หัตถกรรมเครื่องเงินและเครื่องทอง

Gold and Silverware Craft

        1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินและเครื่องทองของไทย
        1.2  รู้และเข้าใจรูปแบบของเครื่องประดับและเครื่องใช้ในยุคสมัยต่างๆ 
        1.3  ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน และเครื่องทอง ได้อย่างสวยงาม
        1.4 สามารถนำรูปแบบ ลวดลาย และวิธีการผลิตหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ไปประยุกต์ใช้ในงานเครื่องประดับให้สวยงามและเหมาะสม
        1.5 มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาในการทำเครื่องเงินและเครื่องทองของไทย 
เพื่อให้เนื้อหาของรายวิชามีความเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน และเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานและเตรียมความพร้อมในการศึกษารายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเครื่องเงิน และเครื่องทองของไทย ทั้งเครื่องประดับและเครื่องใช้ในยุคสมัยต่างๆ  คุณค่าด้านภูมิปัญญาในการทำเครื่องเงินและเครื่องทอง  การผลิตเครื่องเงินและเครื่องทองที่สอดคล้องตามรูปแบบและกระบวนการผลิตของท้องถิ่นต่างๆ
 
3.1 อาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
3.2 อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร คือ
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
       บรรยายและสอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทางด้านหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้ยังกำหนดให้นักศึกษา ศึกษาเนื้อหานอกชั้นเรียนหรือนอกสถานที่ เกี่ยวกับเครื่องเงิน เครื่องทอง เพื่อสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีต่องานหัตถกรรม
การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาขณะอยู่ในชั้นเรียนและปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
     2.1.1 มีความรู้และความเข้าทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติทางด้านหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ที่ศึกษา
บรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เกี่ยวกับความรู้ด้านประเภท ชนิดของเครื่องเงิน เครื่องทอง คุณค่าของเครื่องเงิน เครื่องทองของไทยที่เป็นมรดกสำคัญของวัฒนธรรมไทย
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค และงานศึกษาค้นคว้า
2.3.2 การซักถามและการอภิปรายของผู้เรียนในเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง จากการศึกษาค้นคว้า
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
      3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ หัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง
     สอนแบบบรรยาย แล้วให้นักศึกษาค้นคว้าทำรายงานย่อย  และสอนแบบสาธิตเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้ยังสอนแบบสถานการณ์จริงโดยนำนักศึกษาศึกษาดูผลงานหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกสถานที่
3.3.1   การทดสอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่เน้นการประยุกต์ใช้
3.3.2  ตรวจผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน เครื่องทอง
3.3.3   ตรวจผลงานศึกษาค้นคว้า หรือรายงานย่อย
4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
         การสอนแบบบรรยาย แล้วให้นักศึกษาค้นคว้าเนื้อหาและทำงานเป็นกลุ่ม เกี่ยวกับหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ทั้งจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารและแหล่งข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
      ประเมินจากคุณภาพผลงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ด้านต่างๆระหว่างเพื่อนในกลุ่ม และระหว่างบุคคลภายนอก
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ด้วยเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   สอนแบบบรรยายแล้วมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   สอนแบบบรรยาย และมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเกี่ยวกับหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง จากเอกสาร หนังสือ และเว็ปไซด์ต่างประเทศ เพื่อแปลความ แล้วทำรายงานย่อย  จากนั้นให้นำเสนอ หรืออภิปรายร่วมกันโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินผลจากผลงานศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายเนื้อหา การแปลความที่ถูกต้อง และวิธีการอภิปรายด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสม
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 43043043 หัตถกรรมเครื่องเงินและเครื่องทอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 และ 10 ร้อยละ 15 ร้อยละ 15
2 3.1 , 4.1 และ 5.1 -การปฏิบัติงานออกแบบ และการศึกษาค้นคว้า -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - การวิเคราะห์ การศึกษาค้นคว้า และนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 60
3 1.1 การเข้าชั้นเรียน / ความตั้งใจ -ความรับผิดชอบ -การแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
1.1 กรมศิลปากร. ศิลปะแห่งราชธานีกรุงศรีอยุธยา. สมุดบันทึกประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๙.กรุงเทพฯ : มปป.
1.2 โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย. เครื่องทองรัตนโกสินทร์ .พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, 2555.
1.3 เครื่องทองและเครื่องเงิน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2526.
1.4 ธีรชัย จันทรังษี. เครื่องถมไทย : ความหมาย ประวัติประเภท ขั้นตอนการผลิต(ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.sookjai.com/index.php?topic=54857.0;wap2
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำหัตถกรรมเครื่องเงินและเครื่องทอง
3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเงิน เครื่องทอง รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับเครื่องเงิน เครื่องทอง
ของไทย
3.2 ข้อมูลจากสถานที่จริง เช่น สถานประกอบการ โบราณสถาน ศาสนสถานต่างๆ
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้คือ
1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผลผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
2.2 การอภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4 การตรวจผลงานจากผลการปฏิบัติงานออกแบบหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องทอง ของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1ทบทวนเนื้อหา และวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์กำหนด
3.2 หาแนวทาง และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนนักศึกษาตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
4.2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน
4.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของนักศึกษาและผลงานตามที่มอบหมาย
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 การประชุมกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา