การควบคุมอัตโนมัติ

Automatic Control

1.1 รู้จักระบบควบคุมอัตโนมัติ
1.2 เข้าใจหลักการวิเคราะห์และการจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น
1.3 สามารถวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น
1.4 สามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมเชิงเส้นในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่
1.5 สามารถออกแบบและชดเชยระบบควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงาน
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของระบบควบคุมอัตโนมัติ การวิเคราะห์และการจำลองส่วนประกอบของระบบควบคุมเชิงเส้น เสถียรภาพของระบบควบคุมป้อนกลับเชิงเส้น การวิเคราะห์และออกแบบระบบในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่ การออกแบบและการชดเชยระบบควบคุม การใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทำงานของระบบควบคุม
การให้คำปรึกษาจะจัดสรรเวลาตามความต้องการของนักศึกษารายบุคคล โดยให้มีการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อให้คำปรึกษานักศึกษานอกชั่วโมงบรรยายเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
ปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการมีวินัย และตรงต่อเวลา โดยกำหนดให้มีการส่งงานมอบหมายและเข้าชั้นเรียนให้ตรงตามเวลา ปลูกฝังให้นักศึกษาเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมจากการบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ที่จะต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมอัตโนมัติ ปลูกฝังให้นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ โดยการยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับการทำงานทางวิชาชีพวิศวกรรม ฝึกให้นักศึกษาทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายโดยให้มีการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข
 

ประเมินการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้ตรงเวลาที่กำหนด ประเมินจากการแต่งกายของนักศึกษาและพฤติกรรมกลุ่มขณะอยู่ในชั้นเรียน ประเมินจากผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลจากการนำเสนองานที่มอบหมายและทัศนคติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอการแก้ไขปัญหางานที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1   บรรยายหลักการทางทฤษฎีของการควบคุมอัตโนมัติ ร่วมกับการสอดแทรกการใช้คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐานในการแก้ปัญหา รวมถึงให้มีการสอดแทรกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีการนำการควบคุมอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.2.2   บรรยายทางทฤษฎีรวมถึงแนวความคิดในการประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงหลักการและความสำคัญของระบบการควบคุมอัตโนมัติทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
2.2.3   มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้จากกระบวนวิชาอื่นที่ได้ศึกษามาแล้วเชิงวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้กับการควบคุมอัตโนมัติ
2.2.4   มอบหมายให้นักศึกษาประดิษฐ์อุปกรณ์การควบคุมอัตโนมัติขนาดเล็ก เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของระบบควบคุมอัตโนมัติ และให้สามารถแก้ไขปัญหาของระบบนั้นๆ โดยอาศัยหลักการทางทฤษฎีได้อย่างถูกต้อง
2.3.1   มีการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค สำหรับวัดความรู้ และความเข้าใจภาคทฤษฎี
2.3.2    ประเมินจากความสำเร็จของงานมอบหมายสำหรับแนวความคิดและการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงแนวความคิดการแก้ไขปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติในลักษณะ Problem-based Learning
3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3    สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  บรรยายโดยเน้นความสำคัญของการคิด วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยฝึกให้นักศึกษาได้ใช้การตัดสินใจ
3.2.2   มอบหมยให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ส่งเสริมให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงให้มีการนำเสนอผลงาน
3.2.3   สอดแทรกเทคนิคและแนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาสามารถทำการค้นคว้าด้วยตนเองได้
3.2.4   สอดแทรกเทคนิคจากการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการพิเศษ และ การนำเสนอผลงาน
3.3.3    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3   ™ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4    ˜ รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1   มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม
4.2.2   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษในรูปแบบกลุ่ม โดยให้มีการสอดแทรกการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างถูกต้อง
4.2.3   ให้นักศึกษานำเสนอโครงการพิเศษ โดยเน้นแนวคิดของการแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติในงานที่ได้นำเสนอ และกำหนดให้นักศึกษานำเสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม
4.2.4    ให้นักศึกษานำเสนอแผนงานการจัดทำโครงการพิเศษและผู้รับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน
4.3.1   ประเมินผลจากการจัดทำโครงการพิเศษและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม
4.3.2   ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการพิเศษของนักศึกษา
4.3.3    ประเมินผลจากแนวความคิดในการประยุกต์ใช้การควบคุมอัตโนมัติต่องานที่นำเสนอ และประโยชน์เชิงวิศวกรรม
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5    สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสอน เช่น การค้นหาข้อมูลที่นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน
5.2.2   สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการคำนวณ และออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติ และการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์
5.2.3    มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานประกอบโครงการพิเศษ โดยให้จัดทำและประชาสัมพันธ์งานผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ที่แสดงถึงความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหาข้อมูล
5.3.2   ประเมินจากรายงานประกอบโครงการพิเศษ ถึงความสามารถในการใช้โปรแกรมประยุกต์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 1 2 3 4 5
1 31074405 การควบคุมอัตโนมัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม การเข้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10
2 1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ การส่งงานมอบหมายตามกำหนดเวลา ความสำเร็จของงานมอบหมาย และการนำเสนองานมอบหมาย สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 16 30
3 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศษสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎี และปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรม 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 18 60
เอกสารประกอบการสอนวิชาการควบคุมอัตโนมัติ เรียบเรียงโดย ดร.ณัฐรัตน์  ปาณานนท์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา   Nise, N.S., 2008, Control Systems Engineering, John Wiley & Sons (Asia) Pte Ltd.   Golten, J. and Verwer, A., 1991, Control system design and simulation, McGraw-Hill Publishing Company, England.   Morris Driels, 1996, Linear Control Systems Engineering, McGraw-Hill, Inc, USA.   Katsuhiko Ogata, 1990, Modern Control Engineering, Prentice-Hall International, UK.   Jack Golten and Andy Verwer, 1991, Control Systems Design and Simulation, McGraw-Hill.   Richard C. Dorf and Robert H. Bishop, 2005, Modern Control Systems, Pearson Education, Inc.
การใช้โปรแกรม MatLab Simulink คู่มือการเขียนโปรแกรมสำหรับ Arduino
ระบบควบคุมระดับน้ำ ระบบควบคุมอุณหภูมิ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง โดย  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน และ  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ