การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Object-Oriented Analysis and Design

เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนแนวคิดเชิงวัตถุ วัฏจักรของการพัฒนาระบบงาน ขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ การสร้างระบบงานโดยใช้เคสทูล ซึ่งส่งผลไปถึงการฝึกทักษะปฏิบัติในรายวิชานี้ รวมถึงการนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบเชิงวัตถุ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุได้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจถึงวิธีการพัฒนาระบบด้วยวิธีการเชิงวัตถุและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ หลักการพัฒนาระบบงานแบบอินครีเมนท์ หลักการใช้ภาษาทางภาพเพื่อการออกแบบ UML (Unified Modeling Language) ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานเชิงวัตถุ การสร้าง แบบจาลองเกี่ยวกับความต้องการ การใช้เทคนิค ยูสเคส การคิดและการวิเคราะห์ เชิงนามธรรม การสร้างแบบจาลองเชิงวิเคราะห์ แนวคิดการค้นหาวัตถุ แนวทางการ ออกแบบเชิงวัตถุ การออกแบบคลาส การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับ วัตถุ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วยวิธีใช้เคสทูล แนวคิดเกี่ยวกับการ ทดสอบโปรแกรมตามข้อกาหนดของยูสเคส
3 ชั่วโมง
1.1.1  เคารพในสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  เข้าใจตน  เข้าใจผู้อื่น  พร้อมกับปฏิบัติต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
                        1.1.2  มีความรัก   ความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
                        1.1.3  ตระหนักในคุณค่าของความจริง  ความดี  ความงาม  และความมีเหตุผล
1.1.4  มีความเสียสละ  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ตรงต่อเวลา  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                        1.1.5  เคารพกฎระเบียบ  กติกา  และข้อบังคับต่าง ๆ ของสถาบัน  องค์กร และสังคม
                        1.1.6  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมได้
                        1.1.7  มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
1.2.1  สอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรมในเนื้อหารายวิชา
1.2.2  ปฏิบัติกิจกรรมตามสถานการณ์  เกม  และบทบาทสมมุติแล้วอภิปรายถึงแนวคิด  ข้อคิดที่สร้างความเข้าใจชีวิต  เข้าใจคน  และเข้าใจธรรมชาติ  และการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและสันติ อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่มเฉพาะ  และกลุ่มใหญ่
1.2.3  กำหนดให้นักศึกษาหากรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ตามศาสตร์และทฤษฎีที่เรียนพร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1  พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
                        1.3.2  พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง  เหมาะสม  และสร้างสรรค์
                        1.3.3  ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
หลักการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุและกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้งาน
2.2.1  บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
                        2.2.2  อภิปรายหลังการบรรยาย
                        2.2.3  การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
                        2.2.4  การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆ ที่เรียน
                        2.2.5  การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก  (Problem – based Learning)
2.3.1  ทดสอบกลางภาคและปลายภาคที่เน้นหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ วิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า
                        2.3.2  ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ  มีทักษะทางการวิเคราะห์ สังเคราะห์  และประเมินค่า
3.2.1  วิเคราะห์กรณีศึกษา  ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบตามทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                        3.2.2  อภิปรายกลุ่ม
3.3.1  สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นการคิดวิเคราะห์
3.3.2  พิจารณาจากการอภิปรายกลุ่มเล็ก และ กลุ่มใหญ่
4.1.1  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
                        4.1.2  ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3  ทักษะการเรียนด้วยตนเองมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย 
4.1.4  ทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สถานภาพในสังคมระดับต่างๆ
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายงานทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล
4.3.1  ประเมินผลการรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
4.3.2  ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม
5.1.1  พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.2  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารทั้งการฟัง  การพูด  การอ่าน  การแปล  โดยจัดทำเป็นรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3  พัฒนาทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ทางเว็บไซต์  แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย  และตารางตัวเลข  พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง
5.2.2  นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล  พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  หลังจากฟังการนำเสนอผลการศึกษาของเพื่อน
5.3.2  ประเมินจากรายงานการเขียน และการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
รังสิต ศิริรังษี. การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุด้วยยูเอ็มแอล. พิมพ์ครั้งที่ 1 2549 : เชียงใหม่ ; มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
กิตติ  ภักดีวัฒนะกุล, พนิดา  พานิชกุล. คัมภีร์ การพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วย UML และ JAVA. 2548 : กรุงเทพ ฯ ; เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
แบบประเมินผู้สอน จัดทำโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบประเมินศักยภาพผู้เรียนรายบุคคล ข้อเสนอแนะผ่านอินเทอร์เน็ต  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องการสื่อสารกับนักศึกษา
การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลักจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน วิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน  และรายละเอียดรายวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคการเรียนหรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้