การสัมมนาภาษาอังกฤษ

Seminar in English

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ในหัวข้อที่สนใจ นำมาสรุปและนำเสนอในรูปแบบของการสัมมนา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาในการสัมมนาเชิงวิชาการ ฝึกการใช้สำนวนภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้การนำเสนอผลงาน และการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
การค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในหัวข้อที่สนใจ นำมาสรุปและนำเสนอในรูปแบบของ การสัมมนา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่ง ข้อมูลต่าง ๆ
1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและ สม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1 การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2 การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปและนำเสนอข้อมูลในหัวข้อที่สนใจ กับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของการสัมมนา
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาสัมมนาในชั้นเรียน
2.2.3 ให้นักศึกษาได้ศึกษาจากกรณีศึกษา และตัวอย่างต่าง ๆ
2.3.1 การสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.2 การวิเคราะห์บริบทจากกรณีศึกษา และตัวอย่างต่าง ๆ
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้านการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการสัมมนาเชิงวิชาการ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสัมมนาเชิงวิชาการ
3.2.3 ให้นักศึกษาระดมความคิดเป็นกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การค้นคว้าและการนำเสนอผลงานการค้นคว้า
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมความคิดในการฝึกสัมมนาในชั้นเรียน
4.3.1 ประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.2 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
5.2.1 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสืบค้น
5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกใช้เทคโนโลยีประกอบการนำเสนอเชิงวิชาการ
5.3.1 ผลการฝึกจัดทำและใช้สื่อเทคโนโลยีประกอบการนำเสนอของนักศึกษา
5.3.2 ผลจากการค้นคว้าข้อมูล และศึกษาเพิ่มเติมของนักศึกษา
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม  6.2.2 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
6.3.1 ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม  6.3.2 การนำเสนอผลงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรมจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียนโดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ 2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและ สม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน 1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน 2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาสัมมนาในชั้นเรียน 3 ให้นักศึกษาได้ศึกษาจากกรณีศึกษา และตัวอย่างต่าง ๆ 1 ให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสัมมนาเชิงวิชาการ 3 ให้นักศึกษาระดมความคิดเป็นกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่กัน 1 ประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม 2 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา 1 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสืบค้น 2 ให้นักศึกษาฝึกใช้เทคโนโลยีประกอบการนำเสนอเชิงวิชาการ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 2 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1 13031023 การสัมมนาภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะด้านความรู้และทักษะด้านปัญญา สอบกลางภาค 9 15%
2 ทักษะด้านความรู้และทักษะด้านปัญญา สอบปลายภาค 17 15%
3 ทักษะทางปัญญา ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ทักษะพิสัย การนำเสนอผลการค้นคว้า Presentation 1 - 2 4-8 และ 10-13 45%
4 ทักษะทางปัญญา ทักษะการมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ทักษะพิสัย การจัดโครงการสัมมนา Seminar Project 15 - 16 15%
5 จิตพิสัย ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ ตลอดภาคเรียน 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนาภาษาอังกฤษ
จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ. การประชุม การสัมมนา. สืบค้นจาก http://hq.prd.go.th/plan/ewt_dl_link.php?nid=1985&filename=index
สมชาย สหนิบุตร. การจัดการสัมมนา: องค์ประกอบการจัดสัมมนา. สไลด์ประกอบการสอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี
อภิญญา กีรติสุวคนธ์. การจัดประชุมสัมมนา. สืบค้นจาก http://www.svc.ac.th/uploads/File/Academy/Apinya.pdf .
 
Oral Presentation Skills: A Practical Guide. C. STORZ and the English language teachers of the Institut national de télécommunications, EVRY FRANCE. Retrieved from http://people.engr.ncsu.edu/txie/publications/oral_presentation_skills.pdf.
เว็บไซด์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาสัมมนา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ 
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง 
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้  2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 จัดปรับเนื้อหาบทเรียนให้กระชับและเรียงลำดับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ง่ายขึ้น
3.2 จัดปรับเวลาในการสอนแต่ละบทเรียนให้เหมาะสมมากขึ้น
3.3 จัดปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา จากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจาก ผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้า สาขาวิชาหรือคณะกรรมการประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนน พฤติกรรม
ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและ รายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากประสบการณ์ของอาจารย์