ออกแบบสถาปัตยกรรมภายในล้านนา

Lanna Interior Design

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานงานศิลปะและงานผีมือพื้นบ้าน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า
2. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝีกหัดค้นคว้า เรียนรู้ และวิเคราะห์งานศิลปะและงานผีมือพื้นบ้านที่เกิดขึ้นจากค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบแผนประเพณี คติความเชื่อ วัสดุในท้องถิ่น  ที่สอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
3. เพื่อให้นักศึกษาเกิดความซาบซึ้ง  และสำนึกในคุณค่างานศิลปะและงานผีมือพื้นบ้าน  ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า
4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการบูรณาการณ์งานศิลปะและงานผีมือพื้นบ้าน เพื่อนำไปสู่การออกแบบของตกแต่งสำหรับ บ้าน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า โดยคำนึงถึงการออกแบบ  เทคนิคการผลิต  การใช้วัสดุพื้นถิ่น แนวโน้มตลาด และบริบทที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อการออกแบบ
5. เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติออกแบบของตกแต่งสำหรับ บ้าน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า โดยคำนึงถึงการออกแบบ  เทคนิคการผลิต  การใช้วัสดุพื้นถิ่น แนวโน้มตลาด และบริบทที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อการออกแบบ
- เพื่อพัฒนาให้เนื้อหาให้ตรงกับผลการเรียนรู้และตรงตามความต้องการของมาตรฐานผลการเรียนรู้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ งานศิลปะและงานผีมือพื้นบ้าน เพื่อนำไปสู่การออกแบบของตกแต่งสำหรับ บ้าน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า ด้วยวัสดุในท้องถิ่น  โดยคำนึงถึงการออกแบบ เทคนิคการผลิต  การใช้วัสดุพื้นถิ่น แนวโน้มตลาด และบริบทที่เกี่ยวข้อง
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะและช่องทางส่วนตัว
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

นักศึกษาจะต้องมีความสำนึกต่อองค์ความรู้และระลึกถึงคุณค่าของงานฝีมือท้องถิ่นและมีจิตสำนึกสาธารณะในการรักษางานต้นแบบในท้องถิ่นที่ทำการศึกษา

มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร และสังคมไม่ขาดเรียน เช่นหากมีการเรียนนอกสถานที่จะต้องเข้าเรียนอย่างตรงเวลา
วิธีการสอน 


บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีขององค์กรในรูปแบบต่างๆ  ลักษณะงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในและงานฝีมือท้องถิ่น กำหนดให้นักศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และปฏิบัติ ปรับใช้ให้เหมาะสมอย่างถูกต้องและถูกขนบธรรมเนียมการใช้

1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง และกำหนดบทบาทสมมุติ
วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาเสนอผลงาน  อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์โครงการที่มอบหมาย
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในที่มา รูปแบบและประโยชน์ใช้สอย งานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่น คติความเชื่อ และประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสมโดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เรียนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ
วิธีการสอน
2.2.1    การบรรยายประกอบสื่อผสมพร้อมทั้งการบรรยายนอกสถานที่
2.2.2    วิเคราะห์ ศึกษาการเลือกใช้ข้อมูลงานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่นที่เหมาะสม
2.2.3    การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
วิธีการประเมินผล
2.3.1   ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.2   ประเมินจากรายงานบุคคลและรายงานกลุ่ม
2.3.3   การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถด้านการค้นคว้า เรียนรู้และวิเคราะห์งานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบแผนประเพณี คติความเชื่อ วัสดุก่อสร้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงการออกแบบ เทคนิคการผลิต  การใช้วัสดุพื้นถิ่น แนวโน้มตลาด และบริบทที่เกี่ยวข้อง
3.1.1มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่ได้รับการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์วิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
3.1.2มีทักษะในการนำความรู้ที่ได้รับจากการสอนมาใช้อย่างเป็นระบบแบบแผนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
วิธีการสอน
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อผสมจากวัสดุฝีมือท้องถิ่น
3.2.2   วิเคราะห์ ศึกษาการเลือกใช้ข้อมูลงานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่นที่เหมาะสม
3.2.3   การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน
วิธีการประเมินผล
3.3.1   ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2  วัดผลจากการประเมินผลงานรายสัปดาห์ และโครงการออกแบบปลายภาคเรียน
3.3.3  การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 3 3 1 2
1 42024506 ออกแบบสถาปัตยกรรมภายในล้านนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1 นักศึกษาจะต้องมีความสำนึกต่อองค์ความรู้และระลึกถึงคุณค่าของงานฝีมือท้องถิ่นและมีจิตสำนึกสาธารณะในการรักษางานต้นแบบในท้องถิ่นที่ทำการศึกษา 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร และสังคมไม่ขาดเรียน เช่นหากมีการเรียนนอกสถานที่จะต้องเข้าเรียนอย่างตรงเวลา 1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาเสนอผลงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์โครงการที่มอบหมาย 8 16 20
2 เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในที่มา รูปแบบและประโยชน์ใช้สอย งานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่น คติความเชื่อ และประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างเหมาะสมโดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เรียนให้เหมาะสมกับวิชาชีพ 2.3.1 ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค 2.3.2 ประเมินจากรายงานบุคคลและรายงานกลุ่ม 2.3.3 การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา 70
3 พัฒนาความสามารถด้านการค้นคว้า เรียนรู้และวิเคราะห์งานออกแบบศิลปะและงานผีมือท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบแผนประเพณี คติความเชื่อ วัสดุก่อสร้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงการออกแบบ เทคนิคการผลิต การใช้วัสดุพื้นถิ่น แนวโน้มตลาด และบริบทที่เกี่ยวข้อง 3.1.1มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่ได้รับการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์วิชาชีพได้อย่างเหมาะสม 3.1.2มีทักษะในการนำความรู้ที่ได้รับจากการสอนมาใช้อย่างเป็นระบบแบบแผนอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.3.1 ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค 3.3.2 วัดผลจากการประเมินผลงานรายสัปดาห์ และโครงการออกแบบปลายภาคเรียน 3.3.3 การแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายในห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
-   INTERIOR DESIGN  ILLUSTRATED
    Francis D.K. Ching , Van nostrand reinhold : New york.

วิลักษณ์  ศรีป่าซาง. 2545. ขันดอกล้านนา. เชียงใหม่ : มิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด เบอร์นด์ ชมิตต์ และ อเล็กซ์ ไซมอนสัน. 2546. การตลาดสุนทรียศิลป์. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์ บิซิเนส เพรศ จำกัด. บุญถิ่น อินดาฤทธิ์. 2551. ผ้าซิ้นไทลื้อ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ. 2537. เครื่องเขิน. เชียงใหม่ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน สมปอง  เพ็งจันทร์. 2545. เครื่องจักสานภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : Silkworm Books.  วิบูลย์  ลี้สุวรรณ. 2546. พจนานุกรม หัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ วิบูลย์  ลี้สุวรรณ. 2550. สารานุกรม ผ้า เครื่องถักทอ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ
-
แบบเครื่องเรือนจากสำนักงานออกแบบ
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ