หัวข้อความก้าวล้ำในงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์

Advanced Topics in Software Engineering

ให้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้จากงานวิจัยสู่ นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างมืออาชีพ ตอบนโยบาย Thailand 4.0
เพิ่มรายวิชาใหม่ในการปรับปรุงหลักสูตรปี 2560 เพื่อเป็นวิชาชีพเลือก
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ ให้สามารถเห็นคุณค่า และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ทฤษฏีใหม่ๆ แบบจำลอง เทคนิค และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ฝึกปฏิบัติด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่ทำให้การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้จากงานวิจัยสู่ นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างมืออาชีพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความรู้ต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายรูปแบบการทำงานของซอฟต์แวร์ อธิบายหลักการสร้างซอฟต์แวร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในงานด้านต่างๆ ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด และพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานด้านต่างๆ
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  การทำแบบฝึกหัด
เน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้

คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
3.2.1 ยกตัวอย่าง  ถาม-ตอบ ประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ
3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ  แล้วนำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเขียนโปรแกรม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ
3.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม
นักศึกษาต้องสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตามคุณสมบัติดังนี้

สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมและประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ แล้วให้มีการนำเสนอผลงาน
4.3.1   สังเกตพฤติกรรมการทำงาน และความรับผิดชอบ
4.3.2   ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย    
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ โดยใช้ซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม แล้วนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2   เรียนรู้ผ่านสื่อระบบ E- Learning ส่งแบบฝึกหัด และสนทนซักถามในระบบ
5.3.1   การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
5.3.2   การส่งแบบฝึกหัดครบถ้วน ตรงตามกำหนด ในระบบ E- Learning
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ปัจจุบัน
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการใช้ซอฟต์แวร์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE177 หัวข้อความก้าวล้ำในงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1 3.1, 3.4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 20% 20%
2 2.2, 4.6, 5.4 2.7, 3.4, 4.6, 5.1, 6.1 2.8, 3.4, 4.6, 5.2, 5.4 ทำแบบฝึกหัด รายบุคคล ฝึกปฏิบัติ รายบุคคล นำเสนองานที่มอบหมาย รายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10% 20% 20%
3 1.1 การเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/ http://library.rmutl.ac.th/ http://www.siraekabut.com/2013/07/mind-map/ https://www.digitalagemag.com

https://www.kickstarter.com/discover/popular
จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน หรือหัวหน้าหลักสูตร
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ