การจัดการเชิงกลยุทธ์

Strategic Management

เพื่อให้รู้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อเข้าใจการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อเข้าใจวิธีการกำหนดกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ เพื่อให้รู้กระบวนการควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ เพื่อประยุกต์ความรู้กับกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลองได้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการที่จะนำไปประกอบอาชีพ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
            ให้มีเนื้อหาในรายวิชามีความเหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน  
   ศึกษาแนวคิดในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ขององค์การ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์ รวมถึงแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ทันสมัย โดยกรณีศึกษาประกอบการศึกษา
 -อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดและประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทาง Facebook, E-mail, โทรศัพท์ และในชั้นเรียน
 -อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ภาวะผู้นำ และสร้างจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการเชิงกลยุทธ์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม

                       7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 สอนแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับการจัดการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กร จำนวน 1 องค์กร
1.2.3 ให้นักศึกษานำผลการวิเคราะห์จากองค์กรจริงมาอภิปรายกลุ่มและเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกัน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ประเมินผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
1.3.3   ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาได้อย่างถูกต้องตามหลักการของแนวคิดและทฤษฏี
1.3.4   พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการของทฤษฏี
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ กระบวนการของการจัดการเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้จริง
 2.2.1 สอนแบบบรรยายประกอบกับการยกตัวอย่าง
      2.2.2 ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริงขององค์กรธุรกิจ
      2.2.3 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)
    2.2.4 การศึกษาโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
 
2.3.1 ทดสอบสอบกลางภาค และ สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem–based Learning
2.3.3 พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์
     3.2.1 สอนแบบบรรยายประกอบกับการยกตัวอย่าง
      3.2.2 ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริงขององค์กรธุรกิจ
      3.2.3 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)
      3.2.4 การศึกษาโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
3.3.1   ทดสอบสอบกลางภาค และ สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
3.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem–based Learning
3.3.3 พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.1.4   ทักษะในการปฏิบัติสัมพันธ์กับบุคคล สถานภาพในสังคมระดับต่าง ๆ
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กร หรือการอ่านบทความหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.3   การนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.1   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2  ประเมินจากการอภิปรายกลุ่ม
4.3.3   ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์การคิดคำนวณ เชิงตัวเลขจากการกรณีศึกษา
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานโดยผ่านทางอีเมล์ หรือ facebook
5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 4 1 2 3 4 2 3 4 1 2 3 1 2 4 5 6
1 12011402 การจัดการเชิงกลยุทธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1,3.3.1, 4.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 25% 25%
2 1.3.2,2.3.2, 3.3.2,4.3.2, 4.3.3,5.3.1, 5.3.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้าแล้วนำเสนอการทำงานเป็นกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 2.2, 3.2, 4.2, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน และแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10% 10%
  พิบูล  ธีปะปาล. การจัดการเชิงกลยุทธ์.
  วิเชียร วิทยอุดม. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์, 2553.
    สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์บุค์เซ็นเตอร์, 2551.
    เสนาะ ติเยาว์. การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2546.
    ณัฐยา สินตระการผล. การจัดการเชิงกลยุทธ์ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2553.
    ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : วีพริ้นท์(1991), 2552.
website Utube
     การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน


- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - สังเกตเกณฑ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - ข้อเสนอแนะผ่านออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นกลุ่มรายวิชาเป็นช่องทางสำหรับการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาที่เรียน
      ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

รายงานผลการค้นคว้าจากงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและการตอบคำถามของนักศึกษา


การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
      หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์ การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
      ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด ทบทวนรายงานกลุ่มว่ามีความเหมาะสม คุณประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองภายหลังจบการศึกษาไปแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
 จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดรายวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง