ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sufficiency Economy to Sustainable Development

1.  เข้าใจหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
           2.  เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
           3.  เข้าใจพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่มีต่อการพัฒนา
   4.  เข้าใจหลักธรรมาภิบาล
5.  เข้าใจแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.  ประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7.  เห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมือง  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ               หลักธรรมาภิบาล  และหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ภูมิปัญญาไทย  การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำ              ทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์               (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนเข้าใจถึงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  และระดับรัฐ  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตน  และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนดังนี้  

ตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตบนพื้นฐานของทางสายกลาง มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

4 มีคุณธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง              หลักเศรษฐกิจพอเพียง  การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง อภิปรายกลุ่มเรื่องโครงการตามแนวพระราชดำริ อภิปรายกลุ่มเรื่องหมู่บ้านพอเพียง  ชุมชนพอเพียง  โดยให้ผู้เรียนยกกรณีตัวอย่างหมู่บ้าน หรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความแตกต่างในชุมชนก่อนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้  หมู่บ้าน หรือชุมชนเป็นอย่างไร  และหลังนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้แล้วหมู่บ้าน  หรือชุมชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดิทัศน์, สารคดีทางวิทยุ, สารคดีทางโทรทัศน์, นิทาน, โฆษณา  และอื่น ๆ

5 ใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ ร่วมกับการเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาค้นหาเรื่องที่สนใจ และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน รวบรวมข้อมูลที่ได้มาจัดนิทรรศการ
การเข้าชั้นเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์หมู่บ้านพอเพียง  ชุมชนพอเพียง    
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินผลจากการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรม/โครงการ และการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน
1.3.7   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสาร อ้างอิงอย่างน้อย 5 เล่ม
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
2.1.5   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน
          ระดับต่างๆ
2.1.6   ตระหนักและเห็นความสำคัญของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
                           ประจำวัน  และปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว  สารคดี  เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน และการบูรณาการโดยให้นักศึกษามุ่งศึกษาและทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และ   ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่สนใจ โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน
2.3.3   การนำเสนองานในชั้นเรียน
2.3.4   การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
   การสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยังยืนช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตของตน  บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้  และคุณธรรม  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ  ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้    และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1   การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อน
                       รายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
3.2.3   ให้นักศึกษาดู Clip , วีดีทัศน์ , สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา , นิทาน แล้วร่วมวิพากษ์วิเคราะห์ในชั้นเรียน
3.2.4   เกมส์ / กิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
3.2.5   การเลือกทำโครงการตามที่นักศึกษาสนใจ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน 
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   มีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม  ไม่เห็นแก่ตัว
4.1.2   มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ
4.1.3   แลกเปลี่ยน  รวมถึงแบ่งปันองค์ความรู้ต่อเพื่อนร่วมงาน
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์  การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ  ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1   จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4.2.2   กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
4.2.3   ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป
           เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม 
4.2.4   กรณีศึกษา
           - สื่อจาก Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  และนิทาน
4.3.1  ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2  ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4  การคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษา Clip , วีดีทัศน์, สารคดีทางวิทยุ , สารคดีทางโทรทัศน์ , โฆษณา  และนิทาน
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล 
5.1.2   พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
           จาก Internet  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD,                          วีดีทัศน์  และเทปเสียง
5.2.2   การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 13063001 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.3 2.1,2.3 3.1,3.3 4.1,4.3 1.1 - 2.3 3.1 - 5.3 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 6 12 8 17 5% 5% 20% 30%
2 2.3 , 4.1 3.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอแบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point การบูรณาการการเรียนรู้ การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล การจัดนิทรรศการ ตลอดภาคการศึกษา 30 %
3 1.1 - 5.3 3.3 การเข้าชั้นเรียน, จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sufficiency  Economy)  เรียบเรียงโดย  ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา
  ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:อาร์ทลี่ย์  เพรส,  2550.
หนังสือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเอการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ผศ.ดร.จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
- หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. เศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง  อะไร.  พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์, 2550.
รงค์ ประพันธ์พงศ์. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2553.
สมพร เทพสิทธา. การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญา                เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์,               2550.
สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นสู่วิถี เศรษฐกิจพอเพียง จากแนวปฏิบัติสู่แนวคิดทางทฤษฎีของ               เศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2550.
จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเอการพัฒนาที่ยั่งยืน.  พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2554.
ภูมิพลอดุลยเดช. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราโชวาทและ             พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, 2551.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. เศรษฐกิจพอเพียง : ความพอเพียงมวลรวมในประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:              G.P. CYBERPRINT  CO., LTD, 2550.
เสรี พงศ์พิศ. เศรษฐกิจพอเพียง : (สำหรับวิทยากร). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2550.
 
           -  เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องและเว็บไซด์อื่น ๆ
  เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://longlivetheking.kpmax.com/
 เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.doae.go.th/report/SE/
 เศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html  โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง(Online). แหล่งที่มา: http://www.sufficiencyeconomy.org/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน นักศึกษาทำแบบประเมินผลการบูรณาการการเรียนการสอน
      การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1   สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายรายกลุ่มใหญ่
2.2   สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3   ประเมินจากผลการนำเสนอ
2.4   ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
2.5  ใช้แบบประเมินผลการบูรณาการการเรียนการสอน
หลังจากการประเมินผลในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอนวิชานี้ คือ
3.1   แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์เสมอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ทันสมัย
3.2   ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
3.3   ทำวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4   ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการให้เหมาะสม
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา การตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนน
ของนักศึกษาแต่ละคน และแจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนภายหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   วิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 3 ปี
5.2   เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้
5.3   จัดดำเนินโครงการในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง
5.4   จัดทัศนศึกษานอกพื้นที่  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้ประสบการณ์จริง
5.5   ให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย พัฒนาชุมชนและสังคม