สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

Co-operative Education in Electronics Engineering

เพื่อให้นักศึกษาฝึกงานโดยนำความรู้ที่เรียนมาจากสาขาวิชาไปประยุกต์ในสถานประกอบการ
ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีระบบ โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการของสถาน
ประกอบการจริงทำหน้าที่ควบคุมดูแล นักศึกษาจะต้องมีโครงงานและหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน
ตลอดระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติการจริงในสถานประกอบการ โดยการนำความรู้ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้งานจริง และนักศึกษาจะสามารถนำปัญหาจากที่ฝึกงานมาสร้างเป็นโครงงานก่อนสำเร็จการศึกษา
ปฏิบัติการฝึกงานโดยนำความรู้ที่เรียนมาจากสาขาวิชาไปประยุกต์ในสถานประกอบการ
ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีระบบ โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการของสถาน
ประกอบการจริงทำหน้าที่ควบคุมดูแล และนักศึกษาจะต้องมีโครงงานและหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอนตลอดระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องสามารถสรุปโครงการและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการนั้น ๆ อย่างเป็นรูปธรรม และมีการจัดทำรายงานการปฏิบัติการ มีการประเมินผลงานร่วมกันจากทางสถานประกอบการและคณาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงก่อนการสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
- อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1.3.5 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมีทักษะในการทำงานในสถานประกอบการ
นักศึกษาปฏิบัติงานจริงโดยมีผู้ชำนาญการของสถานประกอบการเป็นผู้กำกับดูแล
ประเมินผลโดยพี่เลี้ยงของสถานประกอบการร่วมกับอาจารย์นิเทศ
พัฒนาทักษะและความสามารถในการปฏิบัติ วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
อาจาย์ผู้กำกับวิชาสอนแนวทางการปฏิบัติตนในสถานประกอบการ จากนั้นได้รับการปฐมนิเทศจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการคอยชี้แนะ อบรม สั่งสอนงาน
อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยงผู้ชำนาญการในสถานประกอบการช่วยกันประเมินจากงานที่มอบหมาย
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.7 พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
นักศึกษามีทักษะมีการทำงานจริงจากสถานประกอบการ
พี่เลี้ยงจากสถานประกอบการคอยแนะนำ กำกับดูแล
อาจารย์นิเทศ ร่วมกับพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการร่วมกันประเมินผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ วิเคราะห์เชิงตัวเลข ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 1 ข้อ 1 ข้อ 2
1 32125422 สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1, 5.2 ดูความรับผิดชอบการทำงาน 4,8,12,16 30%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2, 6.1 การปฏิบัติงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.3, 4.3-4.4 การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในการทำงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คู่มือสหกิจศึกษาที่คณะมอบให้
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4