ปฏิบัติการทางกลศาสตร์

Mechanics Laboratory

ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการในเรื่อง การทดสอบความแข็งผิว การทดสอบแรงดึง การทดสอบแรงบิด การดัด การทดสอบความล้า กลไก ไจโรสโคป การทดสอบการสั่นสะเทือน การถ่วงสมดุล และระบบเกียร์
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการทดลองทางกลศาสตร์แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความรู้ทางทฤษฎีว่า หลักการทางทฤษฎีกับทางปฏิบัติมีแนวทางไปทางเดียวกันหรือไม่
รายวิชา ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการในเรื่อง การทดสอบความแข็งผิว การทดสอบแรงดึง การทดสอบแรงบิด การดัด การทดสอบความล้า กลไก ไจโรสโคป การทดสอบการสั่นสะเทือน การถ่วงสมดุล และระบบเกียร์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา และส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.2 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.3 ปลูกฝังด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานให้ตรงเวลา
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การค้นคว้า นำเสนอและประยุกต์โครงงานกรณีศึกษา
การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่
เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตรโดยใช้การวัดผล ดังนี้
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอโครงงานกรณีศึกษาในชั้นเรียน
 
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายโครงงานด้านกรณีศึกษาที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงงานด้านกรณีศึกษา และการนำเสนอ
 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพิจารณา ให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
 
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์โครงงานกรณีศึกษา
ประเมินจากโครงงานกรณีศึกษาที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายโครงงานด้านกรณีศึกษา
ประเมินจากการผลงานและการนำเสนอโครงงานด้านกรณีศึกษา
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในด้านการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สาธิตการปฏิบัติงาน ตามใบงาน
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึกคะแนน
6.3.2 พิจารณาผลงานการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.2,3.2.1,3.2.2 รายงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 50%
2 2.3.2,3.3.2,5.3 นำเสนอรายงานการทดลอง 16 30%
3 1.3.1,4.3,5.3 การเข้าชั้นเรียนการตรงต่อเวลา พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม การนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 20%
1. เอกสารประกอบการสอน
2. Hibbeler R.C,Static and Mechanics of Materials, 2ndEdition.Prentice Hall,2004
1.DietmarGros et.al,Engineering Mechanics 2 :Mechanics of Materials, 1st Edition.Springer,2010
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น http://mie.njit.edu/students/lab_safety.php (Safety for Laboratory)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ