เศรษฐศาสตร์จุลภาค

Microeconomics

1.  วัตถุประสงค์ของรายวิชา   :  เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หน้าที่และบทบาทของหน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งทฤษฎีอรรถประโยชน์และเส้นความพอใจเท่ากัน ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมในตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์
1.3  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ปรับตัวเข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการทำงานและการประกอบอาชีพ
1.5  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดความรู้ในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น อีกทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ถูกนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ มากมาย ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และอื่นๆ ดังนั้นในภาคการศึกษาซึ่งมีการสอนให้ใช้เทคโนโลยี อีกทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งหลักสูตรที่ใช้นั้นจำเป็นต้องพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับและสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการให้มีความรู้ ความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เพียงพอแก่การทำงาน มีความริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีคุณภาพสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติการที่มีความซื่อสัตย์ อดทน มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
 ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ หน้าที่และบทบาทของหน่วยธุรกิจในระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในด้านอุปสงค์ อุปทาน ภาวะดุลยภาพ ความยืดหยุ่น การแทรกแซงราคาของรัฐบาล ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งทฤษฎีอรรถประโยชน์และเส้นความพอใจเท่ากัน ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตและอุตสาหกรรมในตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
2
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
  ˜1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
 ™1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
 ™1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
 ˜1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
 ˜1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
1.อาจารย์ที่สอนทุกรายวิชาในหลักสูตรการตลาด สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
2.ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
3.จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.ประเมินจากการสอบ/แบบทดสอบ
2.ประเมินจากการขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
3. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการของนักศึกษา
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
™2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์
˜2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
˜2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1.ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.มอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.นักศึกษาทุกคนศึกษาประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบการโดยผ่านการฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน
1.ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินผลงานและการปฏิบัติการ
2.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
3.ผลการฝึกประสบการณ์จากสถานประกอบการ ทั้งสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
™3.1 มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
˜3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
™3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
˜3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์  
 
.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์ 
1.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.ประเมินจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.ประเมินจากผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง
4.  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
 ˜4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
 ˜4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
 ˜4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
 ™4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1.กำหนดการทำงานกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2.ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
3.ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแบบระดมสมอง เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิ และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2.ประเมินพฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
3.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4.ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะตามลักษณะงาน
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
™5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
™5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
˜5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
™5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
˜5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
™5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1.ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนพื้นฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
2.การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในการงานที่ได้รับมอบหมาย
3.ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1. ประเมินจากผลงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
2.ประเมินผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายแต่ละบุคคล
3.ประเมินทักษะการสื่อสารด้วยภาษา จากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.4, 1.5, 2.1, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 4.3, 5.3, 5.4, 5.6 การสอบกลางภาค บทที่ 1-5 9 30%
2 1.1, 1.4, 1.5, 2.1, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 4.3, 5.3, 5.4, 5.6 การสอบปลายภาค บทที่ 6-12 17 30%
3 1.1, 1.4, 1.5, 2.1, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 4.3, 5.3, 5.4, 5.6 งานที่มอบหมาย (แบบฝึกหัด) งานที่มอบหมาย (รายงาน) 1-8, 10-16 10% 20%
4 1.1, 1.4, 1.5, 2.1, 2.3, 2.4, 3.2, 3.4, 4.1, 4.2, 4.3, 5.3, 5.4, 5.6 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10%
ชุติสร แก้วบรรจง. 2558. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค    น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
ไชยแสนสุข. (2545). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ชุมพร สมร่าง. (2543). เศรษฐศาสตร์จุลภาควิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส. เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2541). หลักเศรษฐศาสตร์ 1. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2548). หลักเศรษฐศาสตร์ I: จุลเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2545). เศรษฐศาสตร์จุลภาค. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. ปรีดา นาคเนาวทิม. (2540). เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ประพันธ์ เศวตนันท์ และไพศาล เล็กอุทัย. (2540). หลักเศรษฐศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภราดร ปรีดาศักดิ์.(2549). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2538). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ____________________. (2543). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Andreu Mas-Colell, Michael D. Whonston and Jerry r. Green. (1995). Microeconomics Theory. New York: Oxford University Press. Lipsey, R.G.,Steiner, P.O. and Purvis, D.P (1996).  Economics, 11th ed. Collins College. Mankiw, N.G. (2004). Principles of Economics, 3rd ed. Thomson, South-Westem. Parkin, Micheal. (1996). Microeconomics. 3th ed. New York: Addition – Wesley Publishing Company. Pindyck, R.S. and Rubinfeld, D.L. (2005). Microeconomics. 6th ed. Pearson Education, Inc. Ruffin, R.J. and Gregory, P.R. (2001). 7th ed. Principles of Economics. Addison Wesley.
1.1  อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาเสนอแนะการเรียนการสอนในรายวิชานี้ เขียนลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
1.2  ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
2.1  ผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
3.1  แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินผู้สอนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
3.2  แก้ไขข้อบกพร่องจากข้อเสนอแนะจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาในชั้นเรียน
3.3  การทำวิจัยในชั้นเรียน (ถ้ามี)
4.1  ทวนสอบคะแนนสอบของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน
    4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษาตามจุดประสงค์การสอนแต่ละหน่วยเรียน
5.1  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินผู้สอน จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ดำเนินการประเมินโดย มทร.ล้านนา น่าน
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)