การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

1. เพื่อเสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์เทคนิควิธีไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาอาชีพ
3. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษา
4. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
รายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (Life and Social Skills) เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปที่มีธรรมชาติของรายวิชามุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจชีวิตมนุษย์อย่างเชื่อมโยงหลากหลายมิติเพื่อการพัฒนาชีวิตของตนเองได้อย่างมีคุณภาพ รายวิชานี้จึงครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายนับตั้งแต่การชี้ชวนให้ผู้เรียนเริ่มรู้จักการตั้งคำถามในเชิงปรัชญา หลักการทางศาสนา ศีลธรรม รู้จักวิเคราะห์สถานภาพและบทบาททางสังคม เข้าใจการทำงานในรูปแบบองค์กร การสร้างทีมทำงาน รู้จักใช้เหตุผลเพื่อสามารถจัดการสภาวะทางอารมณ์ เข้าใจการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล วิเคราะห์แรงจูงใจของมนุษย์ และการเข้าใจเพื่อนมนุษย์ผ่านการมองเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ สิ่งเหล่านี้นับเป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยต่อไปในอนาคต การปรับปรุงเนื้อหารายวิชานี้จึงเป็นไปเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ในขณะที่ผู้คนเผชิญการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะความทันสมัยของสังคมไทยในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา การจำกัดการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้กลายเป็นเพียงมนุษย์แรงงานไม่อาจนำพาสังคมไทยก้าวไปสู่อนาคตใหม่ที่ผู้คนสามารถดำเนินชีวิตตนเองร่วมกับคนอื่นๆ ได้อย่างมีคุณภาพ รายวิชานี้จึงมีประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการสร้างบทสนทนาใหม่ว่าด้วยแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่ซับซ้อนต่อไปในอนาคต
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา และหลักธรรมในการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคล การสร้างแนวความคิดและเจตคติต่อตนเอง ธรรมะกับการสร้างคุณภาพชีวิต บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การบริหารตนเองให้เข้ากับชีวิตและสังคม การปรับตนเพื่อร่วมกิจกรรมทางสังคม ศึกษาเทคนิคการครองใจคน และการสร้างผลิตผลในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 2. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมตามแนวคิดในการศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/ CDIO :(Conceiving - Designing -Implementing –Operating) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในคิดและวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติในสภาพเงื่อนไขแวดล้อมที่เป็นจริง จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้ 1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ 4. งานที่ได้มอบหมาย 5. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 6. แฟ้มสะสมผลงาน
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี (4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (5) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม (6) มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น 1. พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 2. พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร 2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล 3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน 4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ 1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร 2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล 3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน 4. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
สำราญ จูช่วย. 2554. ตำราวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
กองบรรณาธิการ waymagazine. 2560. อยู่ด้วยกันแบบแยกกันอยู่: ความสัมพันธ์แบบใหม่ของคู่รักอายุมาก.เผยแพร่ 3 เมษายน 2560. [https://waymagazine.org/living-apart-together/]. กิตติยา โสภณโภไคย. 2553. “คุณธรรม” “จริยธรรม” และการดำรงอยู่กับสังคมประชาธิปไตย (ความหมาย และแนวคิดเชิงทฤษฎี). วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 3(2): 112- 130. คลิปภาพยนตร์ Modern times. [https://www.youtube.com/watch?v=M9aduWoffBY]. ทีมข่าวต่างประเทศ PPTV. 2558.  ทีมแพทย์อังกฤษนำทักษะทีม F1 มาช่วยชีวิตคนไข้. [ข้อมูลออนไลน์ https:// www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/28692]. [คลิปข่าว 8 มิ.ย. 2559]. [เข้าถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2561]. เนตรดาว เถาถวิล. 2556. “เกษตรอินทรีย์ ดี แต่ทำไมไม่ทำ?”. [https://prachatai.com/journal /2013/06/47011]. [เข้าถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2561]. สมบัติ กุสุมาวลี. 2012. “เศรษฐกิจสร้างสรรค์: จาก “ทุนนิยมทำลาย” สู่“ทุนนิยมสร้างสรรค์” ยุคแห่งเทคโนโลยีกับขบวนการมนุษย์นิยม”. [ข้อมูลออนไลน์ http://www.tpa.or.th/publisher/ pdfFileDownloadS/qm180_p079-80.pdf]. [เข้าถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2561]. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์. 2559. สิทธิชุมชนที่หายไปจากร่างรัฐธรรมนูญ: จุดสุดยอดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล คสช. [https://prachatai.com/journal/2016/02/64084].[เข้าถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2561]. วารุณี ภูริสินสิทธิ์. 2553. “ครอบครัว”. ตำราเรียนเรื่อง แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์.2559.  “ศาสนาในสังคมโลกสมัยใหม่”. เอกสารการสอนรายวิชา 050104 มนุษย์กับโลกสมัยใหม่ MAN AND THE MODERN WORLD. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Hess, Abigail. 2017. The science and design behind Apple's innovation-obsessed new workspace. 14 September 2017. [Online database: https://www.cnbc.com/2017/09/13/the-science-and-design-behind-apples-innovation-obsessed-new-workspace.html]. [accessed on 1 August 2018]. ThairathTV. 2558. คลิปเรื่อง “เผยภาพสำนักงานใหม่แอปเปิล” [ข้อมูลออนไลน์ https://www.youtube.com/ watch?v=XMZXW2A6VsY]. [เผยแพร่วันที่ 12 มิถุนายน 2558]. [เข้าถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2561]. J.D. Meier. 2009. “The Johari Window: Know and Share Yourself With Skill”. [Online database: http://sourcesofinsight.com/know-and-share-yourself-enough]. [accessed 5 August 2018]. Pitch. 2017.  “วิธีทำงานที่ไม่ธรรมดาของ Google…นี่แหละ! บันไดสู่ความสำเร็จ”. [https://goodlifeupdate. com/healthy-mind/inspiration/14355.html]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561]. Thecoupleconnection. 2013. “Living Apart Together - Who is living apart together?”.  คลิปเผยแพร่เมื่อ 15 พ.ค. 2013. [https://www.youtube.com/watch?v=zPRHJgjo9A0]. Voice TV. 2556. โลกนี้มีคนไม่นับถือศาสนามากแค่ไหน?.เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2556. [https://www.voicetv.co.th/read/74966]. Voice TV. 2558. คลิปลัทธิบูชาเบคอน ต้านการเหยียดผู้ไม่นับถือพระเจ้า. เผยแพร่วันที่ 21 เมษายน 2558. [http://news.voicetv.co.th/world/195444.html].