การฝึกงานทางวิชาชีพ

Job Internship

จุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพ เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
- เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการบัญชีและอื่น ๆ ที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง
- เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการทำงาน
- เพื่อให้นักศึกษาฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริง
- เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
- เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยงและนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
- เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยงและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลกระบวนการการฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
เน้นการปฏิบัติงานด้านบัญชีในองค์กรต่าง ๆ เช่น นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้ายวิชาชีพ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐ นักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้น โดยมีพนักงานที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษาเพื่อการประเมินผลการศึกษา
-
(1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
(3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
(4) มีจิตสำนึกและพฤตกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
(1) จัดทำแผนปฏิบัติงานโดยการกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางวลาปฏิบัติงานและการบันทึกเวลาปฏิบัติงาน
(2) จัดทำคู่มือการฝึกงานวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
(3) จัดปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อสร้างวามเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ
(4) มีการประสานงานการควบคุมกรฝึกงานวิชาชีพระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยงซึ่งแต่งตั้งโดยสถานประกอบการ
(5) จัดให้มีอาจารย์นิเทศก์ประจำตัวนักศึกษา
(1) ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยง
(2) ประเมินตนเองโดยนักศึกษา ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม
(1) ความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
(2) ความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
(3) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
(1) ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
(2) ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาความรู้และทักษาวิชาชีพ
(1) การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง
(2) การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ จากสื่อทางออนไลน์เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
(2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
(3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
(1) มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ
(2) ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันโดยมีรายละเอียดดังนี้ งานที่ได้รับมอบหมาย ปัญหาที่เกิดจากการทำงานและแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา
(1) การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง
(2) การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านทักษะทางปัญญา
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
(3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) จัดปฐมนิเทศนักศึกษาพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ (วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณลักษณะทีดีของนักวิชาชีพบัญชีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
(3) ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1) การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง
(2) การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
(2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา หรือตามงานที่ได้รับมอบหมาย
(3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิตการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
(1) มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ
(2) ให้มีการนำเสนอรายงานด้วยวาจาโดยมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม
(1) การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC137 การฝึกงานทางวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - 1. ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงที่ปรึกษาและอาจารย์นิเทศก์นักศึกษาโดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการฝึกงานทางวิชาชีพ 2. ประเมินโดยอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงานทางวิชาชีพและรายานผลการประเมินตามที่มหาวิทยาลัย 3. สรุปผลการประเมิน ตลอดการฝึกงาน ารประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น พ.จ. หรือ S-พอใจ(Satisfactory) และ ม.จ. หรือ U-ไม่พอใจ(Unsatisfactory)
-
-
-
นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยการตอบแบบสอบถามการฝึกงานวิชาชีพ
มีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพในเองต่อไปนี้ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกงานคุณลักษณะที่เหมาะสมของนักศึกษาจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
อาจารย์นิเทศก์นักศึกษาประมวลผลการฝึกงานวิชาชีพจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษาและจากพนักงานพี่เลี้ยงจัดทำรายงานสรุปผล
ติดตามความความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
ประเมินการฝึกงานวิชาชีพโดยใช้แบบสอบถามจากบัณฑิตว่าได้ใช้ประสบการณ์จากการฝึกงานวิชาชีพให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด