คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบอุตสาหกรรม

Computer for Industrial Design

ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับออกแบบงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกแบบสร้างสื่อ และการนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ในเรียนการสอนดังนี้

โปรแกรม Sketch up Plug in V-Ray ในการร่างและสร้างโมเดลเสมือนจริงต่าง ๆ โปรแกรม Sketch up Plug in Enscape ในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหว โปรแกรม Adobe Photoshop ในการแต่งตกภาพ โปรแกรม Adobe Illustrator ในการจัด Layout
นักศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะฝีมือในการสร้างโมเดลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ 3 มิติ สามารถนำไปประยุกต์ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือประกอบการงานออกแบบในสาขาต่างๆได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการ ออกแบบเขียนแบบ และการนำเสนอผลงานในลักษณะ 3 มิติ ที่มีความซับซ้อน การเขียนภาพเหมือนวัตถุเหมือนจริง (Rendering) และภาพเคลื่อนไหว (Animation) การจัดการระบบข้อมูลและรูปแบบมาตรฐานของชิ้นงาน การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
อาจารย์ผู้สอนให้คำปรึกษาการทำรายงาน และโครงการปลายเทอม โดยจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่ม จำนวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 14-17)
-  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- เคารพและให้เกียรติความคิดและความรู้ของบุคคลอื่น ๆ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่น
- มีความอดทนอดกลั้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีอคติในการทำงาน โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้
มีการตกลงกับนักศึกษาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษาถึงระเบียบการเข้าเรียน การค้นคว้าและการส่งงานและมีการตรวจสอบการเข้าเรียนของนักศึกษาทุกสัปดาห์ - มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับการสร้างงานโมเดลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิควิธีการต่างๆเพิ่มเติม โดยระบุให้มีการอ้างอิงในรายงานดังกล่าว และมีการประเมินผลโดยผู้สอนเป็นระยะ - อาจารย์ผู้สอนมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ ให้เกียรติความคิดและความรู้รวมถึงผลงานของผู้อื่น และมองเห็นว่าการเคารพตัวเองที่มีคุณค่ามากกว่าแค่ผลคะแนนที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ และมีการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎข้อบังคับที่ได้ตกลงร่วมกัน  - ตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  - มีการตรวจสอบและแนะนำในการศึกษา ที่เน้นการสร้างสรรค์งานและการประเมินผลการทำงานระบบทีม โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานระบบทีม
- ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์
- ทักษะในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติต่างๆในการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ
การบรรยายหน้าชั้นเรียนจากวีดีทัศน์ เว็บไซต์  การสาธิต สื่อการสอน การทำรายงานเป็นกลุ่ม
การทำงานประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
ทดสอบย่อยภาคปฏิบัติกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองานโครงการปลายภาคเรียน
- การคิดวิเคราะห์ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือในโปรแกรมและวิธีการขึ้นรูปโมเดลมาสร้างสรรค์งานขึ้นรูปด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- การนำเสนอผลงานในลักษณะสามมิติ ที่มีความคิดสร้างสรรค์เหมาะสมกับชิ้นงานที่ผลิต
การบรรยายหน้าชั้นเรียนจากวีดีทัศน์ ภาพนิ่ง เว็บไซต์  การสาธิต การทำรายงานเป็นกลุ่ม  การทำงาน  ประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
ทดสอบย่อยกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองาน  โครงการปลายภาคเรียน
- ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
- ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม 
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- บรรยายพร้อมสาธิตตัวอย่างประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละสัปดาห์
- มอบหมายโครงการปลายภาคเรียนโดยให้ทำงานเป็นกลุ่ม
- การตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานได้ตรงตามขอบเขต และเวลาที่กำหนดไว้
- การประเมินผลการงานทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน
ทักษะในการนำเสนอผลงาน  ทั้งในด้านชาร์ตนำเสนอ  และเอนิเมชั่น
มอบหมายให้มีการทำงานในชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์ การเขียนรายงาน และศึกษาค้นคว้านอกเวลาเรียน การปรึกษากันภายในกลุ่มในเรื่องของโครงการ
ประเมินผลด้วยการนำเสนอด้วยการพูด การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
-     ฝึกปฏิบัติการสร้างโมเดลประเภทต่างๆ ด้วยเครื่องมือในโปรแกรมสำเร็จรูป
-     การประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อขึ้นรูปโมเดลที่ได้ออกแบบไว้
-     การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดวัสดุให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
-     การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
-     การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดแสง-เงาให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
-     การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหวในการนำเสนอโมเดลที่ได้ออกแบบ
-      สาธิตหน้าชั้นเรียน ศึกษาจากเว็บไซต์ สื่อการสอน และการศึกษาด้วยตนเอง
-      มอบหมายงานประจำรายสัปดาห์
-      มอบหมายโครงการสรุปปลายภาคการศึกษา
ประเมินด้วยการนำเสนอของนักศึกษาตามแบบประเมินที่กำหนดไว้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 นักศึกษาส่งงานปฏิบัติรายสัปดาห์ หลังบทเรียน 60%
2 2.3 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งเอกสารค้นคว้ารายงาน หลัง บทเรียน 10%
3 3.3 สอบปฏิบัติปลายภาค 18 20%
4 1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ธีระชัย  สุขสด. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2554 นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539 ประเสริฐ  พิชยะสุนทร. ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ดลต์  รัตนทัศนีย์.  ขบวนการออกแบบทางศิลปะอุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528 ทวิส  เพ็งสา. รูปร่างและประโยชน์ใช้สอย.กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528สาคร  คันธโชติ  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2544 ธีรกิติ นวรัตน  ณ อยุธยา, ผลิตภัณฑ์ใหม่:การตลาดและการพัฒนา.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552 ปิยะบุตร  สุทธิดารา.3ds Max 6 basic.นนทบุรี:ไอดีซี,2547 ปิยะบุตร  สุทธิดารา.3ds Max 4.กรุงเทพฯ:อินโฟเฟรส,2544 จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง.Computer Aided for Industrial Design.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2541 พูนศักดิ์ ธนพันธ์.เจาะลึก 3D Studio Max Animation Workshop.กรุงเทพฯ:เอส พี ซี พริ้นติ้ง,2544
- สังเกตการณ์จากพฤติกรรมของนักเรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาแจ้งผู้รับผิดชอบรายวิชา ในกรณีที่มีปัญหาของนิสิตเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้
- ข้อเสนอแนะผ่านแบบสอบถามที่ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ
- การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมสอน
- แบบทดสอบย่อยในชั้นเรียน
- ผลการทำโครงการสรุปปลายภาคเรียนของนักศึกษา
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินการสอนและผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
- ปรึกษาและสรุปทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอน
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอนในระดับภาควิชา ร่วมกับผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอนในกลุ่มวิชาหลักสาขา
- วางแผนและดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- ในระหว่างกระบวนการสอน มีการทบทวนผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ โดยการสอบถามจากนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และแบบทดสอบย่อยในชั้นเรียน
- เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา มีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มอาจารย์ผู้สอน และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบผลงานวิธีการให้คะแนน และพฤติกรรมในการเรียนรู้และส่งงาน
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ควรมีการปรับปรุงรายละเอียดย่อยของรายวิชาตามผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนเป็นรายปี และปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ (จากผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนและจากนักศึกษา) และผลการทวนสอบมาตรฐานสัมฤทธิ์