ศิลปะภาพพิมพ์ 2

Printmaking 2

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการทำภาพพิมพ์ด้วยกรรมวิธีแม่พิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) โดยเน้นในด้านการทดลองรูปแบบ วิธีการและความคิดสร้างสรรค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอและเข้าใจในกระบวนการภาพพิมพ์ล่องลึกรวมถึงการใช้กระบวนการภาพพิมพ์โลหะมาสร้างสรรค์และตอบรับเนื้อหา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์จากกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) โดยเน้นความพิเศษเฉพาะของเทคนิคและแนวความคิด
อาจารย์จัดตารงเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เฉพาะรายที่ต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติมหรือกรณีย์นักศึกษายังไม่เข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ในเทคนิคบางเทคนิค
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ ความมีวินัยและสร้างระเบียบในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งมีทัศนคติที่เปิดกว้าง เคารพและยอมับฟังแนวคิดของผู้อื่น  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ  รู้หน้าที่ในการทำงานของตนเอง องค์กรและสังคม  สามารถวิเคราะห์วิธีการสร้างสรรค์การทำงานศิลปะได้อย่างเข้าใจ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.บรรยายพร้อมสาธิตขั้นตอนวิธีคิดและสร้างสรรค์งานศิลปะรวมถึงการแสดงการสาธิตเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ด้วยเทคนิคต่างๆ                            

              2.อธิบายแบกลุ่มหน้าชั้นเรียนและอธิบายแบบรายบุคคล
              3.กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาตัวอย่างงานศิลปินที่เกี่ยวข้อง หรือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจใการสร้างสรรค์งานเฉพาะตน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และสร้างสรรค์งานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวความคิดในการสร้างสรรค์
3.ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาและสังเกตพฤติกรรม
4.ประเมินจากผลการดำเนินตามแผนการสอนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในทุกวิชา
 
1. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานสร้างสรรค์โดยเน้นรูปแบบและเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์โลหะและภาพพิมพ์ล่องลึก
2. มีความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลงานในเทคนิคภาพพิมพ์ร่องลึก
3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลงานศิลปะภาพพิมพ์ที่มีคุณค่าในเทคนิคภาพพิมพ์ร่องลึก
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการนำมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์โดยวิธีบรรยายและสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์ในห้องปฏิบัตกการอีกทั้งให้นักศึกษาชมวิดิโอจากศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละเทคนิคพร้อมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาสาระให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา  นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้จากสถานที่จริงด้วยการไปศึกษาดูงานผลงานศิลปินภาพพิมพ์ที่สตูดิโอหรือหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
1.ประเมินผลงานที่ปฏิบัติและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ล่องลึก
2.ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลเป็นกรณีศึกษารายบุคคล
1.สามารถค้นคว้า  รวบรวมและประเมินข้อมูลที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจอย่างเหมาะสม
2.พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และความสอดคล้องของกระบวนการคิดกับกระบวนการสร้างสรรค์
3.มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ร่องลึก
1. การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานสร้างสรรค์ที่ได้ทดลองค้นคว้าและแก้ไขปัญหาและการนำเสนอผลงาน
2. อภิปรายเดี่ยวและกลุ่มโดยร่วมแสดงความคิดเห็น
3. วิเคราะห์กรณีศึกษาในหัวข้อที่ศึกษาอย่างเหมาะสมรายบุคคล
4. สะท้อนแนวคิดจากกระบวนการต่างๆที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ
1.ประเมินผลงานตามสภาพจริงของผลงานและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ล่องลึก
2. ประเมินโครงการหรือการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างการเรียน
4.ประเมินจาการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในการเรียน
1. มีการพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2.มีการพัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
3. มีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
กลยุทย์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิชอบดังนี้
1. จัดกิจกรรมกลุ่มสอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์และการีมายาทสังคม
2.มอบหมายงานการค้นคว้าหาข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานตามแต่หัวข้อที่นำเสนอและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อฝึกทักษะการแสดงความคิดเห็นและการเคารพในความเห็นที่แตกต่างตลอดจนการฝึกวิพากษ์วิจารณ์งานผู้อื่นอย่างมีมารยาท
3. การนำเสนอรายงานการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งาน
1. ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการทำงานกลุ่มในห้องปฏิบัติงาน
2.ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนอผลงานพฤติกรรมการและผลงานกลุ่มในชั้นเรียน
3. ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมพิเศษอื่นๆที่กำหนดขึ้น
1. ทักษะการคิด และกำหนดหัวข้อค้นคว้างานสร้างสรรค์
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4. พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.ทักษะการใช้กระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ในการสร้างสรรค์ตามหัวข้อที่กำหนด
6. ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคนิคที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคนิค วิธีการที่เหมาะสม
1. ประเมินจากผลงาน และรูปแบบการนำเสนอ
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและวิธีการนำเสนอ
1.มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำได้อย่างถูกต้อง
2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
3.มีทักษะใการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก
1.ใช้วิธีการสอนในลักษณะการบรรยายหน้าชั้นเรียนและการสาธิตขั้นตอนการสร้าสรรค์งาน
ในแต่ละเทคนิค
2.นำเสนอวิดิโอสาธิตขั้นตอนการสร้างสรรค์จากศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเทคนิค
3.มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเทคนิคที่สนใจเป็นรายบุคคลและกลุ่ม
4.มอบหมายให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานสร้างสรรค์ตลอดภาคการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.2 4 5 6 การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 8 14 17 25% 0% 25% 0%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.2, 4.1–4.6, 5.3-5.4 6 6 ประเมินสรุปทุกชิ้นผลงาน วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งผลงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.7, 3.1 5 6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
1. ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบศิลปะ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2531
2. อิทธิพล ตั้งโฉลก.ทศวรรษภาพพิมพ์ไทย.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์คอนเทมพลัสบางกอกฟายอาร์ทเซ็นเตอร์, 2535
3. สูจิบัตรนิทรรศการศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและสากล อาทิ  สูจิบัตรนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ  สูจิบัตรนิทรรศการงานภาพพิมพ์นานาชาติจัดโดยประเทศไทยและสูจิบัตรนิทรรศการงานภาพพิมพ์นานาชาติจัดโดยประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) ในเทคนิคภาพพิมพ์โลหะกัดกรด(Etching) อาทิเช่น Hard Ground, Soft Ground, Relief,
Aquatint และ Multiple Plate เป็นต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) ในเทคนิคภาพพิมพ์โลหะกัดกรด(Etching)และเทคนิคภาพพิมพ์จารเข็ม( Dry Point) อาทิเช่น Hard Ground, Soft Ground, Relief, Aquatint และ Multiple Plate เป็นต้น
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. ผลงานการสร้างสรรค์
4. ผลความพึงพอใจของผู้เรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยสร้างสรรค์ในและนอกชั้นเรียน
3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อาทิเช่น การประกวดศิลปะภาพพิมพ์นานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และประเทศในกลุ่มยุโรป เป็นต้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.การตรวจสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2.มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ผลงานสร้างสรรค์ วิธีการให้คะแนนผลงาน และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากผลงาน และข้อมูลการค้นคว้า