การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ

Statistical Analysis in Business

เข้าใจข้อมูลทางสถิติและหลักสถิติที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งที่มาของข้อมูล การสำรวจตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไควสแควร์ การหาค่าสหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคุณ และสามารถนำความรู้ด้านต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและประมวลผลในการตัดสินใจทางธุรกิจ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสถิติทางธุรกิจ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและปรับให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
การใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ หลักสถิติที่สำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ทฤษฏีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคว์สแควร์ การหาค่าสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Facebook และ E-mail
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวิจัยโดยเน้นการเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
1.2.2 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับการใช้สถิติในการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
1.2.3 กำหนดให้นักศึกษา ศึกษาวิเคราะห์หลักการทางสถิติทางธุรกิจ เน้นการมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.2.4 ให้นักศึกษานำตัวอย่างที่ให้วิเคราะห์มาอภิปรายกลุ่ม
1.2.5 ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี
1.2.6 กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบ
มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
1.3.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาในการส่งมอบงาน
1.3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.3.3 จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
1.3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อน ครูบาอาจารย์ และบุคคลอื่น
2.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.1.2 มีความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การ และทรัพยากรมนุษย์
2.1.3 มีความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุม และการประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1 สอนแบบบรรยายประกอบกับการยกตัวอย่าง
2.2.2 ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริง
2.2.3 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)
2.2.4 การศึกษาโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
2.3.1 ทดสอบกลางภาคและปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 พิจารณาจากการอภิปรายกลุ่ม
2.3.3 พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
3.1.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ
3.1.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลมาจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
3.1.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1 สอนแบบบรรยายประกอบกับการยกตัวอย่าง
3.2.2 ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริงขององค์กรธุรกิจ
3.2.3 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning)
3.2.4 การศึกษาโดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
3.3.1 ทดสอบกลางภาคและปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
3.3.2 พิจารณาจากการอภิปรายกลุ่ม
3.3.3 พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันอย่างถูกต้องตามหลักการ
3.3.4 ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานวิจัยของนักศึกษา
4.1.1 ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง ส่งงานตรงเวลา
4.1.4 ทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สถานภาพในสังคมระดับต่างๆ
4.2.1 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
4.2.2 ทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการวิเคราะห์สถานการณ์จริง
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2 ประเมินจากการอภิปรายกลุ่ม
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การแปล การเขียน โดยทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่นการส่งงานโดยผ่านอีเมล์
5.1.5 ทักษะการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 ทักษะการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.2 นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการเขียนรูปเล่มรายงาน และนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 1 2 6 1 5 4 5
1 BBACC111 การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 3.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 2.3.2 2.3.3 3.3.2 3.3.3 4.3.1 4.3.2 4.3.3 5.3.1 5.3.2 ทำแบบฝึกหัดรายบุคคล การทำงานกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 – 1.6, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์, 2549.
ผศ.สุภาพร ทินประภา. การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2546.
ไม่มี
Website ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาหลักการบริหารที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวความคิดและข้อแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- ผลการเรียนของนักศึกษา
การทบทวนผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการปรับปรุงการสอนโดยวิจัยในชั้นเรียน