การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์

Software Design and Development

     1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการพัฒนาซอฟต์แวร์ การสร้างทีมงานพัฒนาระบบ, การบริหารโครงการ สร้างแบบจำลองการผลิตซอฟต์แวร์
     2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการเก็บรวบรวมความต้องการในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิเคราะห์ความต้องการที่ได้รับจากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อนำไปสู่การออกแบบซอฟต์แวร์
     3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำการทดสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นได้ว่า ซอฟต์แวร์นั้นมีจุดบกพร่องส่วนใดบ้าง เพื่อให้สามารถทำการประมาณการต้นทุนของซอฟต์แวร์
     4. เพื่อให้มีเจคคติที่ดีต่องานทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์
      เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการนำไปในใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
          ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ แบบจาลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานของซอฟต์แวร์ และการจัดการข้อจากัดเชิงวิศวกรรม กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและเทคนิคการเลือกคาสั่งในการแก้ไขปัญหาในเชิงโปรแกรมรูปแบบการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง แบบจาลองการไม่ประสานกันสาหรับการเขียนโปรแกรมที่มีการประมวลผลร่วมกัน การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ กระบวนการทดสอบและคุณภาพของซอฟต์แวร์ การสร้างหน่วยทดสอบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสาหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
      อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นกลุ่มหรือเฉพาะรายตามความต้องการ 1 ชั่วโม/สัปดาห์ โดยการกําหนดเวลาร่วมกับระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
     นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดาเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสาเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนาและ/หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจาเป็นมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ
          1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
          1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
          1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
          1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
     กาหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความึื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทาการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทาดี ทาประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
          1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกาหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม          
          1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร          
          1.3.3 ปริมาณการกระทาทุจริตในการสอบ
          1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
     นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
          2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สาคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
          2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
          2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกาหนด
          2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนาไปประยุกต์
          2.1.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชานาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
          2.1.6 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ึอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
          2.1.8 การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทาได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
     ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคาอนธิบายรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
     ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
          2.3.1 การทดสอบย่อย
          2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
          2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทา
          2.3.4 ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นาเสนอ
          2.3.5 ประเมินจากการนาเสนอรายงานในชั้นเรียน
     นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจา นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
          3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
          3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินอุตสาหกรรมโดยใช้สารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
          3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
          3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
    3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
          3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
          3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นี้สามารถทาได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคาตอบที่ถูกมาคาตอบเดียวจากกลุ่มคาตอบที่ให้มา ไม่ควรมีคาถามเกี่ยวกับนิยามต่างๆ      ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนาเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
     นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพึึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
          4.1.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
     ใช้การสอนที่มีการกาหนดกิจกรรมให้มีการทางานเป็นกลุ่ม การทางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
          4.2.1 สามารถทางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
          4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
          4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
          4.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
          4.2.5 มีภาวะผู้นา
     ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนาเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นต่าดังนี้
          5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จาเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
          5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนาเสนออย่างเหมาะสม
          5.1.4 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศอย่างเหมาะสม      การวัดมาตรฐานนี้อาจทาได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา และให้นาเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
     กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์และการสื่อสารนี้อาจทาได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา และให้นาเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จาลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในหลากหลายสถานการณ์
          5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนาเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
          5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจากัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนาเสนอต่อชั้นเรียน
     การทางานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไขึึ่งมีความสาคัญมากในการทางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตาแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสาคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังข้อต่อไปนี้
          6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
          6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
          6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
          6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
          6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
          6.2.5 สนับสนุนการทาโครงงาน
          6.2.6 การฝึกงานในสถานประกอบการ
          6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
          6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
          6.3.3 มีการประเมินผลการทางานในภาคปฏิบัติ
          6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
          6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาวิชาสหกิจศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE112 การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สัปดาห์ที่ 1-15 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกายให้ถูกระเบียบ การขาดเรียน การมาเรียนสาย การมีส่วนร่วมนาเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียนของวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ตลอดสัปดาห์ที่สอน 5%
2 สัปดาห์ที่ 1-3, สัปดาห์ที่ 9, สัปดาห์ที่ 10-14, สัปดาห์ที่ 17 ทดสอบย่อย, สอบกลางภาค, มอบหมายชิ้นงาน, สอบปลายภาค 3, 9, 10, 17 10%, 30%, 10%, 30%
3 สัปดาห์ที่ 1-15 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค ปรับใช้ความรู้ในรายวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อนำไปพัฒนาการสร้างซอฟต์แวร์ที่ดี ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 สัปดาห์ที่ 1-15 การมีส่วนร่วมนำเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน สำหรับการนำไปใช้งานจริงทางด้านวิศวกรรมทั้งที่มีใช้ภายในประเทศและต่างประเทศและการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 สัปดาห์ที่ 1-15 มีการศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดภาคการศึกษา 5%
  1. จรณิต แก้วกังวาล, วิศวกรรซอฟต์แวร์ หลักการออกแบบพัฒนาระบบเชิงวิศวกรรมและองค์ประกอบมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2540.
  2. พรฤดี เนติโสภากุล, วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ทฤษฎี หลักการ และการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, 2549.
  3. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล, วิศวกรรมซอฟต์แวร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2550.
  4. อภิรักษ์ จิรายุสกุล, CT484 วิศวกรรมซอฟต์แวร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.
  5. น้ำฝน อัศวเมฆิน, หลักการพื้นฐานของ วิศวกรรมซอฟต์แวร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2558.
  6. วิทยา สุคตบวร, วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
  7. สุวรรณี อัศวกุลชัย, วิศวกรรมซอฟต์แวร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2561.
  8. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548.
  9. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2555.
  10. ฝ่ายผลิตหนุงสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
  11. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ, คัมภีร์ ระบบฐานข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น, 2542.
  12. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, ระบบฐานข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
  13. Douglas Bell, Software Engineering A Programming Approach. 3rd Edition. England, Pearson Education, 1944.
  14. Roger S. Pressman, Software Engineering A Practitioner’s Approach. Sixth Edition. McGraw-Hill, 2005.
  15. Eric J. Braude, Software Engineering An Object-Oriented Perspective. Boston University, John wiley & Sons, inc. 2000.
     จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้
          2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอนหรือหัวหน้าหลักสูตร
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
          ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร
          4.2 มีการตังคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนเของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์     ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ