การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ

Basic Industrial Engineering Training

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงาน หลักการทำงานของเครื่องมือวัด หลักการทำงานของเครื่องมือกลพื้นฐาน หลักการเชื่อมประสาน มีทักษะในการปฏิบัติงานพื้นฐานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน งานเชื่อมประสาน ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐาน ด้านวิศวกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาวิศวกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐาน การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐาน ทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2  ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2  มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีสมาธิในการเรียน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อ บังคับ  ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์สังคม  และสิ่งแวดล้อม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน                          
ภาคปฏิบัติ สอนสาธิต และให้นักศึกษาทำงานตามใบงานตามจุดประสงค์ทางด้านทักษะที่หลักสูตรต้องการ มีการตรวจปรับประเมินเป็นขั้นตอน มอบหมายความรับผิดชอบในการทำความสะอาดเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นามาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 สอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.4 ประเมินผลจากผลงานภาคปฏิบัติตามใบงานตามหลักสูตรเป็นขั้นตอน
1.3.5 ประเมินผลทางด้านจิตพิสัย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของหลักสูตรเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในหลักสูตรที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ภาคปฏิบัติ สอนสาธิต และให้นักศึกษาทำงานตามใบงานตามจุดประสงค์ทางด้านทักษะที่หลักสูตรต้องการ มีการตรวจปรับประเมินเป็นขั้นตอน
2.3.1 ภาคปฏิบัติ คะแนนการทำงานตามใบงานที่กำหนดให้ คะแนนจิตพิสัยของงานภาคปฏิบัติ
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1การสอนภาคปฏิบัติ สอนสาธิต และให้นักศึกษาทางานตามใบงาน มีการตรวจปรับเป็นระยะๆให้นักศึกษาแก้ปัญหาจากงานที่มอบหมายอย่างเป็นระบบและสามารถนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอื่น ๆ ได้
3.2.2 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 งานที่มอบหมายภาคปฏิบัติ และจิตพิสัย
3.3.2 สามารถแก้ปัญหาในการทำงานภาคปฏิบัติตามใบงานได้
4.1.1สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่มรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการมอบหมายงานภาคปฏิบัติ
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3 การนำเสนอผลงานและรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และผู้สอนประเมินตามแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.4สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนาตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานและนำเสนอผลงาน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี       
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและ.ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและมีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
หนังสืองานฝึกฝีมือ ใช้อ้างอิงได้ทุกเล่ม งานเครื่องมือกล ใช้อ้างอิงได้ทุกเล่ม ทฤษฏีเครื่องมือกลใช้อ้างอิงได้ทุกเล่ม ทฤษฏีงานเชื่อมโลหะ งานวัดละเอียด หนังสือ Shop Theory หนังสือ Machine Tool technology
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยฯโดยนักศึกษาต้องประเมินผู้สอนผ่านระบบ Internet ถ้านักศึกษาคนใดไม่ประเมินผลรายวิชา เกรดวิชานั้นจะไม่ออกให้แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ตามแบบของมหาวิทยาลัยฯ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ผลงานภาคปฏิบัติที่จ่ายให้ตามใบงาน
2.3 จิตพิสัยในการเรียนและการปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 พัฒนาสื่อการสอนและ ใบงาน
3.2 เพิ่มเต็มความรู้นักศึกษาส่วนที่ขาดทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา การให้แบบฝึกหัดและมอบหมายงานให้ไปทำ การตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก ผลการสอบกลางภาค และปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี เพื่อให้เหมาะสมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี