเนา)
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ. การบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2536.
บรรเลง ศรนิล และคณะ. รายงานการวิจัยเส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ, 2548.
จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. จริยศาสตร์ : ทฤษฎีจริยธรรมสำหรับนักบริหารการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นตัง เฮ้าส์, 2548.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมกับพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการไทย. มมป :
เอกสารอัดสำเนา, 2538.
ประภาศรี สีหอำไพ. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
พระเทวินทร์ เทวินโท. พุทธจริยศาสตร์. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, 2544.
วริยา ชินวรรโณ. บทนำ : จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2546.
วิชา มหาคุณ. บทนำ : จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2546.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : หอรัตนชัยการพิมพ์, 2527.
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา http://www.Supatta.haysamy.com/learn 2_1.html
http://www.oae.go.th/zone/zone5/Kunnatham.doc
http://winterwaltz.exteen.com/20070601/entry
http://www.psdb.ku.ac.th/government/essay/standard.pdf
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4