การศึกษาดูงานทางการออกแบบอุตสาหกรรม

Technical Visit on Industrial Design

1.  ดูงานด้านออกแบบอุตสาหกรรมทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด
2.  เข้าใจวิธีการบันทึกสิ่งที่มองเห็นจากการศึกษาดูงานออกแบบอุตสาหกรรม
3.  เข้าใจวิธีการทำรายงานและการนำเสนอโครงงานที่ได้จากการศึกษาดูงาน
4.  มีทักษะในการเขียนบันทึกและทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนาด้านงานออกแบบอุตสาหกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ต่อยอดจากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านการออกแบบอุตสาหกรรม สามารถทำงานติดต่อ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการการเขียนบันทึก และทำรายงานรวมถึงการเสนอโครงงานที่จะนำมาพัฒนาด้านการออกแบบอุตสาหกรรม สามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี   รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักออกแบบให้กับองค์กรที่นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในชั้นปีต่อไป
เสริมสร้างประสบการณ์ด้านการออกแบบของนักศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดย ศึกษาดูงานในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นักศึกษาจะได้ มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับนักออกแบบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ทาง ไลน์ ทาง email address ของอาจารย์ผู้สอน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
    1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
             นักศึกษาต้องมีความตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 4 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 4 ข้อตามที่ระบุไว้
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
     1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
     1.3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและ สิ่งแวดล้อมเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการสอนแบบ active learning มีกิจกรรมในชั้นเรียน และจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการภายในประเทศ ผู้เรียนนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียนฝึกปฏิบัติให้มีการสังเกต การฟัง และการบันทึกสิ่งที่มองเห็น ข้อมูลความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน หรือ ประสบการณ์ตรงที่ได้ระหว่างการศึกษาดูงาน
     1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงานที่ให้และตรงเวลา
     1.3.2   การเข้าร่วมศึกษาดูงาน การบันทึกข้อมูลระหว่างการศึกษาดูงาน
     1.3.3   ประเมินผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย และการนำเสนอในชั้นเรียน
     1.3.4   ผู้เรียนประเมินผลตนเอง และ ประเมินอาจารย์ผู้สอน   
นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เห็นจากการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร การจัดแสดงผลงาน โลกทัศน์ เทคนิคในการทำงาน การแก้ปัญหา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักออกแบบในสถานประกอบการ
  อาจารย์ผู้สอนพิจารณาสถานประกอบการภายในประเทศ แล้วติดต่อประสานงาน เพื่อให้นักศึกษาไปศึกษาดูงาน บันทึกข้อมูล รวมทั้งให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาดูงาน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาสถานศึกษา  นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเดินทางและการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม   
2.3.1   ประเมินผลจากแบบบันทึกที่มอบหมายและประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
2.3.2  ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานการสอนของอาจารย์    
พัฒนาความสามารถในการสร้างกรอบคิดในการนำเสนอ Project   ความสามารถในการสืบค้นเอกสาร การวางแผนงาน การปฏิบัติตัวมารยาททางสังคม การปฏิบัติตามกฎระเบียบในขณะเข้าศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ประกอบการ การสร้างเครือข่าย ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในการเรียน จากสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนจัดทำ และการส่งงาน
3.2.1   บรรยาย และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยีเรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง
3.2.2   การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์วางแผนการศึกษาดูงาน วิธีการบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร
3.2.3   มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ การบันทึก การสังเกต การปฏิบัติตัวมารยาททางสังคม การปฏิบัติตามกฎระเบียบในขณะเข้าศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ประกอบการ
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการศึกษาดูงานเป็นการทำรายงาน การนำเสนอโปรเจคที่เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตร ต่อตัวนักศึกษา และต่อสถานประกอบการ        
3.3.1   วัดผลจากการคะแนนงานปฏิบัติและ การนำเสนอผลงาน
3.3.2   สังเกตพฤติกรรมการเรียนทั้งเรียนในชั้นเรียนและขณะศึกษาดูงาน
 4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้พูดและผู้ฟัง
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบขณะเดินทางศึกษาดูงานและส่งงานตามที่มอบหมาย  
4.1.4   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียน  การส่งงาน มีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน
        4.2.1   ให้ผู้เรียนปฏิบัติการบันทึกในขณะศึกษาดูงาน ตามหัวข้อที่กำหนด และนำเสนอในชั้นเรียน
        4.2.2  มอบหมายงานรายบุคคล เช่น เขียนความคาดหวังของนักศึกษาที่ต้องการได้รับจากการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ภายในจังหวัดเชียงใหม่ และต่างจังหวัด
        4.2.3    นำเสนอสรุปผลรายงานที่มีประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสถานประกอบการ และ ต่อหลักสูตร
            4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคล และ กิจกรรมกลุ่ม)                                                                                                                                                                                                                             
            4.3.2  ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
            4.3.3   ประเมินจากนำเสนอหน้าชั้นเรียน     
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง 
5.1.2   พัฒนาทักษะในการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
5.1.3   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การติดต่อสื่อสารกันระหว่างศึกษาดู
             งาน  Scan และ Upload ส่งงานทาง  อินเทอร์เน็ต  การสนทนาในไลน์  ในอีเมล์   
5.1.4   ทักษะในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
 5.2.1   กิจกรรม Active learning กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามหน่วยเรียน
 5.2.2   นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมาย
 5.2.3   นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
5.2.4   มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ทาง Google Classroom
                5.3.1   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมาย
                5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอ
                5.3.3   ประเมินจากการเข้าร่วมศึกษาดูงาน ความรับผิดชอบตัวเองขณะศึกษาดูงาน การเป็นผู้ฟังที่ดี
            มีทักษะพิสัยในการปฏิบัติด้านการเขียนบันทึกในขณะศึกษาดูงานและจัดทำรายงานหลังจากศึกษาดูงาน  โดยประเมินจากผลงานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย  ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีการนำเสนองาน 
 ใช้วิธีสอนแบบ active learning ให้นักศึกษาร่วมวางแผนการเดินทาง  การเลือกสถานประกอบการ การขอความอนุเคราะห์จากสถานประกอบการ   การบันทึกข้อมูลระหว่างศึกษาดูงาน การนำเสนอ และร่วมแสดงความคิดเห็น
 ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติของนักศึกษาที่มอบหมาย และ แนวคิดในการ นำเสนอโครงงานที่เป็นประโยชน์หลังจากการฝึกงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2.มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3.มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบ วิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญา 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3.สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่่ดี 4.2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถท างานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3.สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1.มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BAAID115 การศึกษาดูงานทางการออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-7 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายและ การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 80%
2 1-7 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
Allan Wooddrow, 2018.  Field tripped. Scholatic Press.
Ronald V. Morris, 2014.  The Field trip book.  Information Age publishing
 แบบบันทึก สำหรับศึกษาดูงาน
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรมศึกษาดูงาน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงานการนำเสนองาน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2   ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21