การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สิน และส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สินการตีราคา     การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน             การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน กำไรสะสม กำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด รวมถึงความรับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้ (ตาม Domain of Leaning)
 
          ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
ด้านความรู้
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ด้านทักษะทางปัญญา
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
          ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ  5 (1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
 
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องตามมาตรฐานการบัญชี และเพิ่มเติมเรื่องโปรแกรมสิทธิประโยชน์แก่ลูกค้า  ตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องตามมาตรฐานการบัญชี และเพิ่มเติมเรื่องโปรแกรมสิทธิประโยชน์แก่ลูกค้า  ตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สิน และส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สินการตีราคา     การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน             การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน กำไรสะสม กำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ข้อ 3 (2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ข้อ 4 (1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำเสนอ
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ข้อ  5 (1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ประเมินจากผลงานที่ได้สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (1) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 5 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 6 – 9 9 และ 17 80 คะแนน
2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) ข้อ 5 (1) - ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน - ประเมินจากการส่งแบบฝึกหัด - ประเมินจากงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 20 คะแนน
สมบูรณ์ กุมาร. การบัญชีชั้นกลาง 2. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น, 2554.
ธาริณี พงศ์สุพัฒน์. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีเจ พริ้นติ้ง, 2551.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็นเพรส. 2552.
นุชจรี พิเชฐกุล. การบัญชีชั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็นเพรส, 2550.
______. การรายงานและการวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2553.
พรรณิภา รอดวรรณะ และคณะ. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
พัชรินทร์ ไตรรัตน์รุ่งเรืองและอารีย์ ทิศาวิภาต. การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2550.
พูลสิน กลิ่นประทุม. การบัญชีชั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2552.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วารสารวิชาชีพบัญชี
 1) สภาวิชาชีพบัญชี  www.fap.or.th  2) กรมสรรพากร  www.rd.go.th  3) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  www.sec.or.th  4) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  www.set.or.th  5) ธนาคารแห่งประเทศไทย  www.bot.or.th  6) กรมศุลกากร  www.customs.go.th  7) กรมสรรพาสามิต  www.excise.go.th  8) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  www.dbd.go.th  9) กระทรวงแรงงาน  www.mol.go.th  Web ต่างประเทศ  1. International Accounting Standards Board  www.iasb.org  3. The International Federation Of Accountants  www.ifac.org  4. U.S. Securities Exchange Commission  www.sec.gov
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน การตรวจงานที่มอบหมาย การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ