องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น

Introduction to Composition Art

             1.  เข้าใจความหมาย  ขอบข่ายของศิลปะ
             2.  เข้าใจทัศนะธาตุทางศิลปะ   และ หลักการจัดองค์ประกอบ
             3.  เข้าใจเทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะ
              4.  มีทักษะในการออกแบบผลงานจากทัศนะธาตุทางศิลปะและการใช้หลักการจัดองค์ประกอบ 
              5.  ตระหนักและเห็นคุณค่าในสุนทรียศาสตร์ของการสร้างสรรค์ผลงาน
         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในองค์ประกอบ  หลักการจัดองค์ประกอบ และวิธีการจัดองค์ประกอบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปเป็นพื้นฐานของรายวิชาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และรายวิชา ที่เกี่ยวข้อง ตลอดหลักสูตร
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะและนำมาปฏิบัติในการจัดองค์ประกอบศิลปะตามหัวข้อที่กำหนดด้วยวัสดุและวิธีการที่หลากหลายประเภทต่างๆ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและการแสดงออกอย่างเหมาะสม
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้คำปรึกษาทาง msn และ ทาง email address หรือทาง Blog ของอาจารย์ผู้สอน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม กล้าแสดงความคิดเห็น สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยาย พร้อมยกตัวอย่าง / ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติมจากสื่อ Digital learning objects ที่ออนไลน์ใน e-learning บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และแสดงความซื่อสัตย์ต่อการเรียนและการส่งผลงาน ผู้เรียนนำเสนอแนวความคิดในการออกแบบผลงานหน้าชั้นเรียน

1.2.3 ฝึกปฏิบัติการออกแบบผลงานตามใบงานในแต่ละบทเรียน
การประเมินผลและจัดทำ e-portfolio
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงานที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   การเข้าเรียนในสื่อออนไลน์ ซึ่งผู้สอนตรวจสอบได้จากระบบ
1.3.3   ประเมินผลการนำเสนอความคิดและแรงบันดาลใจในการทำงาน
1.3.4   ผู้เรียนประเมินผลตนเองและเพื่อนในชั้นเรียน   ประเมินผลจาก e-portfolio
มีความรู้ในขอบข่ายของงานศิลปะ  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ องค์ประกอบ หลักการจัดองค์ประกอบ และวิธีการจัดองค์ประกอบ
บรรยาย  และจัดทำสื่อ Digital learning objects  14 บทเรียน ออนไลน์ใน e-learning บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตของมหาวิทยาลัย เป็นสื่อเสริม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน
ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้รูปแบบวิธีการสอน คือการสอนตามทฤษฎี Constructivist  ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันและนำมาสร้างสรรค์ผลงาน  ใช้การสอน แบบการเรียนรู้ร่วมกัน ( Collaborative )  ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
2.3.1   ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละบทเรียน มีการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ในส่วนของงานปฏิบัติ ประเมินจากผลงานโดยใช้เกณฑ์ให้คะแนนแบบ  Rubric Score ซึ่งผู้สอนได้จัดทำแผนการเรียนรู้ และประเมินจากการนำเสนอ Concept ในการออกแบบผลงานหน้าชั้นเรียน
2.3.3  ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานของเพื่อน   
            พัฒนาความสามารถในการคิดออกแบบผลงานตามคำสั่งในใบงาน  ความสามารถในการสั่งสมประสบการณ์จากการศึกษาผลงานของผู้ที่มีประสบการณ์  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในการเรียน จากสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนจัดทำ และการส่งงาน
3.2.1   บรรยาย และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีเรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง
3.2.2   การมอบหมายให้นำเสนอแนวคิด แรงบันดาลใจ ในการสร้างผลงาน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและทวนสอบความซื่อสัตย์ของการปฏิบัติงาน
3.2.3   มอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละคนจัดทำ e- portfolio รวบรวมและนำเสนอผลงานที่เรียนมาทั้งหมด  
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ และผู้สอนให้โอกาสผู้เรียนสามารถขอแก้ไขงานเพื่อให้ได้รับคะแนนที่ดีที่สุด แสดงถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงาน
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค 
3.3.2   วัดผลจากการคะแนนงานปฏิบัติและ การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการเรียนทั้งเรียนในชั้นเรียนและเรียนด้วยสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนสามารถตรวจสอบได้จากระบบการบริหารจัดการ
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้พูดและผู้ฟัง
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา  
4.1.4   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียน  การส่งงาน มีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน  การทำ e-portfolio
4.2.1   ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามใบงาน
4.2.2   มอบหมายงานรายบุคคล เช่น หาภาพงานศิลปะประเภทต่าง ๆ จากเว็บไซค์  และดาวน์โหลดมาจัดทำ เป็นไฟล์และส่งให้ผู้สอนทาง e-learning  
4.2.3   การนำเสนอ Concept และแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน
4.3.2  ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
4.3.3   ประเมินจากนำเสนอหน้าชั้นเรียน     
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง 
5.1.3   พัฒนาทักษะในการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตของมหาวิทยาลัย
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การ Scan และ Upload ส่งงานทาง                   อินเทอร์เนต  การสนทนาใน Msn  การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ  ใน  Blog
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอผลงานที่ปฏิบัติ
5.2.1   บรรยาย
5.2.2  มอบหมายงานให้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง  จากสื่อ digital learning objects ซึ่งมีครบทุกบทเรียน แต่ละบทเรียนจะประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้  เอกสารอ่านประกอบ  วิดิโอคลิปสามมิติ  คำอภิธานศัพท์  คำถามสรุป  ใบงาน  และ  เว็บลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนแบบฝึกหัดก่อนสอบด้วยแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะประเมินผลคะแนนให้ทราบทันที    
5.2.3   นำเสนอผลงานที่ปฏิบัติ
5.2.3   มอบหมายให้จัดทำ e-portfolio  สรุปผลงานที่ได้เรียนมาตลอดภาคการศึกษา
5.3.1   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอ
5.3.3   ประเมินจากการมีส่วนร่วม การเป็นผู้ฟังที่ดี
    6.1.1.  สามารถออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
    6.1.2.  สารารถสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
    6.1.3.  สามารถออกแบบโดยใช้ทักษะด้านแนวคิดทางการ                    ออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
 มอบงานทุกสัปดาห์ให้นักศึกษาฝึกทักษะด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์
6.3.1   ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์
6.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค 
6.3.3   วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความ ถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ
6.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2 6.3
1 40000005 องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 1-7 1-7 8-14 8-14 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 1-7 สอบกลางภาค ทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 8-14 สอบปลายภาค 1 1-7 8 9-15 16 10% 10% 10% 10%
2 1-14 การปฏิบัติงานออกแบบและ การนำเสนอแรงบันดาลและแนวคิด ในการออกแบบผลงานหน้าชั้นเรียน การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ scan และ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1-14 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
    ฉัตรชัย  อรรถปักษ์.  2548. องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ :  วิทยพัฒน์.
    ชลูด  นิ่มเสมอ. 2539.  องค์ประกอบศิลปะ.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
    นพวรรณ  หมั้นทรัพย์.  2539.  การออกแบบเบื้องต้น.  เชียงใหม่ :  โครงการตำรา สถาบันเทคโนโลยี
              ราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ.
     สมชาย  พรหมสุวรรณ. 2548. หลักการทัศนศิลป์.  กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
     อัครเดช  อยู่ผาสุข.  วิชาศิลปศึกษา  หลักสูตรการศึกษาทางไกล.
     Lazzari,M.R. and Clayton,L.1990.  Art and Design Fundamentals.  New York : Van Nostrand
            Reinhold.
              แผนการจัดการเรียนรู้
              เอกสารอ่านประกอบ
              คำอภิธานศัพท์
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น  
e-learning  มทร.ล้านนา  วิชา Art Composition   เข้าถึงได้จาก http://elearning.rmutl.ac.th/main/course/
                 ความรู้ทั่วไปและนิยามของศิลปะ.  เข้าถึงได้จาก  http://krumek.igetweb.com.
                 สี  เข้าถึงได้จาก  http://gotoknow.org/blog/pavanadesign/102313
                 สี  เข้าถึงได้จาก  http://www.prc.ac.th/newart/webart/composition.html
                การออกแบบสามมิติ  เข้าถึงได้จาก 
                  http://gotoknow.org/file/pavana/14Three%20%20Dimention%20Design.pdf
                 John  Lovett.  Element and Principle of design. เข้าถึงได้จาก            
                          http://www.johnlovett.com/test.htm
                Joshua David McClurg-Genevese. .  Principle and Element of Design.  เข้าถึงได้จาก 
                          http://www.digital-web.com/articles/principles_and_elements_of_design/
                Marvin Bartel. Some ideas about composition and design :  Elements, Principles and visual
                         effect.  เข้าถึงได้จาก   http://www.goshen.edu/art/ed/Compose.htm
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ