ทฤษฎีการบัญชี

Accounting Theory

เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงความหมายของทฤษฎีการบัญชี ข้อสมมติฐาน แนวความคิดและหลักการบัญชีซึ่งใช้เป็นแนวทางในการตอบปัญหาต่างๆ ทางการบัญชี
เป็นรายวิชาที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ
ศึกษาลักษณะของหลักการบัญชี แนวคิดของนักบัญชีและสมาคมนักบัญชีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนวิวัฒนาการทางการบัญชี แนวคิดเกี่ยวกับการวัดผลการดำเนินงาน ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามลักษณะของธุรกิจและมาตรฐานสถาบันวิชาชีพ การวัดมูลค่าและปัญหาต่างๆ ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ตลอดจนวิธีการแสดงและเปิดเผยรายการในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ (089-6360048)
อีเมล์ yupha_pirison@hotmail.com โดยแจ้งหมายเลขและอีเมล์ให้นักศึกษาทราบ

นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม Accounting Theory (เทียบโอน),

Accounting Theory (4 ปี), หรือทาง Message Facebook
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และจิตสำนึกในการนำความรู้ด้านการประกอบธุรกิจและรูปแบบของธุรกิจไปใช้ในวิชาชีพได้อย่างมีคุณธรรม เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบวิชาชีพ ไม่คดโกงผู้อื่น โดยให้มีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติดังนี้

มีความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อตนเอง ตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเป็นผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ มีความเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น เคารพกฎระเบียบขององค์กร มีความขยัน อดทน สามัคคีกันในกลุ่ม มีความใฝ่รู้ วิเคราะห์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

มีจรรยาบรรณในวิชาชีพตนเอง
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม ซักถาม ร่วมกันสรุป

ทำกรณีศึกษา
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้ด้านการบัญชีการเงิน ดารรายงานและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านองค์กรและธุรกิจ ความรู้และความสามารถในเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นผลการเรียนรู้จึงครอบคลุมความรู้ต่อไปนี้
2.2.1. สามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎีหลักการและวิธีการทางการบัญชี
2.2.2. สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีได้อย่างเหมาะสม
2.2.3. สามารถนำเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ มาประยุกต์ใช้โดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.2.4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีการบัญชีมาตรฐานการบัญชีและการประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำนำเสนอรายงานทางการเงิน
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือแบบฝึกหัด
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.2.1 การสอนแบบการบรรยาย อภิปรายกลุ่ม
3.2.2 การสอนโดยใช้กรณีศึกษา โจทย์ปัญหา และแบบฝึกปฏิบัติ
 
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.2 วัดผลจากการค้นคว้า การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาตัวอย่างตามมาตรฐานการบัญชี ต่าง ๆ
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11011403 ทฤษฎีการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - -การเข้าชั้นเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 บทที่1-3,8-10 บทที่ 4 - 7 บทที่ 1-15 บทที่ 1-3,8-10 บทที่ 11-15 ทดสอบก่อนเรียน สอบกลางภาค แบบฝึกหัด ทดสอบหลังเรียน สอบปลายภาค 1-16 8 1-7,9-15 15 20% 25% 5% - 30%
3 กรณีศึกษาที่มอบหมาย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ ตลอดภาคการศึกษา 10%
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร, ทฤษฎีการบัญชี, 2552
ผศ.ดร.ศศิวิมล (มีอำพล)ศรีเจริญจิตร์, ทฤษฎีการบัญชี,
วารสารวิชาชีพบัญชี
วารสารวิชาชีพบัญชี-ธรรมศาสตร์
วารสารวิชาชีพบัญชี-จุฬา
วารสารวิชาชีพบัญชีจากสถาบันต่าง ๆ เพื่อเป็นการค้นคว้าแนวคิดที่ทันสมัย
รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์
[Online]. Available:http://www.fap.or.th (สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมถ์)
[Online]. Available:http://www.nukbunchee.com (นักบัญชีดอทคอม)
[Online]. Available:http://www.rd.go.th (กรมสรรพากร)
[Online]. Available:http://www.dbd.go.th (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-ไม่มี เนื่องจากเป็นรายวิชาที่ได้รับมอบหมายให้สอนเป็นครั้งแรก
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัยหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ