ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์

Finite Element Method

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจพื้นฐานทางด้านทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการสร้างรูปแบบของระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ เช่น วิธีการโดยตรง วิธีการถ่วงน้ำหนักเศษตกค้าง วิธีการแปรผัน การแก้ปัญหาการเปลี่ยนรูปเนื่องจากความเค้น ปัญหาด้านการไหลของความร้อนและของไหล และการประยุกต์ใช้งานในปัญหาทางด้านวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จ
ไม่มี
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการสร้างรูปแบบของระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ เช่น วิธีการโดยตรง วิธีการถ่วงน้ำหนักเศษตกค้าง วิธีการแปรผัน การแก้ปัญหาการเปลี่ยนรูปเนื่องจากความเค้น ปัญหาด้านการไหลของความร้อนและของไหล และการประยุกต์ใช้งานในปัญหาทางด้านวิศวกรรมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จ
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
การแต่งกายในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
พฤติกรรมการแต่งกายในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
บรรยายถึงหลักการที่สำคัญในทางทฤษฎีและปฏิบัติของรายวิชาระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ซึ่งจะมีการใช้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน การใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ซอฟต์แวร์ในการคำนวณเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ตัวอย่าง
การสอบกลางภาคเรียน
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
โจทย์การออกแบบที่มีการวิเคราะห์ การสรุปประเด็นปัญหา รวมไปถึงการมองปัญหาแบบเป็นระบบ เพื่อฝึกให้มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
การสอบปลายภาคเรียน
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
การจัดสอบย่อยเพื่อฝึกการวางแผนและความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง การทำโจทย์หน้าชั้นเรียนโดยให้นักศึกษาสามารถปรึกษากับเพื่อนได้ เพื่อฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
การสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ผลงานจากการทำโจทย์หน้าชั้นเรียน
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
การใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ซอฟต์แวร์ในการคำนวณเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ออกแบบ เพื่อฝึกให้มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ได้
การสอบย่อย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.4 สอบย่อย 3, 4, 5, 6, 8, 13, 16 60%
3 1.1.1 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข, เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. Daryl L. Logan, A First Course in the Finite Element Method 5th ed, THOMSON. Yijun Liu, Lecture Notes: Introduction to the Finite Element Method, University of Cincinnatic. Erdogan Madenci and Ibrahim Guven, The Finite Element Method and Applications in Engineering using ANSYS, Springer Science+Business Media, LLC.
ปราโมทย์ เดชะอำไพ, ไฟไนต์อิลิเมนต์ในงานวิศวกรรม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เดช พุทธเจริญทอง, การวิเคราะห์ด้วยไฟไนต์เอลิเมนต์, บริษัทพิมพ์ดี จำกัด J.N. Reddy, AN INTRODUCTION TO THE FINITE ELEMENT METHOD 2nd ed, McGraw-Hill, Inc. Saeed Moaveni, FINITE ELEMENT ANALYSIS : Theory and Application with ANSYS, Prentice-Hall, Inc.
ตำราหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์
ประเมินการสอนของอาจารย์ โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำการประเมินออนไลน์
การนำเสนอระดับคะแนนหรือเกรดต่อที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการประจำคณะ
การสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดให้มีการประชุมพิจารณาระดับคะแนนหรือเกรด ในระดับหลักสูตรและระดับคณะ เพื่อกลั่นกรองมาตรฐานระดับคะแนน เมื่อประกาศระดับคะแนนหรือเกรดแล้ว นักศึกษามีสิทธิในการขอตรวจสอบระดับคะแนน หากเห็นว่าผลการประเมินอาจมีความผิดพลาด
ผู้สอนจะประเมินเนื้อหาและวิธีการสอนจากการประเมินของนักศึกษา เพื่อทำการปรับปรุงเนื้อหาในทุก ภาคการศึกษา พร้อมข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป