การวางรูปแบบระบบบัญชี

Accounting System Formation

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการวางรูปแบบระบบบัญชีและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบัญชี หลักเกณฑ์วิธีการวางรูปแบบระบบบัญชี
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้ทำการวางรูปแบบระบบบัญชีในธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมไปถึงการเขียนแผนผังทางเดินเอกสารของระบบบัญชี การควบคุมภายในที่นำมาใช้ในการวางรูปแบบระบบบัญชี
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เป็นรายวิชาที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ
. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการวางรูปแบบระบบบัญชี ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบัญชี หลักเกณฑ์และวิธีการวางรูปแบบระบบบัญชี การวางรูปแบบระบบบัญชีในธุรกิจต่าง ๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ การเขียนแผนผังทางเดินเอกสารของระบบบัญชี การควบคุมภายในที่นำมาใช้ในการวางรูปแบบระบบบัญชี
 
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลา ให้นักศึกษาเข้าพบโดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือติดต่อได้ทางอีเมล์ทางกลุ่ม Line วิชาการวางรูปแบบระบบัญชี
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
- ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการวางรูปแบบระบบบัญชีของธุรกิจต่างๆ
2) มีความมีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
- สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
3) มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
- รู้หลักการควบคุมภายในและระบบบัญชี ให้เป็นตามหลักการที่ถูกต้องและมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ
 
1.2 วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้
1) บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับการวางรูปแบบระบบบัญชีของธุรกิจต่าง ๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจซื้อมาขายไป
2) การอภิปรายกลุ่ม จัดกลุ่มนักศึกษารับผิดชอบตามกลุ่มตัวอย่างที่มอบหมายในเรื่องของการวางระบบบัญชี
3) ซักถาม ร่วมกันสรุป หลังจากมีการอภิปรายกลุ่ม เปิดโอกาสให้เพื่อนซักถามในข้อสงสัย และอาจารย์ทำการสรุปผลการอภิปราย
1.3 วิธีการประเมินผล
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3) ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2. ความรู้
2.1 ความรู้ที่จะได้รับ
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
- ในเรื่องของลักษณะของระบบบัญชี เอกสารในการบันทึกบัญชี การรายงาน การควบคุมภายใน และกระบวนการต่างๆที่สัมพันธ์กับระบบบัญชี
 
2) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
- สามารถนำเอาแนวทางในการวางระบบบัญชีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจประเภทต่างๆ
3) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- สามารถปรับปรุงและพัฒนาการวางระบบบัญชีกับในกรณีที่ธุรกิจจัดวางระบบบัญชีไม่เหมาะสม รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการวางระบบบัญชีแบบเดิมเป็นแบบ COSO (ERM)
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการวางรูปแบบระบบบัญชีของกิจการต่าง ๆ
2.3 วิธีการประเมินผล
1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2) ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือแบบฝึกหัด
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
- สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ และระบบบัญชีของกิจการต่างๆได้
2) สามารถติตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
- สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับรูปแบบระบบบัญชีของกิจการ และนำเสนอได้
3.2 วิธีการสอน
1) การสอนแบบบรรยาย อภิปรายกลุ่ม
2) การสอนโดยใช้กรณีศึกษา โจทย์ปัญหา และแบบฝึกหัดปฏิบัติ
3.3 วิธีการประเมินผลทักษะทางปัญญาของนักศึกษา
1) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
2) วัดผลจากการค้นคว้า การนำเสนอผลงาน
3) สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องการพัฒนา
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
- สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น
4.2 วิธีการสอน
1) จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2) มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวางรูปแบบระบบบัญชีของกิจการประเภทต่าง ๆ เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ เป็นต้น
3) การนำเสนอรายงาน
4.3 วิธีการประเมิน
1) ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
2) ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
- สามารถนำเสนอรายงานที่ศึกษาค้นคว้า ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงาน และการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนโดยวาจาได้อย่างเหมาะสม
2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงานและเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์และสื่อการสอน และทำรายงานโดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2) นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมิน
1) ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 -การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบัญชี - การควบคุมภายในของระบบบัญชี สอบกลางภาค 9 30%
3 งานที่มอบหมาย เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอรายงาน 17 30%
4 ขั้นตอนการวางรูปแบบระบบัญชี สอบปลายภาค 18 30%
1. ตำราและเอกสารหลัก
การออกแบบระบบบัญชี โดย รศ.ดุษณีย์ ส่องเมือง (2558)
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
- หนังสือการวางระบบบัญชี โดย ศจ.ประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรง อ.อภิรักษ์ พุ่มกลิ่น
และ อ.กัญญา ประยูรสุข
หนังสือเทคนิคการวางระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ โดย สมเดช โรจน์คุรีเสถียร และคณะ (2556) หนังสือการวางระบบบัญชี โดย อ.อุเทน เลานำทา (2559) หนังสือการวางระบบบัญชี โดย สุขุม โพธิสวัสดิ์
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่
เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)

 
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการวางรูปแบบระบบบัญชีให้มากขึ้น
3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่างระบบบัญชีของธุรกิจที่หลากหลาย และให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3 ศึกษาการวิจัยทั้งในห้องเรียนและการวิจัยนอกห้องเรียน
3.4 ฝึกตอบปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา โดยผู้สอนได้ยกตัวอย่างงานของนักศึกษารุ่นพี่นำมาเป็นต้นแบบในการศึกษา
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น
5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี (เพิ่มเติมตัวอย่างการวางระบบบัญชีในธุรกิจที่น่าสนใจให้มากขึ้น)
5.3 ฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา