เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sufficiency Economy for Sustainable Development

1.  เพื่อให้เข้าใจหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      2.  เพื่อให้เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
      3.  เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า เห็นความสำคัญ และร่วมส่งเสริม อนุรักษ์ ภูมิปัญญาไทย 
      4.  เพื่อให้เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
      5.  เพื่อให้เข้าใจหลักธรรมาภิบาล และการนำไปใช้เพื่อบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมือง  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักธรรมาภิบาล การพัฒนาที่ยั่งยืน ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนเข้าใจถึงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  และระดับรัฐ  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตน  บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้  ความรอบคอบ  และคุณธรรมประกอบการวางแผน  การตัดสินใจ  และการกระทำ  อีกทั้งเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน  และทราบถึงวิธีการปรับตัวเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  
             -  บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  หลักเศรษฐกิจพอเพียง  การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
             -  อภิปรายกลุ่มเรื่องโครงการตามแนวพระราชดำริ
             -  อภิปรายกลุ่มเรื่องหมู่บ้านพอเพียง  ชุมชนพอเพียง  โดยให้ผู้เรียนยกกรณีตัวอย่างหมู่บ้าน หรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความแตกต่างในชุมชนก่อนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้  หมู่บ้าน หรือชุมชนเป็นอย่างไร  และหลังนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้แล้วหมู่บ้าน  หรือชุมชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร 
             -  แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ และลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน และแสดงนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเผยแพร่ผลงานที่ได้ลงพื้นที่ศึกษารวมถึงการได้รับประสบการณ์และองค์ความรู้ในด้านต่างๆ
             -  ดำเนินการทำการวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    -  ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip วีดีโอ , วีดีทัศน์ , โฆษณา, สารคดี และอื่น ๆ
             -   การเข้าชั้นเรียน
             -   ส่งงานตามที่กำหนด
             -   การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
             -   ประเมินผลจากการวิเคราะห์บุคคลต้นแบบพอเพียง  และชุมชนพอเพียง   
             -   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยใช้สื่อที่เหมาะสม เช่นโปรแกรม Power point วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
  -  ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
-  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
            -  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
            -  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
            -  มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
            -  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ
            -  ตระหนักและเห็นความสำคัญของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม โดยการปฏิบัติจริง ฝึกการคิดและวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน การใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัติ โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี และการประยุกต์ใช้
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
-  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
            -  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
              การสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยังยืนช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตของตน  บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้  และคุณธรรม  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ  ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้    และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          - การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
              - ให้นักศึกษาดู Clip แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์
-  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
            -  รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน            
            -  สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
-  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
             -  พัฒนาทักษะการพึ่งพาตนเอง  การมีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  และการเคารพสิทธิของผู้อื่น
             -  พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม              -  พัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
-  จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
               -  กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
               -  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
-  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
               -  อาจารย์ประเมินตามรูปแบบการนำเสนองานของนักศึกษา
               -  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
               -  แบบฝึกหัด
-  พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก Website
            -  พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก Internet
-  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง  และสารคดี
             -  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
             -  ศึกษาดูงานในพื้นที่ประสบผลสำเร็จ แล้วนำมาวิเคราะห์
-  ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 8 25%
2 สอบปลายภาค 18 25%
3 งานที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดภาคการเรียน 40%
4 จิตพิสัย/การเข้าเรียน/กิจกรรมในชั้นเรียน 17 10%
1.1.  เอกสารประกอบการสอน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เรียบเรียงโดย อ.ภีราวิชญ์ ชัยมาลา สาขาศิลปศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
           1.2.  หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง เรียบเรียงโดย ดร.สิริยะ เจียมประชานรากร
           1.3. หนังสือเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sufficiency  Economy for Sustainable Development)    เรียบเรียงโดย แผนกวิชาสังคมศาสตร์  สาขาศิลปศาสตร์  คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
- หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:อาร์ทลี่ย์  เพรส,  2550.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. เศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  อะไร.  พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์, 2550.

รงค์ ประพันธ์พงศ์. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

สถาพรบุ๊คส์, 2553.

สมพร เทพสิทธา. การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนและแนวคิดเศรษฐกิจ

พอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์,2550.            - สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นสู่วิถี เศรษฐกิจพอเพียง จากแนวปฏิบัติสู่แนวคิดทางทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2550
           -  เอกสารที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภูมิพลอดุลยเดช. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2551.
           -  ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. เศรษฐกิจพอเพียง : ความพอเพียงมวลรวมในประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:G.P. CYBERPRINT  CO., LTD, 2550.
            - เสรี พงศ์พิศ.เศรษฐกิจพอเพียง:(สำหรับวิทยากร).พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์, 2550.
            -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและเว็บไซด์อื่น ๆ
       เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://longlivetheking.kpmax.com/
       เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.doae.go.th/report/SE/
เศรษฐกิจพอเพียง(Online).แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html
โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.sufficiencyeconomy.org/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   วิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3 มีโครงการในรายวิชาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักศึกษาได้องค์ความรู้จากการลงพื้นที่จริง