การบริหารจัดการชั้นเรียนอาชีวศึกษา

Vocational Classroom Management

1.1. ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา
     1.2. วิเคราะห์แยกแยะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบได้
     1.3. เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร
     1.4. เข้าใจความร่วมงานกับผู้อื่นมีมนุษย์สัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารในองค์กร
     1.5. เข้าใจการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้
     1.6. เข้าใจภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม
     1.7. ปฏิบัติการและจัดโครงการวิชาการและฝึกวิชาชีพได้
     1.8. จัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนได้
     1.9. เห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียนอาชีวศึกษา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการบริหารการศึกษา การคิดอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรต่างๆเพื่อปรับใช้ในการเรียนการสอน สร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเรียน ดำเนินการจัดโครงการวิชาการและการฝึกวิชาชีพ การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมกิจกรรมความเป็นครู รวมทั้งรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้กับสถานประกอบการตลอดจนถึงสถานศึกษาในสังกัด
     ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มนุษย์สัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารในองค์กร การบริหารจัดการในชั้นเรียน ภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม การจัดโครงการวิชาการและการฝึกวิชาชีพ การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและห้องพักครู
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดัง
1.1.1   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้และเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา การคิดอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มนุษย์สัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารในองค์กร การบริหารจัดการในชั้นเรียน ภาวะผู้นำทางการศึกษา การทำงานเป็นทีม การจัดโครงการวิชาการและการฝึกวิชาชีพ การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
บรรยาย อภิปราย การทำรายงานและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อแบ่งบทบาทและหน้าที่ในการทำงานเป็นกลุ่ม และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจหลักการ เรียนรู้อย่างเป็นระบบ และสภาวะต่อการเป็นผู้นำ
2.3.2   ประเมินจากการรายงาน
2.3.3   ประเมินด้านการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนในสภาวะต่อการเป็นผู้นำที่ดี
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี สอดแทรกความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวของสมาชิกภายในกลุ่มของนักศึกษา ความอดทน ความเสียสละ
3.2.1 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นในมุมมองผู้นำในสถานการณ์ต่างๆในชั้นเรียน
3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการบริหารหน้าชั้นเรียน การทำงานขององค์กรและในองค์การของหน่วยงานต่างๆ
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   วัดผลจากการคิด วิเคราะห์ การร่วมการแก้ไขปัญหา
3.3.5   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.1.4   พัฒนาการเรียนรู้ทางจิตวิทยาร่วมกับผู้อื่นในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชา อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
 
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าในกลุ่ม จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.3   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.4   สืบหาและปัญหาที่เกิดจากชุมชนร่วมการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
5.3.3   ประเมินผลจากผลงานที่นักศึกษาได้จัดทำและแก้ไขปัญหา
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.2.6 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 30023313 การบริหารจัดการชั้นเรียนอาชีวศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6,1.2,2.1,2.2, 3.2, 5.1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 9 13 17 25% 10% 25%
2 1.3, 2.3, 5.1, การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.4, 4.1,4.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การพัฒนาทักษะความคิด. 2550. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก http://advisor.anamai.moph.go.th/download/think02.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. การพัฒนาศักยภาพการคิดของผู้เรียน. 2550. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก www.arkson.com.
http://student.nu.ac.th/learn/Lesson%206.htm
http://www.hrcenter.co.th/webboard/Show_Topic.asp?ID_Topic=2159
เสาวภา ทศพร้อม. การจัดการในชั้นเรียน. (2553). นครศรีธรรมราช :
http://saowapa5011103035.blogspot.com. http://saowapa5011103035.blogspot.com.
สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2553,
บวร เทศารินทร์. การจัดบรรยากาศชั้นเรียน 2. (2552). กรุงเทพฯ : http://www.sobkroo.com.
สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2553, จาก http://www.sobkroo.com/main10.php
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. บทบาทครูในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้. (2552). กรุงเทพฯ :
http://www.poonyarit.com. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2553,
http://www.poonyarit.com/?p=288
สุภาวรรณ. การบริหารจัดการในชั้นเรียน. (2552). กรุงเทพฯ : http://socialscience.igetweb.com.
สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2553, จาก http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=100359
สานักงานเขตพื้นการศึกษาสระแก้ว เขต 1. การบริหารจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก
ตามแนวทางของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สระแก้ว : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา, 2551.สานักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น. (มปป.).กรุงเทพฯ : http://area.obec.go.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2553,
จาก http://area.obec.go.th/mukdahan1/web/news_file/p62954390746.docมปช. บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา. สิงห์บุรี : http://gotoknow.org. สืบค้นเมื่อ24 เมษายน 2553, จาก http://gotoknow.org/blog/chotiros1
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1.1      การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2      แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนในแต่ละครั้งมาปรับปรุงแผนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4