ชลศาสตร์

Hydraulics

เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายคุณสมบัติของของไหลสถิต จลน์ศาสตร์ของการไหล  สามารถคำนวณสมการการไหลต่อเนื่อง  สมการพลังงานของการไหลแบบคงที่โมเมนตัมและแรงเนื่องจากการไหล  สามารถวิเคราะห์เชิงมิติ ความคล้ายคลึง การไหลของของไหลแบบอัดตัวไม่ได้ในท่อ  และการไหลในทางน้ำเปิด  เข้าใจหลักการวัดค่าจากการไหล การไหลไม่คงที่ของของไหล
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้   ความเข้าใจ  ในการคุณสมบัติของของไหล สมการที่เกี่ยวข้องกับการไหล เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของของไหลสถิต พลศาสตร์ของของไหล สมการการไหลต่อเนื่อง  สมการพลังงานของการไหลแบบคงที่ โมเมนตัมและแรงเนื่องจากการไหล  การวิเคราะห์มิติและความคล้ายคลึง การไหลของของไหลแบบอัดตัวไม่ได้ในท่อ การไหลในทางน้ำเปิด  การวัดค่าจากการไหลแบบไม่คงที่ของของไหล
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-  อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน และผ่าน e-learning : http://elearning.rmutl.ac.th/main/
 -  นักศึกษาสอบถามได้ในห้องเรียน  นอกเวลาเรียนที่ห้องพักอาจารย์  ถามทาง email : jonote2mail@gmail.com  หรือ facebook : jo_pradit@facebook.com และ เพจ facebook : Hydraulics RMUTL
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นวิศวกรโยธาจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นในงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 3 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ            ต่าง  ๆ

มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กำหนดให้นักศึกษา อยู่กฎระเบียบของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม สอดแทรกคำสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษา มีความซื่อสัตย์ ต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเช่นการยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ การพานักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม ให้นักศึกษารู้จักการเสียสละเพื่อสังคม สอดแทรกคำสอนที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณของวิศวกร ที่พึ่งปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพการเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีคุณธรรมจริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังหัวข้อต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาใน งานจริงได้
2.2.1 เน้นการสอนด้านหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ ด้านชลศาสตร์ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2.2.2 สอดแทรกการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาบรรยาย ถึงประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้อง
2.2.3 สอดแทรกเนื้อที่เกี่ยวกับวิชา ชลศาสตร์ ที่เป็นปัญหาในการทำงานจริง รวมถึงข้อผิดพลาด และผลเสียจากความผิดพลาดนั้น
2.2.4 สอดแทรกประสบการณ์จาก งานวิจัยที่นำความรู้ด้านนี้ไปใช้ประโยชน์
2.2.5 มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อ จบการศึกษาเเล้ว  ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ในสาขาวิศวกรรมโยธา  ในการสอนอาจารย์จะต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ
 

สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์หาคำตอบแต่ละสถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่มสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา การนำเสนอรายงาน
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGCV601 ชลศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.1.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 5%
2 2.2.1.2, 2.2.1.3 , 2.2.1.4 สอบกลางภาค 9 35%
3 2.2.1.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 12 5%
4 2.2.1.2, 2.2.1.3, 2.2.1.4 สอบปลายภาค 17 35%
5 2.3, 2.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
6 2.1.1.1, 2.1.1.2, 2.1.1.3, 2.1.1.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชื่อหนังสือ “ชลศาสตร์” ชื่อผู้แต่ง  รศ.พิชัย  บุญยะกาญจน
ชื่อหนังสือ : ชลศาสตร์  ผู้แต่ง : รศ.กีรติ  ลีวัจนกุล ชื่อหนังสือ : ชลศาสตร์  ผู้แต่ง : รศ.ดร.สายสุนีย์ พุทธาคุณเจริญ ชื่อหนังสือ :  ชลศาสตร์  ผู้แต่ง : ผศ.ดร.ไพฑูรย์ กิติสุนทร ,ศุภากร ศิรพจนกุล ,อมรเรศ บกสุวรรณ ชื่อหนังสือ :  กลศาสตร์ของไหล  ผู้แต่ง : รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ ชื่อหนังสือ :  กลศาสตร์ของไหล  ผู้แต่ง : รศ.มนตรี พิรุณเกษตร ชื่อหนังสือ :  Fluid Mechanics  ผู้แต่ง : Yunus A.Cengel, John M. Cimbala ชื่อหนังสือ :  Fluid Mechanics  ผู้แต่ง : Frank M. White ชื่อหนังสือ :  Fluid Mechanics  ผู้แต่ง : Merle Potter , David C. Wiggert
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ