จิตวิทยาการศึกษา

Educational Psychology

     1.1. เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษา
     1.2. เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษาและทฤษฏีการเรียนรู้
     1.3. เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการนำทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
     1.4.เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงธรรมชาติและพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ และการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน
     1.5. เพื่อให้รู้ เข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เชาว์ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์
     1.6. เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการปรับตัว
     1.7. เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับแรงจูงใจและการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
     1.8.เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโยงความรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมี
           เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในรายวิชามีความเหมาะสมและทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
   ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย  ความสำคัญของพัฒนาการของจิตวิทยาการศึกษา  แนวทัศนะและผลการทดลองของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ  จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์ความแตกต่างระหว่างบุคคล  การถ่ายโยงความรู้  เชาว์ปัญญา  การจำ  การลืม  ความพร้อมและการจูงใจ  อารมณ์  บุคลิกภาพ  สุขภาพจิตและการปรับตัว  ความฉลาดทางอารมณ์(E.Q.)  การประยุกต์หลักการทางจิตวิทยาเพื่อการแนะแนวและให้คำปรึกษา  ผลวิจัยทาพฤติกรรมมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
               ให้นักศึกษาติดต่อโดยตรงและให้ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทาง วิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียนและสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1    คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา พัฒนาผู้เรียน โดยเข้าใจถึง  มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1.1.1    ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 1.1.2    มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 1.1.3    เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4    เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.5    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2    วิธีการสอน   1.2.1    ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน          1.2.2    ศึกษาเอกสารจิตวิทยาการศึกษา 1.2.3    ฟังบรรยายจากผู้สอน 1.2.4    ซักถามแนวคิดและถามข้อสงสัย 1.2.5    การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย      1.2.6    ทำแบบทดสอบหลังเรียน
1.3 วิธีการประเมินผล 1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ           มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา  เข้าใจหลักพื้นฐานการเรียนการสอนตามทฤษฎีต่างๆของนักจิตวิทยา  ตลอดจนการนำผลวิจัยทางพฤติกรรมมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน  และการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
2.2 วิธีการสอน บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล 2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning3. ทักษะทางปัญญา      
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา                3.1.1  มีทักษะการคิดที่เกิดจากการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ                  3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ           การสอนจิตวิทยาการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของผู้เรียน  เข้าใจความเป็นมา ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษา  แนวคิด ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษาและทฤษฏีการเรียนรู้  แนวทางการนำทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน  เข้าใจถึงธรรมชาติและพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ และการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน  เข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เชาว์ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์  เข้าใจเกี่ยวกับแรงจูงใจและการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน เข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโยงความรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 วิธีการสอน           3.2.1   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point 3.2.2   นำเสนอผลผลงาน   3.2.3   อภิปรายกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา  3.2.4   ให้นักศึกษาดูคลิป  วีดีทัศน์   โฆษณา  นิทาน  กรณีศึกษา  แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.3 วิธีการประเมินผล 3.3.1   การทำงานเป็นทีม  และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา 3.3.2   รูปเล่มรายงาน  ถูกต้องตามระเบียบการเขียนรายงาน  เนื้อหาครบถ้วน 3.3.3   สอบกลางภาคและปลายภาค
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา               4.1.1   พัฒนาทักษะในการทำงานเป็นทีม 4.1.2   พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเอง 4.1.3   พัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 
4.2 วิธีการสอน 4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม              4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ  4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุปการนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมินผล 4.3.1   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
 
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 5.1.1   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม   
5.2 วิธีการสอน 5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning หรือทางอินเตอร์เน็ต  และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ                5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดิทัศน์,เทปเสียง  
5.3 วิธีการประเมินผล 5.3.1   ประเมินจากการนำเสนอรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม หรือในห้องเรียนในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3,2.1,2.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 10%
2 1.1- 2.3 สอบกลางภาค 8 25%
3 3.1,3.3,4.1,4.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 12 10%
4 3.1-5.3 สอบปลายภาค 16 25%
5 2.3,3.3,4.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
   สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:
          สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.    
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา
               คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2528.
กฤษณา ศักดิ์ศรี. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูพระนคร คณะศึกษาศาสตร์, 2530.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. รวมบทความการวิจัยการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศึกษาและมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.
ประดินันท์ อุปนัย. จิตวิทยา. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2518.
ประสาท อิศรปรีดา. จิตวิทยาการเรียนรู้กับการสอน. กรุงเทพฯ : กราฟิคอาร์ต, 2523
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ ศูนย์สื่อเสริม, 2534.
ไพศาล หวังพานิช. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2526.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเพทฯ : อักษรบัณฑิต, 2530.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2537.
อารี ศรีธัญพงศ์. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ตระกูลไทย, 2522
   
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ หรือ
จิตวิทยาการศึกษา.  แหล่งที่มา http://nfeprasat.tripod.com/about/psy.html
ทฤษฎีของนักจิตวิทยาการศึกษา.  แหล่งที่มา http://kitsak.exteen.com/20080910/entry
จิตวิทยาการเรียนรู้.  แหล่งที่มา http://maxx-good.blogspot.com/
จิตวิทยาการศึกษา.  แหล่งที่มา http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.  แหล่งที่มา http://www.kruchiangrai.net/2012/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
         


 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
       


 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน  คือ
3.1   ปรับเปลี่ยนเนื้อหาของบทเรียนให้มีความทันสมัย  ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3   การมอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.4  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
     


 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
  5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัย  ทันเหตุการณ์
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องที่เรียนที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
5.3  เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.4  จัดทัศนะศึกษาดูงานนอกสถานที่  เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากประสบการณ์จริง
5.5  ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย  พัฒนาชุมชนและสังคม