การแปลงานเขียนทางวิชาการ

Academic Writing Translation

เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้รูปแบบ ลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานเขียนทางวิชาการในสาขาต่างๆ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการแปลงานเขียนเชิงวิชาการ และสามารถนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติและแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงไปใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานของวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การเรียนรู้รูปแบบลักษณะงานเขียนทางวิชาการ ฝึกทักษะการแปลงานทางวิชาการในสาขาต่างๆ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ

ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการแปลในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.3 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องลักษณะของงานเขียนทางวิชาการ หลักการแปลงานเขียนทางวิชาการ ส่วนในทางปฏิบัติ เน้นการฝึกแปลงานเขียนทางวิชาการจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้เกี่ยวกับการแปลกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
 
 
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 การฝึกปฏิบัติการแปลข้อเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการแปลงานเขียนประเภทต่าง ๆ ในระดับประโยค ย่อหน้า และข้อความ
 
 
 
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งานแปลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานแปลงานเขียนทางวิชาการ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารจริง
3.2.3 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียนโดยเลือกเอกสารเอง
 
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักนำความรู้ในศาสตร์ของตน มาช่วยเหลือสังคมโดยรวมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
จัดให้นักศึกษาได้ทำฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการและนำผลงานมาเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
ประเมินจากการฝึกปฏิบัติการแปลของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการแปลอย่างเหมาะสม และสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ได้แก่
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแปลในบทเรียนต่าง ๆ
5.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.2.4 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการแปลเอกสารทางวิชาการ
5.3.1 การทดสอบความรู้ด้านภาษาในการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ผลงานการทำแบบฝึกปฏิบัติการแปลในชั้นเรียน
5.3.3 ผลการทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 2 3 4 5 6
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 5 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 13031036 การแปลงานเขียนทางวิชาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-3 สอบกลางภาค 9 15%
2 หน่วยที่ 4 สอบปลายภาค 17 15%
3 หน่วยที่ 1-4 แบบฝึกหัด / กิจกรรมการแปล / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
4 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 10 %
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลงานเขียนเชิงวิชาการ
ทิพา เทพอัครพงศ์. 2547. การแปลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประเทือง ทินรัตน์. 2543. การแปลเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปัญญา บริสุทธิ์. 2540. ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน. นเรศ สุรสิทธิ์. 2544. การแปลภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคง่ายๆ. กรุงเทพฯ บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด. มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. 2548. การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัชนีโรจน์ กุลธำรง. 2552. ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณา แสงอร่ามเรือง. 2542. ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธา พินิจภูวดล. 2539. “หลักการแปล” เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 15. กรุงเทพฯ มสธ. สิทธา พินิจภูวดล. 2542. คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด. สุพรรณี ปิ่นมณี. 2546. การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Abdellah, A.S. 2002. “What every novice translator should know,” Translation Journal Vol. 6 No. 3 July 2002. http://accurapid.com/journal/21novice.htm Gerding-Salas, C. 2000. “Teaching translation: Problems and solutions,” Translation Journal Vol. 4 No. 3 July 2002. http://accurapid.com/journal/13educ.htm Gurdial Singh, K.K. 2005. “A competent translator and effective knowledge transfer,” Translation Journal. http://accurapid.com/journal/34edu.htm Osimo, B. 2004. Translation. http://www.logos.it/translation_course/index_en.html Razmjou, L. “To be a good translator,” http://www.translationdirectory.com/ Rubrecht, B. 2005. “Knowing before learning,” Translation Journal. http://accurapid.com/journal/32edu.htm

17. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการแปลภาษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์