การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี วิวัฒนาการทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี ความสำคัญของการบัญชีต่อการประกอบธุรกิจ แม่บทการบัญชีและงบการเงิน
        1.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์รายการค้า วิธีการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ และกระบวนการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชี
        1.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถ จัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ งบการเงิน สำหรับกิจการให้บริการ และซื้อขายสินค้าได้
        1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการบัญชีส่วนของเจ้าของ สมุดรายวันเฉพาะ การบัญชีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และหลักการวิธีการเกี่ยวกับระบบใบสำคัญ
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการจัดทำบัญชี การจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย
2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.3 เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับการประกาศใช้ตามมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี
ศึกษาและปฏิบัติความหมาย วัตถุประสงค์วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาการให้คำปรึกษา โดยประมาณ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม Introduction Accounting หรือทาง Message Facebook
(1) ให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม
(2) ให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
(3) ให้นักศึกษามีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและสังคม
(4) ให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(5) ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในวิชาชีพบัญชี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
(6) ให้นักศึกษาสามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
(7) ให้นักศึกษามีจิตสำนึกและมีพฤติกรรมที่ดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
(1) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
(2) สอนแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักบัญชี และการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
(3) กำหนดให้นักศึกษาทำงานและทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่มเพื่อให้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และกำหนดให้ทำงานเป็นรายบุคคลเพื่อให้รับผิดชอบตัวเองได้
(4) สอดแทรกระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย และการปฏิบัติตนของนักศึกษาต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจารย์ และบุคคลอื่นที่นักศึกษาเกี่ยวข้อง
(5) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการอภิปราย เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสนใจเรียนรู้และสนุกกับการเรียน
(1) สังเกตจากพฤติกรรมในการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
(2) พิจารณาจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตรงตามเวลาและเป็นไปตามที่ผู้สอนกำหนด
(3) ประเมินผลจากความเอาใจใส่ในการเรียนและตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง
(4) ประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตัวในชั้นเรียน ได้แก่ การแต่งกาย การตรงต่อเวลา การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การทำงานเป็นกลุ่ม ความกล้าแสดงออก และความตั้งใจเรียน
(1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี วิวัฒนาการและจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี ความสำคัญของการบัญชีต่อการประกอบธุรกิจ รูปแบบต่างๆ แม่บทการบัญชีและงบการเงิน การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ กระบวนการบันทึกบัญชีตามวงจรการบัญชี การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ การจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการให้บริการและซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ สมุดรายวันเฉพาะ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรมและหลักการวิธีการเกี่ยวกับระบบใบสำคัญ
(2) มีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
(3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและด้านอื่นๆ โดยใช้วิธีเรียนรู้จากประสบการณ์
(4) ผู้เรียนสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ
(1) การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและมุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานได้จริงจากการเรียนรู้
(2) การเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นวิธีการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ จากการสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต
(3) การสอนแบบบรรยายและอภิปราย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน มุ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม ให้คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้และจำเป็นต่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก
(1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
(2) ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาพิเศษ
(3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทั้งการถามตอบในชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัด
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาได้
(2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาและสามารถเสนอแนะแนวคิดในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
(3) สามารถติดตาม ประเมินผล รายงานผลการติดสินใจได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
(4) สามารถอ่านและอธิบายฐานะการเงิน ผลประกอบการของธุรกิจหลากหลายประเภทได้
(5) สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านการเงินและการรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชีตามที่มาตรฐานการบัญชีได้กำหนด
(1) การบรรยาย การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และการถามตอบในชั้นเรียน
(2) เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(3) การฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษารู้จักแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่ผู้สอนกำหนด
(1) การส่งการบ้านแบบฝึกหัดจากหนังสือ แบบฝึกหัดพิเศษ และงานที่มอบหมาย
(2) การสอบวัดผลในรายวิชา
(3) การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
(2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานของนักศึกษา
(2) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม เช่น การส่งงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การแสดงออกต่อเพื่อนร่วมกลุ่มและเพื่อนในชั้นเรียน เป็นต้น
(1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีการนำเสนอที่เหมาะสมตามงานที่ได้รับมอบหมาย
(2) สามารถใช้ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
(3) พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
(4) มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ เช่น การสอบถามทางอีเมล การติดต่อสื่อสารผ่านเฟสบุ๊ค และการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
(1) มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น โดยมอบหมายในเรื่อง วิวัฒนาการและจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี ความสำคัญของการบัญชีต่อการประกอบธุรกิจ รูปแบบต่างๆ แม่บทการบัญชี และงบการเงินของกิจการ บริการ ซื้อขายสินค้า และอุตสาหกรรม ที่เผยแพร่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต พร้อมจัดทำสื่อประกอบการรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
(2) จัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินผลงานจากสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย
(2) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและการอภิปรายผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11011104 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 -การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1,2,3,4,5 งานที่มอบหมาย (รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน) 2 10%
3 2,3,5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 5 20%
4 2,3,5 สอบกลางภาค 9 20%
5 2,3,5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 11 20%
6 2,3,5 สอบปลายภาค 18 20%
การบัญชีขั้นต้น โดย รศ.ธารี หิรัญรัศมี และคณะ (ปรับปรุงตามมาตรฐานการบัญชีใหม่ที่บังคับใช้ล่าสุด)
2.1 มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2558 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) เริ่มปฏิบัติใช้ 1 มกราคม 2559
2.2 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (TAS 1)
2.3 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ (TAS 2)
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่
เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th
เว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
          2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
          2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
          2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
          2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
          3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่าง ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
          3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
          4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
          4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
          5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น
                    5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี (เพิ่มเติมตัวอย่างที่ทันสมัยให้มากขึ้น)