ภาษาอังกฤษผ่านสื่อและเทคโนโลยี

English through Media and Technology

1. ฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านฟัง พูด อ่าน เขียนได้เหมาะสมตามวัฒนธรรมสากล โดยใช้สื่อเทคโนโลยี
2. เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีได้เหมาะสมกับบริบทการศึกษาค้นคว้าภาษาอังกฤษ
3. ส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อเทคโนโลยี
              เพื่อพัฒนารายวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้เหมาะสมตามวัฒนธรรมสากล โดยใช้สื่อเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                  ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษในการฟัง พูด อ่าน เขียนและเข้าใจความหลากหลายของวัฒนธรรมสากลผ่านสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ  
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ติดต่อทาง Facebook และ Line
            มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
1.2.1 ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
1.2.2 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน และส่งภายในเวลาที่กำหนด
1.2.3 ฝึกให้นักศึกษาอ้างอิงแหล่งข้อมูลในการค้นคว้าตามมาตรฐานสากล โดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงาน
           1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
           1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
           1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
           1.3.4 การพิจารณาจากผลงานและการระบุแหล่งอ้างอิงของนักศึกษา
ความรู้และทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนได้เหมาะสมกับบริบทตามวัฒนธรรมสากล รวมทั้งการใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลตามความต้องการ โดยกำหนดขอบเขตเนื้อหา ดังนี้

คำศัพท์  ค้นหาคำศัพท์จากเว็บไซต์เพราะมีหลายเว็บไซต์ที่รวบรวมรายการคำศัพท์ชุดนี้ พร้อมทั้งแบบฝึกหัดและแบบทดสอบไว้หลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพื่อเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษ ทักษะการพูด เน้นการฝึกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่กำหนดให้ (กลุ่มคำศัพท์ GSL) ทักษะการฟัง กำหนดตามสถานการณ์ทั่วไปที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น การฟังเพลง ละครทีวี ข่าวสั้น ประกาศ โฆษณา เป็นต้น ทักษะการอ่าน อ่านข้อความ/บทความตามเว็บไซต์ที่กำหนดให้ และฝึกค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำรายงาน ทักษะการเขียน ฝึกเขียนข้อความสั้นๆ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยเพิ่มพูนทักษะ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสากล ที่มักก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เช่น ภาษากายที่ใช้ในการทักทาย การไปพบ/เยือน การแต่งกาย การให้ของกำนัล การนัดหมาย และมารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นต้น สื่อเทคโนโลยี ลักษณะการใช้งานของสื่อเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยเน้นสื่อเทคโนโลยี  คือ สื่อออฟไลน์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปรแกรมพจนานุกรม โปรแกรม Word Processing หรือ Spreadsheet เป็นต้น และ สื่อออนไลน์ คือ เว็บไซต์ต่างๆ พจนานุกรมออนไลน์ โปรแกรม search engine, translator, YouTube เป็นต้น
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1  บรรยายแบบ Interactive lecture เพื่ออธิบายเนื้อหา สรุปบทเรียน และถามตอบเพื่อทำความเข้าใจบทเรียน
2.2.2  สาธิตการเรียนรู้/ทบทวนภาษาอังกฤษในแต่ละทักษะโดยใช้สื่อเทคโนโลยีแต่ละประเภทตามบริบทการนำมาใช้
2.2.3  สาธิตวิธีค้นคว้าข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษและรวบรวมข้อมูลมาจัดทำรายงานโดยใช้สื่อเทคโนโลยี
2.2.4  นักศึกษาทำงานที่มอบหมายในแต่ละบทเรียนภาษาอังกฤษ โดยหาคำตอบ/ข้อมูลที่ต้องการด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบท
2.2.5 นักศึกษาฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาค้นคว้าโดยใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการรวบรวมข้อมูล  เพื่อจัดทำรายงาน (Internet-based project) ตามหัวข้อที่กำหนดและนำเสนอผลงานปากเปล่า
2.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 การทำรายงานแบบ Internet-based project
2.3.4 การนำเสนอผลงานปากเปล่า
             ทักษะการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการในการเพิ่มพูนความรู้/ทักษะ 
             และทบทวนภาษาอังกฤษ รวมทั้งเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลตามความต้องการ
   3.2.1 สาธิตการใช้สื่อเทคโนโลยีแต่ละประเภทตามบริบทการนำมาใช้ประกอบการเรียนรู้และทบทวน
          ภาษาอังกฤษในแต่ละทักษะ
   3.2.2 สาธิตวิธีค้นหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ตามความต้องการของการศึกษาค้นคว้าในแต่ละบริบท
           3.2.3 นักศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายลักษณะการใช้งานและข้อดีข้อด้อยของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
   3.2.4 นักศึกษาจัดกลุ่มอภิปรายและระดมสมองเพื่อสรุปลักษณะการใช้งานและจุดเด่นจุดด้อยของการใช้สื่อแต่ละประเภทในการเรียนภาษาอังกฤษแต่ละทักษะ
           3.2.5 นักศึกษาฝึกเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพูนทักษะและเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมายในแต่ละ 
                  บทเรียน
           3.2.6 นักศึกษาฝึกเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำรายงาน
           3.2.7 นักศึกษาฝึกการศึกษาค้นคว้าโดยใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการรวบรวมข้อมูล (Internet-based   
                  project) เพื่อจัดทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนดและนำเสนอผลงานปากเปล่า
            3.3.1 สังเกต การร่วมอภิปรายเป็นกลุ่มในชั้นเรียน
            3.3.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมายในแต่ละบทเรียน
            3.3.3 พิจารณาจากการอ้างอิงแหล่งข้อมูล/สื่อเทคโนโลยีที่ใช้ทำรายงานแบบ Internet-based Project
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี รวมทั้งการส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและจรรยาบรรณในการค้นคว้าและการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูล ตาม

        มาตรฐานสากล

จัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่มในชั้นเรียนและการทำรายงาน Internet-based Project เป็นกลุ่ม
        4.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
        4.3.2 การพิจารณาจากพฤติกรรมการทำงานภายในกลุ่มของนักศึกษา
        4.3.3 การพิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
           พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
            5.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเลือกสื่อเทคโนโลยีตามสถานการณ์ที่กำหนด
            5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสื่อสารโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทาง  
                   บทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์
            5.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.3.1 การฝึกปฏิบัติการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อเทคโนโลยี
            5.3.2 นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย Internet-based Project
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 13031017 ภาษาอังกฤษผ่านสื่อและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบย่อย 7 10%
2 สอบกลางภาค 9 25%
3 สอบย่อย 16 10%
4 สอบปลายภาค 17 25%
5 -กิจกรรมในชั้นเรียน -งานมอบหมาย (Online journal (Facebook Notes), report -การนำเสนองาน (Oral Presentation (U.1,3,5) ตลอดภาคการศึกษา 20%
6 จิตพิสัย (การเข้าชั้นเรียน (ประเมินจากการเช็คชื่อในชั้นเรียน) 3คะแนน, ความรับผิดชอบในการทำงานและส่งงาน (ประเมินจากแบบสำรวจปลายเปิดและปลายปิด) 4คะแนน, เจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน (ประเมินจากงานเขียนสะท้อนกลับส่วนบุคคล 2ครั้ง) 3คะแนน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
-
Abcteach.com/free/w/writing-middle.pdf
Bangkokpost.com/education/head.htm
bbclearningenglish.com
bbc.co.uk/worldservice/learningenglish/radio
Magazine.justenglish.com
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
     - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
     - ประเมินการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
     การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
     - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
     - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
     - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
     - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
     - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
       ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษา
       แต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี  จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษา
       ทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะ
       อย่างต่อเนื่อง
     - ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
     -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และตามความน่าสนใจ
     -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย
        ของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
      - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาใน
        การประเมิน คุณภาพการศึกษาประจำปี