ปฏิบัติการทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ 2

Electronics Engineering and Automation Control Systems Laboratory 2

1.   เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการทำงาน ทักษะ และความสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานทางกลเบื้องต้น
2.   เพื่อให้มีความเข้าใจในการจำแนกประเภทของชิ้นส่วนทางกลที่กำหนดตามมาตรฐานการผลิต
3.   เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการใช้เครื่องมือตัด ขึ้นรูปชิ้นส่วนทางกล การยึดประกอบ และการเชื่อมชิ้นส่วนทางกล
4.  เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการทดสอบการทำงานของชิ้นส่วนทางกลของเครื่องจักร การบำรุงรักษาชิ้นส่วนทางกลเชิงป้องกัน
5.   มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน ประณีต รอบคอบ ตรงต่อเวลา สะอาด ขนาดเที่ยงตรงปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการเรียนการสอน กับนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างเหมาะสม
ปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานทางกลเบื้องต้น การอ่าน ตรวจสอบ ระบุจำแนกประเภทของชิ้นส่วนทางกลที่กำหนดตามมาตรฐานการผลิต วางแผนและควบคุมขั้นตอนการทำงานทางกล การใช้เครื่องมือตัด ขึ้นรูปชิ้นส่วนทางกล การยึดประกอบ และการเชื่อมชิ้นส่วนทางกล เช่น การประกอบกระบอกสูบ การประกอบชุดตลับลูกปืนทางกล ทดสอบการทำงานของชิ้นส่วนทางกลของเครื่องจักร การบำรุงรักษาชิ้นส่วนทางกลเชิงป้องกัน
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการเรียนอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2.มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม
1.1.4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1.ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2.สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
1.2.3.ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2   พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.3   การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
มีความรู้ในเรื่องหลักการทำงานและทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานทางกลเบื้องต้น การอ่าน ตรวจสอบ ระบุจำแนกประเภทของชิ้นส่วนทางกลที่กำหนดตามมาตรฐานการผลิต วางแผนและควบคุมขั้นตอนการทำงานทางกล การใช้เครื่องมือตัด การขึ้นรูปชิ้นส่วน การยึดประกอบ และการเชื่อมชิ้นส่วนทางกล ทดสอบการทำงานของชิ้นส่วนทางกลของเครื่องจักร การบำรุงรักษาชิ้นส่วนทางกลเชิงป้องกัน
 
2.2.1 การบรรยาย ถาม- ตอบ เกี่ยวกับหัวข้อการเรียนรู้   
2.2.2 มอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3 การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ประเมินจากแบบใบปฏิบัติงาน
2.3.2 พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานตามที่กำหนดให้ในใบปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานในโรงงานฝึกปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ และปลอดภัย
3.3.1   ประเมินจากผลงานของชิ้นงานที่มอบหมายในแต่ละใบปฏิบัติงาน
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามใบงานที่กำหนดให้
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.2 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.6  สามารถใช้ภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
 
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในด้านการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สาธิตการปฏิบัติงาน ตามใบงาน
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึกคะแนน
6.3.2 พิจารณาผลงานการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคปฏิบัติ ตรวจสอบขนาดของชิ้นงานตามใบงานที่กำหนด การส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน และใบงาน การเชื่อมโลหะและโลหะแผ่นเบื้องต้น
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น งานเชื่อม ฯลฯ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน


 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้


 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4


5.2   เปลี่ยนหรืออาจารย์ผู้สอน หรือบุคลากรภายนอก เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ