การอบชุบโลหะ

Heat Treatment

ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของโลหะ แผนภูมิของเหล็กกับคาร์บอน TTT Diagram ความสามารถในการชุบแข็ง การกระจายของความแข็งภายในและระยะลึกของความแข็ง ปฏิบัติตรวจหาปริมาณคาร์บอนและความแข็งของเหล็กชนิดต่าง ๆ ศึกษาหลักการของการให้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของเหล็ก การสลายคาร์บอนโดยการชุบในสารละลายตัวกลาง การอบคืนตัวเพื่อทำเหล็กกล้าแข็ง ตลอดจนอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการอบชุบและอบคืนตัว ปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยวิธีการต่าง ๆ ศึกษาดูงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อศึกษากระบวนการอบให้ความร้อน การชุบแข็งและการอบคืนตัวในสายการผลิตจริง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านการอบชุบโลหะ สามารถนาความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
              ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของโลหะ แผนภูมิของเหล็กกับคาร์บอน TTT Diagram ความสามารถในการชุบแข็ง การกระจายของความแข็งภายในและระยะลึกของความแข็ง ปฏิบัติตรวจหาปริมาณคาร์บอนและความแข็งของเหล็กชนิดต่าง ๆ ศึกษาหลักการของการให้ความร้อนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของเหล็ก การสลายคาร์บอนโดยการชุบในสารละลายตัวกลาง การอบคืนตัวเพื่อทำเหล็กกล้าแข็ง ตลอดจนอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการอบชุบและอบคืนตัว ปฏิบัติการอบชุบโลหะด้วยวิธีการต่าง ๆ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ หรือ Facebook ส่วนตัว
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ 
   (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
    1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบวินัยและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                   1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
                   1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                   1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
                   1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
      1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ               
1.2.1 อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา
                   1.2.2 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุวิศวกรรม และอาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา
                   1.2.3 อภิปรายกลุ่ม มอบหมายงานเป็นกลุ่มและนำเสนอผลงาน
         1.2.4 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทในห้องเรียน มารยาทในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
1.3.1 ประเมินผลจากการเข้าเรียน
        1.3.2 ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
                  1.3.3 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน การยกตัวอย่างเปรียบเทียบในด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
        2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาอบชุบโลหะและสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
                  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
                  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการอบชุบโลหะได้
                 2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎีตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา 
       2.2.2 ยกตัวอย่างการประยุกต์และใช้งานการอบชุบโลหะเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
       2.2.3 มอบหมายงานให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1  ตรวจแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
        2.3.2  ประเมินจากการถามตอบในชั้นเรียน และการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
3.1.1  พัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี
      3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้และเทคโนโลยี
       3.2.1  การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
        3.2.2   การวิเคราะห์และอภิปรายกลุ่ม
        3.2.3  เชิญวิทยากรหรือบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะทางมาร่วมบรรยาย    
         3.3.1   วัดผลพิจารณาจากการทำรายงานเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
         3.3.2   สอบกลางภาคและปลายภาค
                     4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
                      4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
                      4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
                     4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
                     4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                     4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงานและการนำเสนอผลงาน
                     4.3.2 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
          5.1.2  พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลจาก Inter net และ web site ต่าง ๆ
          5.1.3  พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก web site สื่อการสอน E-Learning
          5.2.2 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.2.3 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
        5.2.4 อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1  ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                    5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรมในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
               6.1.1 มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบวินัยและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
               6.1.2 มีทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีการร่วมมือกันเป็นอย่างดี
 สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทในห้องเรียน มารยาทในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
 6.3.1 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน การยกตัวอย่างเปรียบเทียบในด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
6.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงานและการนำเสนอผลงาน
                     6.3.3 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 5 2 5 2 3 5 4 5 5 4 1 2
1 34061316 การอบชุบโลหะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 -2.5, 3.2 -3.3 สอบกลางภาค สอบกลางปลาย 9 และ 17 60%
2 1.3,2.1, 2.4-2.6, 3.2-3.5, 4.1-4.4, 5.1-5.4, 6.1-6.2 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2,2.5,3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 มานพ  ตันตระบัณฑิตย์. วัสดุวิศวกรรม. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ :
               บริษัท ส.เอเซียเพรส(1989) จำกัด, 2536
         1.2 ชาญวุฒิ  ตั้งจิตวิทยา  และสาโรช ฐิติเกียรติพงศ์. วัสดุในงานวิศวกรรม. กรุงเทพฯ :
               บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2521
         1.3 มานพ  ตัณตระบัณฑิตย์. งานทดสอบวัสดุอุตสาหกรรม. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-
               ญี่ปุ่น), 2531
         1.4 ณรงค์ศักด์  ธรรมโชติ. วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2551
         1.5 วีระพันธ์  สิทธิพงศ์. โลหะวิทยากายภาพสำหรับวิศวกร ภาค 2. โรงพิมพ์นิยมวิทยา, 2533
         1.6 สุวันชัย พงษ์สุกิจวัฒน์และคณะ.วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรมพื้นฐาน.บริษัทสำนักพิมพ์ท็อป
               จำกัด,2548.
 1.7 Callister, Jr. W.D. Materials Science and Engineering: An Introduction. 6th Edition. John Wiley & Sons, New York, USA., 2003
1.8 รศ.มนัส สถิรจินดา. วิศวกรรมการอบชุบเหล็ก.
         Power Point Presentation  ทฤษฏีวัสดุวิศวกรรม โลหวิทยา และ การอบชุบโลหะ
         เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia, Google, คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
            1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
            1.2  การถามตอบเนื้อหาและความรู้รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
            1.3  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
      1.4 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด kantwirunphan@gmail.com และ Face book  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
     ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
            2.1  ผลการเรียนของนักศึกษา
   2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน
       ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
        4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
               4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อที่ 4