ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ

English for Career

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในแต่ละอาชีพและสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งตระหนักในความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ และมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษสำหรับศึกษาด้วยตนเอง วิชาชีพ และเป็นพื้นฐานในการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
คัดเลือกเนื้อหาตามสาขาวิชาของนักศึกษา พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ให้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาโดยใช้สถานการณ์จำลอง ซึ่งนักศึกษาจะต้องพบระหว่างการปฏิบัติงาน
-อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
สอดแทรกการใช้ภาษาในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รู้จักปรับใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
1.1.1 [O] มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 [ ] มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 [l] มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 [O] เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- แสดงบทบาทสมมติ
- เข้าเรียนตรงเวลา
- ส่งงานตามที่กำหนด
- มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- เก็บคะแนนย่อย
- สอบทฤษฎีกลางภาค ปลายภาค
วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันมีเนื้อหาอยู่ทั้งหมด 6 หน่วยด้วยกันซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นหลักเพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักศึกษาในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
2.1.1 [l] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาสา
2.1.2 [ ] สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 [ ] สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง  การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลการทำงาน
- ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
- การนำเสนอในชั้นเรียน
- งานมอบหมาย
3.1.1 [O] มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2 [l] มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.1.3 [l] มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตาม
- อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- แสดงบทบาทสมมติ
- การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
- สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1 [ ] มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 [ ] มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.3 [l] สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 [ ] สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
- ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วนโดยใช้Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
- นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน
- ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ
- สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน
- แบบฝึกหัด
- การตรงต่อเวลาและการส่งงาน
5.1.1 [O] เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 [ ] สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 [l]ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรม
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างเพื่อนำมารวบรวมเขียนเป็นรายงานส่ง
- การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้Computerและ Power point
- ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
- การสืบค้นข้อมูลตามคำสั่งได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค ทำข้อสอบวัดความรู้ บทเรียนที่ 1-6 9 30%
2 สอบปลายภาค ทำข้อสอบประเมินความรู้ บทเรียนที่ 7-12 17 30%
3 สอบย่อยรายบทเรียนและแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย คะแนนจากแบบทดสอบ การส่งงานมอบหมาย การทำกิจกรรมกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือ English for Career
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
- สังเกตจาการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- ประเมินจากผลการนำเสนอ
- ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
- ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
- กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
- การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ