การสั่นสะเทือนเชิงกล

Mechanical Vibration

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประวัติ นิยามศัพท์และประเภทของการสั่นสะเทือน ระบบที่มีขั้นความเป็นอิสระเท่ากับหนึ่ง การสั่นสะเทือนแบบบิด การสั่นสะเทือนแบบเสรีและบังคับ วิธีของระบบสมมูล ระบบที่มีหลายขั้นความเป็นอิสระ วิธีและเทคนิคการลดและควบคุมการสั่นสะเทือน กรณีศึกษาของการสั่นสะเทือน
ไม่มี
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติ นิยามศัพท์และประเภทของการสั่นสะเทือน ระบบที่มีขั้นความเป็นอิสระเท่ากับหนึ่ง การสั่นสะเทือนแบบบิด การสั่นสะเทือนแบบเสรีและบังคับ วิธีของระบบสมมูล ระบบที่มีหลายขั้นความเป็นอิสระ วิธีและเทคนิคการลดและควบคุมการสั่นสะเทือน กรณีศึกษาของการสั่นสะเทือน
Study of the history, definition and type of mechanical vibration, single degree of freedom systems, torsional vibration, free and forced vibration, method of equivalent systems, systems having several degrees of freedom, methods and techniques to reduce and control vibration, case studies in mechanical vibration.
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การแต่งกายในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การจัดทำข้อสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียนหลายชุดเพื่อฝึกให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
พฤติกรรมการแต่งกายในชั้นเรียน การเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ปริมาณการทุจริตในการสอบ
มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
บรรยายถึงหลักการที่สำคัญในทางทฤษฎีของรายวิชาการสั่นสะเทือนเชิงกล ซึ่งจะมีการใช้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน การใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ในเครื่องคำนวณเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ตัวอย่าง โจทย์ตัวอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับงานจริง
การสอบย่อยและการสอบกลางภาคเรียน
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
โจทย์การออกแบบที่มีการวิเคราะห์ การสรุปประเด็นปัญหา รวมไปถึงการมองปัญหาแบบเป็นระบบ วิดีโอใน www.youtube.com ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการสั่นสะเทือนเชิงกล
การสอบย่อยและการสอบปลายภาคเรียน
สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
การจัดสอบตามกำหนดเวลาเพื่อฝึกการวางแผนและความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง การบ้าน
การสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ผลจากการทวนสอบการบ้าน
สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
การใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ในเครื่องคำนวณเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ตัวอย่างและโจทย์การออกแบบ วิดีโอใน www.youtube.com ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการสั่นสะเทือนเชิงกล
การสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.5, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 2.1.4, 2,1,5, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4, 3.1.5, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.5 สอบย่อย ครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบย่อย ครั้งที่ 2 สอบย่อย ครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 4 9 13 15 17 10% 25% 10% 10% 25%
2 1.1.1, 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 4.1.3 การบ้าน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข, เอกสารประกอบการสอนวิชาการสั่นสะเทือนเชิงกล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา Singiresu S. Rao, Mechanical Vibration 5th ed, Pearson Education, Inc. 2011. Daniel J. Inman, Engineering Vibration 4th ed, Pearson Education, Inc. 2014. S. Graham Kelly, Fundamentals of Mechanical Vibrations 2nd ed, The McGraw-Hill Companies, Inc. 2000.
กนต์ธร ชำนิประศาสน์, การสั่นสะเทือนเชิงกล, เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, กรุงเทพฯ. 2545. เดช พุทธเจริญทอง, การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน, ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ. 2549. ธนู ฉุยฉาย, การสั่นสะเทือนเชิงกล, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ. 2541.
ตำราหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสั่นสะเทือนเชิงกล
ประเมินการสอนของอาจารย์ โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการสั่นสะเทือนเชิงกล ทำการประเมินออนไลน์
การนำเสนอระดับคะแนนหรือเกรดต่อที่ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตรและกรรมการประจำคณะ
การสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดให้มีการประชุมพิจารณาระดับคะแนนหรือเกรด ในระดับหลักสูตรและระดับคณะ เพื่อกลั่นกรองมาตรฐานระดับคะแนน เมื่อประกาศระดับคะแนนหรือเกรดแล้ว นักศึกษามีสิทธิในการขอตรวจสอบระดับคะแนน หากเห็นว่าผลการประเมินอาจมีความผิดพลาด
ผู้สอนจะประเมินเนื้อหาและวิธีการสอนจากการประเมินของนักศึกษา เพื่อทำการปรับปรุงเนื้อหาในทุก ภาคการศึกษา พร้อมข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป