วีดีทัศน์และโทรทัศน์เบื้องต้น

Introduction to Video and Television

 1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ และหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับงานวีดิทัศน์และโทรทัศน์เบื้องต้น ขั้นตอนการผลิตรายการ การสื่อความหมายด้วยภาพ การเขียนบทโทรทัศน์
1.2 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยวางแผนปฏิบัติงานและกำหนดกรอบแนวคิดในการทำงานตามสภาพปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ 
1.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1.4 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ หรือภาษาอื่นๆที่สามารถเข้าใจได้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 นักศึกษาตระหนักถึงความมีวินัย  ขยัน  อดทน  ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพออกแบบสื่อสาร
          ปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับและมีความทันสมัยเท่าทันเทคโนโลยีสื่อในปัจจุบัน และนำข้อมูลจากการผลสอบของนักศึกษา และผลการประเมินผลการสอน มาปรับปรุงในการสอนในครั้งต่อไป
        ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับพัฒนาการของโทรทัศน์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวีดิทัศน์และโทรทัศน์         ขั้นตอนในการผลิตรายการโทรทัศน์ การสื่อความหมายด้วยภาพในเรื่องของระยะภาพ   มุมกล้อง  การเคลื่อนที่กล้องและการเปลี่ยนภาพ  การเขียนบทโทรทัศน์  การทำแบบร่างสำหรับการถ่ายทำ
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียนของนักศึกษาผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพออกแบบสื่อสาร
1.1.2 มีวินัย  ขยัน  อดทน  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ในประเด็นทางจรรยาบรรณและสอดแทรกจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับรายการโทรทัศน์และวีดิทัศน์ ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นเรื่องการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยฝึกให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำกลุ่มและเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี
1.3.1   จากผลงานปฏิบัติและการรายงานหน้าห้อง
1.3.2   ประเมินจากความตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมายที่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.3   การเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดที่มอบหมาย
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับงานวีดิทัศน์และโทรทัศน์เบื้องต้น
2.1.2   สามารถบูรณาการความรู้ศาสตร์สาขาวิชาออกแบบสื่อสารกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.1  บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียนpowerpoint และวีดีโอตัวอย่างต่างๆ และการถามตอบกับนักศึกษา
2.2.2  สาธิตและนักศึกษาฝึกปฏิบัติทั้งในห้องสตูดิโอและนอกสถานที่
2.2.3  มอบหมายการทำงานเป็นกลุ่ม และให้การอภิปรายผลงาน โดยสื่อให้เห็นถึงการนำความรู้จากหลากหลายศาสตร์ไปการประยุกต์ใช้
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2.3.2  งานปฏิบัติภายในชั้นเรียน
2.3.3  ประสิทธิผลของการค้นคว้า การสรุปและนำเสนอรายงาน
3.1.1 สามารถวางแผนปฏิบัติงานและกำหนดกรอบแนวคิดในการทำงานตามสภาพปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติจากงานที่มอบหมายในหัวข้อที่กำหนดให้ตามขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์
3.2.2 นักศึกษาสรุปผลการปฏิบัติงาน ทำการอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค พร้อมการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะในการทำงาน
3.3.1  ปฏิบัติงานถูกต้องตามขั้นตอน
3.3.2  รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานพร้อมข้อเสนอแนะ
4.1.1   สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1   สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน และยกตัวอย่างกรณีข้อขัดแย้งต่างๆ ของปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาการทำงาน
4.2.2   ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยให้รายงานผลการประชุมและผลการดำเนินงานเป็นระยะ
4.2.3   ให้นักศึกษาอภิปรายผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคในการทำงานทีละกลุ่ม  และเปิดโอกาสในเพื่อนในห้อง ซักถามตอบและเสนอข้อคิดเห็นในการทำงาน
4.3.1  การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน
4.3.2  พฤติกรรมในชั้นและการทำกิจกรรมกลุ่มจากภาพเบื้องหลังการทำงาน
4.3.3  การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1   สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ หรือภาษาอื่นๆที่สามารถเข้าใจได้ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากหนังสือในห้องสมุดทั้งทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   บรรยาย อภิปราย และสาธิตการนำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น หากเป็นการประกวดส่งต่างประเทศ ต้องมีการทำบทบรรยายภาษาไทย-อังกฤษกำกับในงาน
5.3.1  ความถูกต้องของการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบทงาน ตามกาลเทศะที่เหมาะสม
5.3.2  การจัดทำรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 1 1
1 43010204 วีดีทัศน์และโทรทัศน์เบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑(๑) - ๑(๔) การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิงข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา ๑๐
2 ๑(๒), ๑(๔), ๒(๒), ๒(๓), ๓(๑), ๓(๒) ๔(๑), ๕(๑) ,๕(๒) ผลงานรายบุคคล (แบบฝึกหัด) ๒-๑๕ ๑๐
3 ๑(๒), ๑(๔), ๒(๒), ๒(๓), ๓(๑), ๓(๒) ๔(๑) - ๔(๔) ๕(๑) - ๕(๓) ผลงานกลุ่ม (แบบฝึกหัด โครงงาน) ๒-๑๕ ๓๐
4 ๑(๔), ๕(๑), ๕(๓) การนำเสนอ ๒-๑๖ ๑๐
5 ๑(๒), ๑(๓) ๒(๑) - ๒(๓) ๓(๑) - ๓(๒) ๕(๒) , ๕(๓) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การสอบปฎิบัติ ๙ ๑๘ ๖,๑๖ ๑๕ ๑๕ ๑๐
ทวีป สันติอาภรณ์. วีดิทัศน์และโทรทัศน์เบื้องต้น. เอกสารการสอน สาขาการออกแบบ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ธีรภาพ โลหิตกุล. กว่าจะเป็นสารคดี. พิมพ์ครั้งที่ 5 : สำนักพิมพ์อ่านเอาเรื่อง. 2552 วิภา  อุดมฉันท์ (แปลและเรียบเรียง). การผลิตสื่อโทรทัศน์และวีดิทัศน์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2538 องอาจ สิงห์ลำพอง. กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา. 2557 อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 เอกธิดา เสริมทอง. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2552 Herbert Zettl. Television Productiom Handbook + Workbook. 11th edition: Wadsworth Cengage Learning. 2012
จันทร์ฉาย  เตมิยาคาร. การผลิตรายการโทรทัศน์. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์. 2532 เจน สงสมพันธุ์ และ วัลลภ ช่วงโชติ. ระบบภาพ video system. สถาบันอิเล็กทรอนิกส์กรุงเทพรังสิต. 2551 จิราภรณ์  สุวรรณวาจกกสิกิจ. เทคนิคการจัดรายการประเภทต่างๆ. เอกสารตำราประกอบการอบรมผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับต้น. กสทช.ร่วมกับ MCOT ACADEMY. 2556 ดิเรก  วงษ์วานิช. คู่มือ+เทคนิคการทำ Video CD คุณภาพสูง. บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด. 2546 ถิรนันท์  อนวัชศิริวงค์. บทโทรทัศน์เขียนอย่างไรให้เป็นมือโปร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ธีรารักษ์  โพธิสุวรรณ. คุณธรรม จริยธรรมและความน่าเชื่อถือของสื่อ. เอกสารตำราประกอบการอบรมผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับต้น. กสทช.ร่วมกับ MCOT ACADEMY. 2556 นิธินันท์ ยอแสงรัตน์. จรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อพึงมี. เอกสารการอบรมโครงการพัฒนาผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่นและภูมิภาคและผลิตรายการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน และครอบครัวให้เกิดการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค. จัดทำโดยมูลนิธิสำรวจโลก. 2557 นิวัฒน์  ศรีสัมมาชีพ. คิดและเขียนให้เป็นบทภาพยนตร์. บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด มหาชน. 2551 นิวัฒน์  ศรีสัมมาชีพ. Action and Cut. บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด มหาชน. 2555 สมบัติ ลีลาพตะ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. เอกสารตำราประกอบการอบรมผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ระดับต้น. กสทช.ร่วมกับ MCOT ACADEMY. 2556 Jeff Foster. The green screen handbook :real-world production techniques . Wiley Publishing, Inc. 2010 Jeremy Hanke & Michele Yamazaki. Greenscreen Made Easy. 3rd edition: Sheridan Books, Inc. 2011 Jerry Holway & Laurie Hayball. The Steadicam Operator’s Handbook. 2nd edition: Focal Press.  2013 Ric Viers. The Location Sound Bible. Michel Wiese Productions. 2012 Sheila Curran Bernard. Documentary Story Telling. 3rd edition: Focal Press. 2011

Online resources:

https://vimeo.com/ http://www.fubiz.net/en/ http://nofilmschool.com/ https://www.facebook.com/AppleFinalCutStudio.Thailand
กรกช  อัตตวิริยะนุภาพ. ภาพยนตร์เยอร์มัน ค.ศ. 1895-2011. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. 2555 ดวงธิดา  นครสันติภาพ. กบ- ON-AIR.  โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. 2550 นรินทร์  นำเจริญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549 บุญรักษ์  บุญญะเขตมาลา. โรงงานแห่งความฝัน สู่การวิจารณ์ภาพยนตร์สำนักบริบท. สำนักพิมพ์  พับลิค  บุเคอรี. 2552 บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. ศิลปะแขนงที่ 7 เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 : สำนักพิมพ์พับลิค บุเคอรี. 2552 วรวรรธน์  ศรียาภัย. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555 Adam Juniper & David Newtown. 101 Top Tips for DSLR Video. Wiley Publishing, Inc. 2011 Barry Andersson and Janie L.Geyen . The DSLR FILMMAKER’S Handbook. John Wiley& Sons, Inc., 2012 Ben Long/ Sonja Schenk. The Digital filmmaking Handbook. 3rd edition: Thomson Delmar Learning. 2006 Ben Waggoner. Compression for Great Video and Audio. 2nd edition. Focal Press. 2010 Blain Brown. Cinematography theory and Practice. 2nd edition: Focal Press. 2012 Gretchen Davis + Mindy Hall. The Makeup Artist Handbook. 2nd edition: Focal Press. 2012 Gustavo  Mercado. The filmmaker’s eye. Focal Press. 2013 Ken Dancyger & Jeff Rush. Alternative Script writing Beyond the Hollywood formular Focal Press. 2013 Kurt Lancaster. DSLR CINEMA crafting the film look with large sensor video camera. 2nd edition: Focal Press. 2013 Mel Helitzer. Comedy Writing secrets. 2nd edition: Writer’s Digest Books. 2005 Richard Harrington. Creating DSLR Video From Snapshot to Great Shots. Peachpit Press. 2012 Roy Thompson & Christopher J. Bowen. Grammar of the shot. 2nd edition: Focal Press. 2009 Steve Stockman.  How to shoot video that doesn’t suck. Workman Publishing Company, Inc. 2011 Todd Debreceni. Special Makeup Effects for stage and screen. Focal Press. 2009
๑.๑   ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๑.๒   ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
๒.๑   ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑
๒.๒   สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน(โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

๒.๓   ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
๓.๑   ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
๓.๒   ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการประเมินการสอน บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา  เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล