ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2

Electronic Circuits 2 Laboratory

1. มีทักษะในการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
2. มีทักษะในการวัดค่าต่างๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
3. มีทักษะในการวัดรูปคลื่นสัญญาณในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
4. มีทักษะในการวิเคราะห์การทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
5. มีทักษะในการแก้ปัญหาของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
6. เห็นความสำคัญของวิชาปฏิบัติวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการประกอบ วัดรูปคลื่นสัญญาณ และค่าต่างๆ ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การนำเอาไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้งานต่อไป
ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและวิเคราะห์วงจรกรองแบบพาสซีฟ แบบแอกทีฟ และแบบสวิตช์คาปาซิเตอร์ วงจรปรับแต่งรูปคลื่นแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น วงจรกำเนิดความถี่แบบรูปคลื่นไซน์และแบบไม่ใช่รูปคลื่นไซน์ ออปแอมป์และการประยุกต์ใช้งานลักษณะการทำงานแบบสวิตชิ่งของทรานซีสเตอร์ ชนิดรอยต่อและสนามไฟฟ้า วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรขับ วงจรสมิตต์ทริกเกอร์ วงจรสวีพ วงจรลอจิกเกต วงจรแซมปลิ้งเกต และการประยุกต์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
- อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1.3.5 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมีทักษะในการประกอบ วัดรูปคลื่นสัญญาณ และค่าต่างๆ ของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
บรรยาย ถามตอบ สาธิต การทำใบงานการทดลองและการนำเสนอรายงาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 สอบภาคปฏิบัติปลายภาค
2.3.2 ประเมินผลจากการรายงาน ปฏิบัติการทดลอง
พัฒนาทักษะและความสามารถในการปฏิบัติ วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1 การมอบหมายใบงานการทดลอง
3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า เพิ่มเติม
3.2.3 การวิเคราะห์ผลการทดลอง
3.3.1 สอบภาคปฏิบัติปลายภาค
3.3.2 ประเมินผลจากการรายงาน ปฏิบัติการทดลอง
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการทดลอง
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.7 พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
1. นักศึกษามีทักษะปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
2. นักศึกษามีทักษะการแก้ปัญหาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
1. บรรยาย ยกตัวอย่าง และปฏิบัติการทดลองให้ดู
1. ประเมินผลจากใบงานการทดลอง
2. ประเมินจากการตอบคำถามของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 5 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2
1 32122317 ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1, 5.2 สอบภาคปฏิบัติปลายภาค 16-17 30%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2, 6.1 การปฏิบัติการทดลอง การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.3, 4.3-4.4 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาค 10%
1. ชูชัย ธนสารตั้งเจริญ . ทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ , 2541.
2. ดำรง จีนขาวขำ. การออกแบบและการทดลองวงจรออปแอมป์. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
3. มนตรี ศิริปรัชญานันท์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. เอกสารประกอบการสอน วิชา 223361 Communication Electronics เรื่อง เฟสล็อคลูป Phase Locked Loop (PLL). ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
4. ผศ.ดร.นิพนธ์ สุขม . หลักการประยุกต์ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง : 2527.
5. พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงษ์ . อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ ,2542.
6. สมศักกดิ์ ธนพุทธิวิโรจน์. Electronics Circuit Analysis .สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตอีสาน : ขอนแก่น.
7. Ali Aminian , Marian k. kazimierczuk . ELECTRONIC DEVICE A Design Approach . Pearson International Edition. New Jersey : Pearson Prentice HallTM. 2004.
8. Denton J. Dailey. Electronic Devices and Circuits. Discrete and Integrated. New Jersey : Prentice Hall, Inc. 2001.
9. Donald A. Neamen. Electronic Circuit Analysis and Design. Second Edition. Singapore : MzGraw-Hill. 2001.
10. Robert L. Boylestad , Louis Nashelsky. Electronic Devices and Circuits Theory. Ninth Edition. New Jersey : Prentice Hall, Inc. 2006.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4