จิตวิทยาองค์การ

Organizational Psychology

1. เข้าใจกระบวนการบริหารในองค์การ  2. เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร  3. เข้าใจหลักการและเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร  4. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เข้าใจพฤติกรรมและความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสาร การให้ความร่วมมือ และ ประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อมและสุขภาพที่ดีในการทำงาน รวมทั้งวิธีการจูงใจในการทำงาน อันทำให้เกิดทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงานในองค์กร
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของวิชาจิตวิทยาองค์การ ระบบองค์การ พฤติกรรมของบุคคลในองค์การ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหารการทำงานเป็นทีม การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร
อาจารย์ผู้สอน แจ้งวันและเวลาว่างในการให้คำปรึกษา พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ และ E-mail address ให้นักศึกษาทราบในชั้นเรียนชั่วโมงแรก เพื่อความสะดวกในการติดต่อ
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักหลักการในการจัดองค์กร เข้าใจกลยุทธ์และเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจในการทำงาน การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำในการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจและ สิ่งล่อใจในการทำงาน ทัศนคติและความพึงพอใจในการทำงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสุขภาพในการทำงาน โดยมีคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้  1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น  1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการทำงาน การจัดองค์การอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการบริหารความขัดแย้ง  1.2.2 การอภิปรายกลุ่มและการวิเคราะห์บทความ  1.2.3 บทบาทสมมุติ  1.2.4 การจำลองการจัดตั้งองค์กร
 
1.3.1 ประเมินจากความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การตรงต่อเวลา การให้ความร่วมมือ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน และการทำกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน  1.3.2 ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่มย่อย และการทำงานกลุ่ม  1.3.3 ประเมินจากวิธีการนำเสนองาน และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ  1.3.4 ประเมินจากความสมจริงและวิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลอง  1.3.4 ประเมินจากผลการประเมินการจัดตั้งองค์กรที่มอบหมาย  1.3.5 ประเมินจากผลการวิเคราะห์บทความและกรณีศึกษาที่มอบหมาย
ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ขอบเขต และหลักการของจิตวิทยาองค์การ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคคลเชิงพฤติกรรม เข้าใจหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทำงาน การสั่งงาน การควบคุม การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน การติดต่อสื่อสารในองค์การ การทำงานเป็นทีม กลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสุขภาพในการทำงาน ดังนี้  2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของจิตวิทยาองค์การ  การบริหารงาน กลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร  2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ทางจิตวิทยาองค์การ กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
แบบบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปราย กรณีศึกษา การแสดงบทบาทสมมติ การวิเคราะห์กรณีศึกษาและค้นคว้าบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ โดยนำมาสรุปและอธิปรายร่วมกัน มีการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) และการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem base Learning) จากสถานการณ์จำลอง เข้ารับฟังการอบรมนอกชั้นเรียนจากวิทยากร (ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการอบรมตามสมควรในแต่ละกิจกรรม)
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี  2.3.2 การนำเสนอและรายงานผลการจัดตั้งองค์กร  2.3.3 การสัมภาษณ์ผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ  2.3.4 การแสดงบทบาทสมมติการสัมภาษณ์งาน  2.3.5 การนำเสนอการทำงานเป็นทีม  2.3.6 ความสมบูรณ์ถูกต้องของงานที่มอบหมาย  2.3.7 การนำเสนอและการอภิปรายผลการศึกษาบทความและข้อมูลการบริหารงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
2.3.8 การนำเสนองานในแต่ละหัวข้อที่มอบหมาย แบบ Self report
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ  3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  การสอนวิชาจิตวิทยาองค์การ ช่วยให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์การจัดการองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรเข้าทำงาน การสั่งงาน การควบคุม การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน การติดต่อสื่อสารในองค์การ การทำงานเป็นทีม การสร้างแรงจูงใจและสิ่งล่อใจ การสร้างทัศคติที่ดีและความพึงพอใจในการทำงาน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและพัฒนาสุขภาพที่ดีในการทำงาน ดังนี้  1. ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  2. วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ  3. ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
3.2.1 การบรรยายประกอบการใช้สื่อการสอน  3.2.2 การอภิปรายกลุ่มย่อย โดยใช้กรณีศึกษาจากข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน โฆษณา และการบริหารงานขององค์กรต่างๆ  3.2.3 กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น การสัมภาษณ์งาน การทำงานเป็นทีม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน  3.2.4 กิจกรรมการจำลองการจัดตั้งองค์กรในรูปแบบต่างๆ  3.2.5 การศึกษาประสบการณ์การบริหารงานของผู้นำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
3.3.1 การสังเกต  3.3.2 การสัมภาษณ์  3.3.3 การแสดงความคิดเห็น  3.3.4 การนำเสนอและรูปเล่มรายงาน  3.3.5 การอภิปรายกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่  3.3.6 การจำลองการจัดตั้งและการบริหารองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม  3.3.7 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์  3.3.8 การซักถาม
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  4.1.2 มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่เรียนมาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  โดยการพัฒนาทักษะต่างๆ ต่อไปนี้  - การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น  - การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด  - เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม  - การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่มีประสิทธิภาพ  - จิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
4.2.1 การสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม และเปลี่ยนกลุ่มทุกครั้ง ทั้งในและนอกชั้นเรียน  4.2.2 การศึกษาสถานการณ์จำลองในการสัมภาษณ์งาน และการทำงานเป็นทีม โดยให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติใน เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน  4.2.3 กิจกรรมการจำลองการบริหารงานและทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรรูปแบบต่างๆ   
4.3.1 สังเกตความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  4.3.2 ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายและส่งตรงเวลาที่กำหนด  4.3.3 การแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลองในการแสดงบทบาทสมมติ
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  5.1.2 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  - พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ  - มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานและการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม  - พัฒนาทักษะในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน การวิเคราะห์VDO และนำเสนอในชั้นเรียน  - พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
- พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานองค์กร การเขียนประวัติส่วนตัว ทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  5.2.2 การนำเสนอรายงาน โดยใช้สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม
5.3.1 การนำเสนอผลงานและการรายงานผล โดยพิจารณาเนื้อหาและความถูกต้องของภาษาที่ใช้  5.3.2 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน  5.3.3 สื่อ รูปแบบ และเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในการนำเสนอข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1, 3.1) สอบกลางภาค 8 30%
2 หมวด 4 (2.1, 3.1) สอบปลายภาค 18 30%
3 หมวด 4 (1.1, 3.1, 4.1) การเข้าชั้นเรียน - การซักถาม - การตอบคำถาม การตั้งใจเรียน -การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม -การแสดงความคิดเห็น -ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 หมวด 4 (3.1, 4.1, 5.1) -การแสดงบทบาทสมมติการสัมภาษณ์งาน -การอภิปราย -การนำเสนอรายงาน -การวิเคราะห์กรณีศึกษา -การสัมภาษณ์ผู้นำทีประสบความสำเร็จ -การเขียนประวัติส่วนตัว -การเข้าร่วมอบรมที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 30%
กานดา จันทร์แย้ม .  จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.  กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์ , 2556 .
ชูชัย สมิทธิไกร. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพ : สำนักพิม์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (25551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน. 
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.  สมศักดิ์ ประเสริสุข. (2554). จิตวิทยาการจัดการองค์การอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.  สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.  สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.  สิริอร วิชชาวุธ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.  สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ :  ซีเอ็ดยูเคชัน. 
 ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีวิธีการดังนี้ 
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และการอภิปรายกลุ่มใน 
ชั้นเรียน  2.2 สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน  2.3 ประเมินผลจากการนำเสนอและผลงานที่ได้รับมอบหมาย  2.4 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
- ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
- กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
- การวิจัยในชั้นเรียน
- ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
- ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
- เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้  5.1 แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยผู้เรียน และคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการสอนที่ใช้ และนำเสนอต่อสาขาวิชา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยให้ข้อคิดเห็นและสรุปวางแผน พัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอต่อแผนกวิชา/สาขา/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป  5.2 วิชาจิตวิทยาองค์การ ต้องปรับปรุง เอกสาร ตำรา เนื้อหา กิจกรรมการสอน และสื่อการสอน ทุก 2 ปี เพราะปัญหาทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  5.3 เชิญวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลึกซึ้ง และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้