การบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิตเครื่องเรือน

Furniture Management for Productivity

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านองค์การและบุคคลกร
1.2 เพื่อสร้างความเข้าใจในการพัฒนากรรมวิธีการผลิตและเทคนิคต่างๆ
1.3 เพื่อนำเอาแนวความคิดจากการศึกษามาวางแผนควบคุมการผลิต และควบคุมคุณภาพตามหลักการของ
ไอ เอส โอ 9000 (ISO 9000) ดัดแปลงใช้ ให้เป็นประโยชน์ในงานเครื่องเรือน
1.4 เพื่อให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายตามการบริหารงานตามหลักการวางแผนของไอ เอส โอ 9000 (ISO 9000)
1.5 เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กรในการพัฒนาการบริหารงานและบุคคลภายใต้คุณภาพของไอ เอส โอ
9000 (ISO 9000)
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่กว้างขวาง ทันสมัยต่อเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการ การบริหารงานองค์การ เพื่อการพัฒนากรรมวิธีการผลิตและเทคนิคต่างๆ ในการนำมาใช้เพิ่มผลผลิต โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการวางแผน การควบคุมการผลิต การควบคุมคุณภาพ ตามหลักการ มาตรฐานของระบบการผลิตอุตสาหกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม

นักศึกษาต้องมีความตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ผู้พัฒนาจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 4 ข้อ  เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม  ไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ รวมทั้งที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม  จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติคุณธรรมจริยธรรม  อย่างน้อย 4 ข้อตามที่ระบุไว้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาจนการแต่งกายที่เป็นไประเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยการทำงานกลุ่มต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของความเป็นผ้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่มมีความซึ่อสัตย์ไม่ทำการทุจริตในการสอบหรือรลอกการบ้านของผู้อื่นเป็นต้น อาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชารวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเช่นการยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้ชั้นเรือนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากการความมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริคในการสอบ
1.3.4  ประเมินจากการความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะประยุกต์  มีคุณธรรม จริยธรรม  และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุ่มสิ่งต่อไปนี้
                         2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
                        2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
                        2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
            การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถกระทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละสาขาวิชาในชันเรียนตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
            ใช้วิธีการสอนในหลากหลายiรูปแบบโดยเน้นทางด้านหลักการทางทฤษฏีและประยุกต์ทางปฏิบัติได้จริง  โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ใช้ในทางการออกแบบศิลปะประยุกต์  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระชองรายวิชานั้นๆ  นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง  โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศีกษาในด้านๆ คือ     
2.3.1  การทดสอบย่อย      
                         2.3.2  การสอบกลางภาคเรียบและปลายภาคเรียน
                         2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
                         2.3.4  ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
                             2.3.5 ประเมินจากนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมือจบการศึกษาแล้ว  ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทางทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม  และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาการออกแบบศิลปะประยุกต์  ในขณะที่สอนนักศึกษาอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาเกิดคิดหาเหตุผลเข้าใจสิ่งที่มาและสาเหตุของปัญหา  วิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง  ไม่สอนในลักษณะท่องจำ  นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จาการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญา ดังนี้
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การวัดมาตรฐานในข้อนี้สามารถทำได้โดยการออกแบบข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดของแนวติดของการแก้ปัญหาแต่และวิธีการแก้ปัญหาโดยวิธีประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาหลีกเลี่ยงข้อสอบทีเป็นตัวเลือกคำตอบที่ถูกมคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบทีให้มาไม่ควรมีคำถามเกี่ยวกับนิยามต่าง ๆ
3.2.1  กรณีศึกษาทางการประยุกต์การออกแบบศิลปะประยุกต์
3.2.3  การอภิปรายบายกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น
 3.2.4  ให้ให้นักศึกษา มีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและปฏิบัติของนักศึกษา เช่น การประเมินจากนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
       นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่มาเป็นผู้บังคับบัญชาหรือคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนกลุ่มต่างๆ  เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ  ต่อไปนี้ให้นักศึกษาไปเรียนวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
4.1.1   มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2   มีภาวัความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีมและการแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม,
4.1.4   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่กำหนดกิจกรรมทำงานเปนกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร
  หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
 4.2.1 ความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
 4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานทีได้รับมอบหมาย
 4.2.3 สามารปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมในองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
 4.2.4 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.4 มีภาวะผู้นำ
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถสืบค้น  ศึกษา วิเคราะห์  และประยุกต์ ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาวิเคราะห์  สถานะการณ์จำลองและสถานะการณ์เหมือนจริงแล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม  เรียนรู้เทคนิคประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้หลากหลายสถานะการณ์
         ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทางคณิตศาสตร์ สถิติที่เกี่ยวข้องประเมินจากความสามารถในการอธิบาย  ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการใช้เลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
มีทักษะพิสัยเกี่ยวกับการออกแบบศิลปะประยุกต์  งานสองมิติและงานสามมิติ โดยประเมินจากผลงานปฏิบัติที่
ได้รับมอบหมายความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะพิสัยดังนี้
การวัดมาตรฐานในข้อนี้สามารถกระทำได้โดยการปฏิบัติงานสองมิติในชั้นเรียนมีการมอบหมายงานการสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  ตามกระบวนการออกแบบทีเน้นด้านแนวคิด ด้านความงาม และด้านประโยชน์ใช้สอย
6.1.1 มีทักษะด้านการออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
                        6.1.2  มีทักษะในการสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
                  6.1.3 มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ  ด้านความงาม  และด้านประโยชน์ใช้สอย
                         6.2.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดในกรออกแบบ
                         6.2.2 การอภิปรายกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น 
                         6.23 ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติสร้างผลงานสองมิติและงานสามมิติ รวมทั้งนำเสนอผลงาน
ประเมินตามสภาพจริงโดย ประเมินจากผลการปฏิบัติงานนักศึกษาที่รมอบหมายและแนวคิดในงานการออกแบบ  กระบวนการทำงานตามชั้นตอนของการออแบบอุตสาหกรรม
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
เซอิจิ  นากชิมา.แนะนำสู่TPMการบำรุงรักษาทวีผล:พิมพ์ครั้งที่3. แปลโดยสุวิทย์ บุญวานิชกุล.2540.
บรรจง จันฑมาศ.ระบบบริหารงานคุณภาพ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)กรุงเทพฯ.2540.
พิชิต  สุขเจริญพงษ์.การจัดการวิศวกรรมการผลิต:ซีเอ็ด   ยูเคชั่น  จำกัด.กรุงเทพฯ.2547.
พิภพ  ลลิตาภรณ์.ระบบการแผนและการควบคุมการผลิต:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).กรุงเทพฯ.2543.
วันชัจ  ริจิรวนิช.การศึกษางานหลักการและกรณีศึกษา:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.2539.
วิจิตร  ตันณฑสุทธิ์,การศึกษาการทำงาน (Work  Study):สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.2547.
สุรศักดิ์  นานานุกุล.การบริหารงานผลิต:ไทยวัฒนาพานิช  จำกัด.2517.
บัณฑิต  ประดิษฐานุวงค์.คู่มือศัพท์. TPM.2541.
ธีรพันธ์  พลมณี.IMPLEMENTATION  ISO  9000 &  ISO  14001:สยามมิตรการพิมพ์.2543.
พูล แสงบางป่า.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการบำรุงรักษาTPM   TOTAL PRODUCTTIVE  MAINTENANCE.2538.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตพฤติกรรม
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4  การทบทวนทำแบบฝึกหัดตามบทเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3  ค้นคว้าหารายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
 4.2   ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับวิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ