การจัดการสวนผลไม้

Orchard Management

1.1 รู้เกี่ยวกับหลักการจัดการสวนผลไม้
1.2 รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวางแผนการทำสวนผลไม้
1.3 รู้เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนทำสวนผลไม้
1.4 เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการและการจัดการผลิตและจำหน่าย
1.5 เข้าใจเรื่องการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการจัดการสวนผลไม้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวางแผนการทำสวนผลไม้และการตัดสินใจลงทุนทำสวนผลไม้ การดำเนินการและการจัดการผลิตและจำหน่าย ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด
5 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์
- ตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ในเรื่องความปลอดภัยจากการ
บริโภคผลไม้ที่อาจมีอันตราย (1.2)
- มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด (1.3)
- รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม (1.4)
- มีสัมมาคารวะให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส (เพิ่มเติมเฉพาะรายวิชานี้)
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่าง ๆ
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพ และให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และในโอกาสที่สาขาวิชา / คณะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอาจารย์
- การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน และการส่งรายงาน
- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศีกษาอื่นๆ ในรายวิชา
- นักศึกษาประเมินตนเอง
- ความรู้เรื่อง หลักการจัดการสวนไม้ผล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวางแผนการทำสวนไม้ผลและการตัดสินใจลงทุนทำสวนไม้ผล การดำเนินการและการจัดการผลิตและจำหน่าย ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด (2.1)
- การผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพ ตามมาตรฐาน GAP (2.2)
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยาย ร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนแบบ e-Learning เป็นต้น
- เพิ่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
- การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- ทำรายงานรายบุคคล
- การทำรายงานการผลิตไม้ผล ตามมาตรฐาน GAP
- สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งในและนอกชั้นเรียน (3.1)
- สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานการผลิตไม้ผลที่มีคุณภาพในสถานที่จริง (3.1)
- สามารถร่วมจัดทำระบบเกษตรดีที่เหมาะสมในพื้นที่จริง (GAP) (3.2)
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
- มอบหมายงานกลุ่มร่วมเกษตรกรจัดทำระบบเกษตรดีที่เหมาะสมจากพื้นที่การผลิตจริง
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- รายงานกลุ่ม
- การสอบข้อเขียนกลางภาค และปลายภาค
- สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ (4.2)
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคล และงานกลุ่ม (4.3)
- วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม (4.3)
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย (5.1)
- สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูล (5.2)
- สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางอินเตอร์เน็ต (5.2)
- สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม (5.3)
- ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2548. การส่งออกผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของไทย ปี 2544 – 2548 (ม.ค. – ก.ย(ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.doae.go.th/data/fruit. (15 ต.ค. 2548). นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ไม้ผลเขตหนาว. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 122 น. บัญญัติ บุญปาล. 2522. หลักการทำสวนไม้ผล. คณเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา, ชลบุรี. 272 น.


มานิต มานิตเจริญ. 2539. พจนานุกรมไทย. บริษัทรวมสาส์น (1997) จำกัด วังบูรพา, กรุงเทพฯ. 1,142 น. ระพีพรรณ ใจภักดี. 2544. ผลไม้ชุดที่ 1. สำนักพิมพ์แสงแดดเพื่อนเด็ก, กรุงเทพฯ. 72 น. ราชบัณฑิตยสถาน. 2526. พจนานุกรม สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ถนนแพร่งสรรพศาสตร์, กรุงเทพฯ. 930 น. ราชบัณฑิตยสถาน. 2541. ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ – ไทย ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์ เขตพระนคร, กรุงเทพฯ. 366 น. วิจิตร วังใน. 2511. หลักการไม้ผล. แผนกวิชาพืชศาสตร์ (สาขาพืชสวน) คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ ฯ. 307 น.


วิรัตน์ ชวาลกุล. 2538. ไม้ผลและการเพาะปลูก น.122 – 130 ใน บัณฑูรณ์ วาฤทธิ์ (ผู้รวบรวม) หลักการพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

10) สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชา
      พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
       237 น.
11) สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2527. หลักวิชาพืชสวน เล่ม 2. คณะเกษตรศาสตร์
      มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 376 น.
12) สุเมธ เกตุวราภรณ์. 2537. ไม้ผลเบื้องต้น. สาขาวิชาไม้ผล ภาควิชาพืช
      สวน คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้,
      เชียงใหม่. 210 น.
13) อนุชา จันทรบูรณ์. 2534. หลักการไม้ผล. คณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบัน
       เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตน่าน, น่าน. 73 น.
14) Cannell, M.G.R., 1989. Food crop potential of tropical tree.
       Experimental Agriculture : 313 – 326
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดทุกภาคการศึกษา สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอน และกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป