การออกแบบลวดลายเครื่องประดับ

Jewelry Ornament Design

    1.1 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจประวัติความเป็นมาของลวดลาย     1.2 บอกชนิดและประเภทของลวดลายต่างๆได้อย่างถูกต้อง     1.3 มีทักษะและปฏิบัติการออกแบบลวดลายเบื้องต้นทั้งแบบนูนต่ำและนูนสูง      1.4 ออกแบบลวดลายต่างๆที่เหมาะสมกับตัวเรือนเครื่องประดับ      1.5 จัดวางลวดลายบนตัวเรือนเครื่องประดับให้เหมาะสมและสวยงาม     1.6 เห็นคุณค่าของการออกแบบลวดลายบนตัวเรือนเครื่องประดับ

 
เพื่อให้เนื้อหาของรายวิชามีความเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน และเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานและเตรียมความพร้อมในการศึกษารายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับชนิด ประเภทของลวดลายต่างๆ หลักการออกแบบลวดลายเบื้องต้นทั้งแบบนูนต่ำและนูนสูง รูปแบบลวดลายต่างๆ ที่เหมาะสมกับตัวเรือนเครื่องประดับ หลักการจัดวางลวดลายบนตัวเรือนเครื่องประดับให้เหมาะสม 
-    อาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน  -    อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์  
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้     1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ     1.1.2 มีวินัย  ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองสังคม และสิ่งแวดล้อม  
1.2.1  บรรยายและสอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทางด้านการออกแบบลวดลายเครื่องประดับ  1.2.2 ขานชื่อนักศึกษาเมื่อเข้าชั้นเรียน ตามกำหนดเวลาของเกณฑ์ที่กำหนดไว้  
1.3.1  การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาขณะอยู่ในชั้นเรียนและปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ  1.3.2  การตรวจสอบเวลาเรียน และการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน  
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาเกี่ยวกับประเภท ชนิดของลวดลายเครื่องประดับที่ศึกษา
 2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับลวดลายเครื่องประดับกับความรู้ในศาสตร์ทางด้านการออกแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยายเนื้อหาเรื่องหลักการออกแบบลวดลายและการออกแบบลวดลายเครื่องประดับ 2.2.2 บรรยายเนื้อหาวิธีการนำลวดลายพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบลวดลายเครื่องประดับรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสม  
 
2.3.1 การทดสอบย่อย รายงานย่อย การสอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 2.3.2 การซักถามและการอภิปรายของนักศึกษาในเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการนำลวดลายพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบลวดลายบนตัวเรือนเครื่องประดับ  
3.1.1 ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการออกแบบลวดลายเบื้องต้น มาประยุกต์ ดัดแปลง โดยการออกแบบร่าง เป็นลวดลายบนตัวเรือนเครื่องประดับชนิดต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.2.1   สอนแบบบรรยาย โดยใช้รูปภาพประกอบ 3.2.2   สอนแบบสถานการณ์จริงโดนนำนักศึกษาศึกษาดูผลงานลวดลายชนิดต่างๆ นอกสถานที่เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน  
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่เป็นความรู้และการประยุกต์ใช้ลวดลาย 3.3.2   ผลงานออกแบบลวดลายพื้นฐานและลวดลายเครื่องประดับ ของนักศึกษาตลอดภาคเรียน  
4.1.1 ทักษะในการใช้ความรู้ด้านออกแบบลวดลายเครื่องประดับมาช่วยเหลือสังคม หรือชุมชน ในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1   การบรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับลวดลายเครื่องประดับรูปแบบต่างๆ และร่วมกันอภิปราย
 4.2.2    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษานอกสถานที่โดยการลงพื้นที่ศึกษารูปแบบลวดลายเครื่องประดับต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ และหาแนวทางการพัฒนารูปแบบลวดลายเครื่องประดับเหล่านั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม  
4.3.1   พิจารณาจากผลงานลวดลายเครื่องประดับที่อภิปรายและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2   ประเมินจากรายงานศึกษาดูงานลวดลายเครื่องประดับนอกสถานที่และผลงานออกแบบลวดลายเครื่องประดับ  
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการนำเสนอผลงานออกแบบลวดลายเครื่องประดับด้วยเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลลวดลายเครื่องประดับด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์รูปแบบ  5.2.2 ให้นำเสนอหรือร่วมกันอภิปรายข้อมูลลวดลายเครื่องประดับด้วยสื่อเทคโนโลยีต่างๆ  
5.3.1  ผลงานลวดลายเครื่องประดับ และการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปรายด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสม  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 43043042 การออกแบบลวดลายเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 17 -ร้อยละ 15 -ร้อยละ 15
2 3.1 4.1 5.1 -การปฏิบัติงานออกแบบ และการศึกษาค้นคว้า -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - การวิเคราะห์ การศึกษาค้นคว้า และนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 60
3 1.1 - การเข้าชั้นเรียน / ความตั้งใจ -ความรับผิดชอบ -การแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
“ประวัติความเป็นมาของการออกแบบลวดลาย”(ออนไลน์), สืบค้นจาก  : www.netra.ipru.ac.th     /~weta/m1/ (วันที่สืบค้น 12 พฤษภาคม 2557). พีนาลิน  สาริยา, 2549. “การออกแบบลวดลาย”. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ :  โอ เอสพริ้นติ้ง.  วีณา  มิ่งขวัญ,2554. “หลักการออกแบบลวดลาย”. เอกสารโรเนียว  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : มปพ. อ้อยทิพย์ พลศรี,2545. “การออกแบบลวดลาย  Ornament Design”. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ :  โอเดียนสโตร์.   
รูปแบบลวดลายที่ปรากฏตามที่ต่างๆ รอบตัว
    3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบลวดลาย รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับรูปแบบของลวดลายต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ     3.2 ข้อมูลจากสถานที่จริง เช่น สถานประกอบการ โบราณสถาน แผ่นพับ ศาสนสถานต่างๆ 

  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้คือ      1.1 การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน     1.2 แบบประเมินผลผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา 2.2   การอภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียน 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4   การตรวจผลงานของนักศึกษา ที่เป็นผลการปฏิบัติงานออกแบบลวดลายเครื่องประดับ  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 ทบทวนเนื้อหา และวิธีการสอนให้สอดคล้องกับเกณฑ์กำหนด 3.2 หาแนวทาง และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนนักศึกษาตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย 4.2  การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน 4.3 การประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของนักศึกษาและผลงานตามที่มอบหมาย  
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   การประชุมกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลรายวิชา